การสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 กับอาการกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 (PM 2.5), การกำเริบของโรคบทคัดย่อ
การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางโดยรวบรวมข้อมูลไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 กับอาการกำเริบแบบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารักษาที่โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2565 มีจำนวนผู้ป่วยรวม 909 คน ใช้การวินิจฉัยโรคตาม ICD 10 (J44.1,J44.8 และ J44.9) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป, ข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ที่วัดค่าจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติหาความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย Pearson’s correlation เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงด้วย Odds ratio (OR) โดยระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบแบบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแปรผันตรงกับปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น (r=0.536, p-value < 0.001) โดยช่วงเวลาที่ฝุ่น PM 2.5 มีค่ามากกว่า 50 µg/m3 เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการกำเริบ (adjusted OR=1.47, 95% CI 1.12-1.94, p-value=0.006) นอกจากนี้ประวัติสูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกำเริบของโรคเช่นกัน (OR=2.30, 95% CI 1.76-3.00, p-value < 0.001)
References
Pollution Control Department. (2020). Report on the situation and management of air and noise pollution in Thailand. Ministry of Natural Resources and Environment, 35-42. (in Thai)
Alias, M., Hamzah, Z., & Kenn, L. S. (2007). PM10 and Total Suspended Particulates (TSP) Measurements in various power stations. The Malaysian Journal of Analytical Sciences, 11(1), 255–261.
Pochanart, P. (2012). Air Pollution and Long-range Transport in Asia: East Asia. NIDA Journal of Environmental Management, 8(1), 57–77.
Hamra et al. (2014). Outdoor particulate matter exposure and lung cancer: a systematic review and meta-analysis. Environ Health Perspect, 122(1), 906–911.
Thailand Environment Institute. (2019). The Project on Driving Directions of National Reform on Public Access to Information on Environment and Public Health. King Prajadhipok’s Institute, 123-125. (in Thai)
Holmes, N.S., & Morawska, L. (2006). A review of dispersion modelling and its application to the dispersion of particles: An overview of different dispersion models available. Atmospheric Environment, 40(1), 5902–5928.
Amnauylawjarurn, T., Kreusuwun, J., Towta, S., & Siriwittayakorn, K. (2010). Dispersion of Particulate Matter (PM10) from forest fires in Chiang Mai, Thailand. Chiang Mai Journal of Science, 37(1), 39-47. (in Thai)
Wiriya, W., Prapamontol, T., & Chantara, S. (2012). PM10-bound polycyclic aromatic hydrocarbons in Chiang Mai Thailand: Seasonal variations, source identification, health risk assessment and their relationship to air-mass movement. Atmospheric Research, 124(1), 109–122.
Mario Cárdaba Arranz., & Ana Almaraz Gómez. (2014). Health impact assessment of air pollution In Valladolid, Spain. British Medical Journal,https://bmjopen.bmj.com/content/bmjopen/4/10/e005999.full.pdf
Janssen, N.A., Amelinga, C., & Casseeab, F.R. (2013). Short-term effects of PM2.5, PM10 and PM2.5–10 on daily mortality in the Netherlands. Science of The Total Environment, 463(1), 20-26.
Linda Mueller-Anneling., Ed Avol., John Peters., & Peter Thorne. (2004). Ambient Endotoxin Concentrations in PM10 from Southern California. Environmental Health Perspectives, 112(5), 583-588.
Cao et al. (2014). Assessment of microbial communities in PM1 and PM10 of Urumqi during winter. Environmental Pollution, 214(1), 202-210.
Byeong-Jae Lee., Bumseok Kim., & Kyuhong Lee. (2014). Air Pollution Exposure and Cardiovascular Disease. Toxicological Research, 30(3), 71–75.
Franchini, M., & Mannucci, P.M. (2009). Particulate air pollution and cardiovascular risk: short-term and long-term effects. Hemostasis, 35(2), 665–670.
Pothirat, C., Chaiwong, W., Liwsrisakun, C., & Bumroongkit, C. (2019). Influence of Particulate Matter during Seasonal Smog on Quality of Life and Lung Function in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. International Journal of Environmental
Research and Public Health, 16(1), 106-121.
Environment and Pollution Control Office 2. (2022). Report on smoke and forest fire situation. Ministry of Natural Resources and Environment, 16-18. (in Thai)
Pothirat, C., Tosukhowong, A., Chaiwong, W., Liwsrisakun, C., & Inchai, J. (2016). Effects of seasonal smog on asthma and COPD exacerbations requiring emergency visits in Chiang Mai Thailand. Asian Pac J Allergy Immunol, 34(4), 284-289.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด