การเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก ของนักศึกษาพยาบาล ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ฉัตรฤดี ภาระญาติ อาจารย์คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อาภากร เปรี้ยวนิ่ม อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เจือจันทน์ เจริญภักดี อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กนกวรรณ ชัยสิทธิ์สงวน อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ความมั่นใจ, นักศึกษาพยาบาล, สถานการณ์จำลองทางคลินิก, การปฏิบัติในหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองระหว่างการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงกับการเรียนการสอนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ทั้งสิ้น 98 คน เป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงจำนวน 61 คนโดยฝึกตามปกติช่วงที่ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกลุ่มฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองทางคลินิก จำนวน 37 คนโดยฝึกในช่วงการระบาดหนักของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะเวลาการฝึก 4 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย1) แผนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ1 สำหรับภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงและแผนการสอนภาคปฏิบัติในสถานการณ์จำลองทางคลินิก 2) แบบประเมินความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86, 0.90 ตามลำดับเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนกุมภาพันธุ์  ถึงเดือนเมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน 

ผลการวิจัยพบว่า  ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการเรียนรู้ทั้ง2รูปแบบอยู่ในระดับมากและไม่แตกต่างกัน (t = -.483, Sig = .630) โดยรูปแบบการฝึกแบบสถานการณ์จริงบนหอผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการเรียนรู้มากกว่าสถานการณ์จำลองทางคลินิก(M= 3.64, SD= 1.00 และ M= 3.60, SD= .99) และค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในตนเองต่อการเรียนรู้ทั้ง2รูปแบบอยู่ในระดับมากและไม่แตกต่างกัน (t = -.733, Sig = .466) โดยรูปแบบการฝึกแบบสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในตนเองต่อการเรียนรู้มากกว่าสถานการณ์จำลองทางคลินิก (M= 3.66, SD= .92 และ M= 3.61, SD=.92)

ข้อเสนอแนะ: การเรียนการสอนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกเป็นกลยุทธ์การสอนรูปแบบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลได้ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

Chaleoykitti, S., Artsanthia, J., & Daodee, S. (2020). The Effect of COVID-19 Disease: Teaching and Learning in Nursing. Journal of Health and Nursing Research, 36(2), 255-262. (in Thai).

Chubkhuntod, P., Thasanoh Elter, P., N Gaewgoontol, N, & Potchana, R. (2020). Effects of Simulation Based Learning Model on Knowledge, Self-Efficacy and Abilities of Applying Nursing Process Skills during Intra-partum Care of Nursing Students. Journal of Health Science 29 (6). 1062-1072. (in Thai).

Daley, K., & Campbell, S. H. (2018). Framework for Simulation Learning in Nursing Education. In S. H. Campbell & K. Daley (Eds.), Simulation Scenarios for Nursing Educators: Making it real (3rd ed., pp. 13-18). New York, N.Y.: Springer Publishing Company, Inc.

Higher Education Qualifications Standards. (2022). Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (in Thai)

Jamjang, S., et al., (2017). Effects of Using Simulation-Based Learning for Preparation of Nursing Practicum on Perceptions of Self Efficacy in Performing Nursing Care in a Hospital. NJPH .27(Special Edition).46-58. (in Thai).

Jeffries, P.R., & Rizzolo, M.A. (2006). Designing and Implementing Models for the Innovative Use of Simulation to Teach Nursing Care of Ill Adults and Children: A National, Multi-Site, Multi-Method Study. National League for Nursing and Laerdal Medical, New York.

Jeffries PR (ed.) (2016). The NLN Jeffries simulation theory. Philadelphia: Wolters Kluwer

Jeffries, P.R., & Rogers, K.J. (2012). Theoretical framework for simulation design. In P.R. Jeffries (Ed.), Simulation in nursing education from conceptualization to evaluation (2nd ed.) (pp. 25-42). New York, NY: National League for Nursing.

Khumsuk,W., & Nillapun,M.,(2021). Simulation-Based Learning. Journal of Council of Community Public Health. 3(1), 1-11. (in Thai).

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2006). Learning styles and learning spaces: A review of the multidisciplinary application of experiential learning theory in higher education. Learning styles and learning: A key to meeting the accountability demands in education (pp. 45–92). New York: Nova Science Publishers.

Musikthong, J., Puwarawuttipanit, W., & Udomphanthurak, J., (2017). Learning Experiences from Clinical Practice in Medical Units and Perceived Self-Development of Nursing Students in a Bachelor of Nursing Program. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 27(2). 181-197. (in Thai).

PartinJL,(2011) PayneTA,SlemmonsMF.Students’perceptions of their learning experiences using high-fidelity simulation to teach concepts relative to obstetrics.Nurs Educ Perspect. 32(3):186-8

Sinthuchai, S. & Ubolwan, K. (2017). Fidelity Simulation Based Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. Journal of The Royal Thai Army Nurses .18(1). 29-38. (in Thai).

Sinthuchai, S., Ubolwan, K. & Boonsin, S. (2017).Effects of High-Fidelity Simulation Based Learning on Knowledge, Satisfaction, and Self-Confidence among the Fourth Year Nursing Students in Comprehensive Nursing Care Practicum. Rama Nurs J .23(1). 113-127. (in Thai).

Srisatitnarakul, B. (2010). Nursing Research Methodology (5th ed.). Bandkok: You and I Intermedia, Ltd. (In Thai).

Thonghattha, M., (2021).The Situation of Online Learning Management during the COVID-19 Pandemic of Foreign Languages Department Teachers at Pakphanang School in Nakhon Si Thammmarat Province. Journal of Lawasri, 5(1), 43–51. (inThai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย