ถอดบทเรียน: กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับหุ่นเสมือนจริงระดับสูง วิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2

ผู้แต่ง

  • จิราพร เป็งราชรอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปาริชาติ ตุลาพันธุ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปานจันทร์ อิ่มหนำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, สถานการณ์จำลอง, หุ่นเสมือนจริงระดับสูง, วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียน: กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับหุ่นเสมือนจริงระดับสูง วิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2  โดยการถอดบทเรียนภายหลังจัดการเรียนการสอน ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ใช้สถานการณ์จำลองกับหุ่นเสมือนจริงระดับสูง จำนวน 6 คน และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา   

          ผลการวิจัย พบว่า ขั้นเตรียมการ: มีการเตรียมสถานการณ์จำลองโดยปรับสถานการณ์จำลองเดิมแล้วสร้างสถานการณ์จำลองใหม่ 3 สถานการณ์ ขั้นกระบวนการดำเนินการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับหุ่นเสมือนจริงระดับสูง 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแนะนำ 2) ขั้นดำเนินการตามสถานการณ์ 3) ขั้นสรุปการเรียนรู้ ใช้บันทึกวิดีโอในการสะท้อน ผลลัพธ์ของการเรียนรู้  พบว่า มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม สามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุก ตื่นเต้น ไม่เกิดความกดดันเนื่องจากไม่มีการประเมินผลในรูปแบบการของให้คะแนน มองเห็นภาพชัดเจน จดจำได้ง่ายเมื่อเข้าสู่บทเรียนภาคทฤษฎี เกิดความมั่นใจสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้เมื่อเผชิญสถานการณ์จริง ด้านผู้สอนได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะการเขียนโจทย์สถานการณ์จำลองที่มีความเชื่อมโยงและซับซ้อนในหลายระบบ มีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติและหลักการสะท้อนผลให้แก่ผู้เรียนรวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการใช้หุ่นจำลองเสมือนจริงอย่างต่อเนื่อง

          ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาและดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับหุ่นเสมือนจริงระดับสูง วิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 ในผู้เรียนรุ่นต่อๆไป

 

References

Boonmak,P.& Boonmak,S. (2013). Medical Simulation the Way to Improve Patient Care.

Srinagarind Medicine Journal,25(suppl):80-85.

Cant,r.P& Cooper,SJ. (2010) .Simulation-Based Learning in Nurse Education:Systematic

Review.Journal of Advanced Nursing,66(1):3-15.

Chaleoykitti S., Kamprow P., Promdet S. (2014). Patient Safety and Quality of Nursing Service.

Journal of The Royal Thai Army Nurses; 15(2):66-70. (in Thai)

Cordeau, M.A. (2013). Teaching holistic nursing using clinical simulation: A pedagogical

essay. Journal of Nursing Education and Practice, 3(4), 40-50.

Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A guide to teaching and learning methods. Further

Education Unit. Oxford Polytechnic: Oxford.

Kaewsaeng-on,W.,Kuntabunlang,Y.& Palasuk.,R.,(2017).The Opinion of Nursing Students of High-

Fidelity Simulation-Based Leaning .The 1st National conference research and

innovation knowledge transformation towards Thailand 4.0. 7-8 December Proceeding.

Kanhadilpok, S., & Punsommreung, T. (2016). Simulation based learning: design for nursing

education. Journal of Nursing and Education, 9(2), 169-176. (in Thai)

Khalaila, R. (2014). Simulation in Nursing Education : an Evaluation of Students’ Outcomes at

Their First Clinical Practice Combined with Simulations.Nurse Education Today;

:252-258.

Khamkong M, Licharoen P,Aramrom Y, Chitwiboon A. (2016).The effect of using simulation on

self- confidence in care and advanced resuscitation for critical-emergency patients

of nursing students. Journal of Nursing College Network and Southern Public Health;

(3):52-64. (in Thai)

Khemmani, T. (2017). Teaching Science: Knowledge for Effective Learning Process Management

(21st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Kolb, A.Y., & Kolb, D.A. (2005). Learning styles and learning spaces: enhancing experiential

learning in higher education. Academy of Management Learning & Education, 4, 193-212.

Lertbunnaphong, T. (2015). Simulation based medical education. Siriraj Medical Bulletin, 8(1),

-46. (in Thai)

Lewis, R., Strachan, A. & Smith, M. M. (2012). Is high fidelity simulation the most effective

method for the development of non-technical skills in nursing? a review of the

current evidence. The Open Nursing Journal, 6, 82-89.

Marie,N.B., Kathei,A.,David N.B. & Jonathan,B.V. (2006). The use of Human Patient Simulators

Best Practices with Novice Nursing Students, Nurse Educator;31(4):170-174.

Norkaeo, D., (2015). Simulation based learning for nursing education. Journal of Boromarajonani

College of Nursing, Bangkok, 31(3 ), 112-122. (in Thai)

O’Donnell, JM., Decker, S., Howard, V., Levett Jones, T., & Miller, CW. (2014). NLN/Jeffries

simulation framework state of science project: Simulation learning outcomes. Clinical

Simulation in Nursing, 10(7), 373- 382.

Office of Higher Education Commission.(2018). Standard Criteria for Higher Education

Curriculum, 2015 and Related Standards.Bankok: Wongsawang Publishing and Printing. (in Thai)

Panich,W. (2012). How does learning occur? How to 8 Mastery Learning[Internet). Retrieved

(2016,May 3) from: http://www.gotoknow.org / posts / 519648.2012. (in Thai)

Pasquale, S.J. (2013). Education and Learning Theory. In A.I. Levine et al.

(Eds.), The Comprehensive Textbook of Healthcare Simulation, (pp. 51-55).

Retrieved from doi: 10.1007/978-1-4614-5993-4_3, © Springer Science + Business

Media New York.

Phrampus, P.E., & O’Donnell, J.M. (2013). Debriefing using a structured and supported

approach. In A.I. Levine et al. (Eds.), The Comprehensive Textbook of Healthcare

Simulation, (pp. 73-84). doi: 10.1007/978-1-4614-5993-4_6, ©Springer Science +

Business Media New York.

Rourke.,L, Schmidt,M., & Garga N.,(2010) Theory-Based Research of High Fidelity Simulation Use

in Nursing Education: A Review of the Literature Retrieved from From The journal

International Journal of Nursing Education Scholarship .https://doi.org/10.2202/1548-

X.1965

Sinthuchai S,Ubolwan K, Boonsin S. (2016). Effect of high fidelity simulation based learning on

knowledge satisfaction and self-confidence among the fourth year nursing

students in comprehensive nursing care practicum.(research paper).

Boromarajonani College of Nursing, Saraburi,.71 p. (in Thai)

Sinthuchai S, Ubolwan K,Boonsin S. (2017). Effect of high fidelity simulation based learning on

knowledge,satisfaction, and self-confidence among the fourth year nursing students

in comprehensive nursing care practicum. Ramathibodi Nursing Journal; 23(1):113-127. (in Thai)

Steinwachs, B. (1992). How to facilitate a debriefing. Simulation & Gaming, 23(2), 186-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย