การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผู้ป่วยมาตรฐานในสถานการณ์เสมือนจริง ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

ผู้แต่ง

  • วินัย รอบคอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วรภรณ์ ทินวัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาการเรียนการสอน, ผู้ป่วยจิตเวชจำลองในสถานการณ์เสมือนจริง, ผลลัพธ์การเรียนรู้

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์เสมือนจริง และ     ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์เสมือนจริง ในรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 160 คน เครื่องมือในการวิจัย มี 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล  2) รูปแบบการเรียนรู้ท่ามกลางความปกติใหม่เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช  3) เครื่องมือประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4) เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยมาตรฐานในสถานการณ์เสมือนจริงมีองค์ประกอบ    ที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์, การเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และการสะท้อนคิดอย่างใคร่ครวญ รวมทั้งกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมการประเมินผลเพื่อพัฒนาใช้กระบวนการ Feed-up-back-forward  และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด

ผลลัพธ์การเรียนรู้ทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.09, S.D. = 0.20) โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (Mean = 4.00, S.D. = 0.00) รองลงมาคือผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.01, S.D. = 0.43) และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.00, S.D. = 0.24) ตามลำดับ

           ข้อเสนอแนะ การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผู้ป่วยมาตรฐานในสถานการณ์เสมือนจริง เป็นรูปแบบ    ที่ส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชที่มีประสิทธิภาพ ควรส่งเสริมให้ใช้การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผู้ป่วยมาตรฐานในสถานการณ์เสมือนจริงในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ และทุกรายวิชาหมวดวิชาชีพทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอน          และสามารถปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จริงต่อไป

References

Chaleoykitt, S., Chiewsothorn, S., & Nuyleis, Y. (2019). The Development of an Innovative Learning Method with Augmented Reality Applications on Smartphone. Ramathibodi Nursing Journal, 25(1), 5-15.

Donovan, L. M., & Mullen, L. K. (2019). Expanding nursing simulation programs with a standardized patient protocol on therapeutic communication. nurse educationin practice, 38(1), 126-131.

Faculty of Nursing, Saint Louis College. (2018). Goods practice with Simulation-Based Learning (SBL) in Mental Health and Psychiatric Nursing Courses. Retrieved. (2022, January 3). from.:https://www .slc.ac.th/2018/img/km/2561/slc1/2.pdf.

Foronda, C., Gattamorta, K., Snowden, K., & Bauman, E. B. (2014). Use of virtual clinical simulation to improve communication skills of baccalaureate nursing students: A pilot study. Nurse education today, 34(6), 53-57.

Inchaithep, S. (2019). Transformative Learning: A Nursing learning management in clinics. Journal of Health Sciences Scholarship, 6(1), 1-10.

Karen, H. (2017). Simulation-Based Learning in Australian Undergraduate Mental Health Nursing Curricula: A Literature Review. Journal of Clinical Simulation in Nursing, 13(8), 380-389.

Khamwong, M., Sirimai, W., Kunlaka, S., & Nuchusuk, C. (2020). Effect of Simulation-Based Learning on Self-Confidence in Therapeutic Communication Practice of Nursing Students. Journal of Health and Nursing Research, 36(1), 201-212.

Klipfel, J. M., Carolan, B. J., Brytowski, N., Mitchell, C. A., Gettman, M. T., & Jacobson, T. M. (2014). Patient safety improvement through in situ simulation interdisciplinary team training. Urologic Nursing, 34(1), 39-46.

Kumkong, M., & Chaikongkiat, P. (2017). High Fidelity simulation-based learning: A method to develop nursing competency the Southern College Network. Journal of Nursing and Public Health, 4 (Special Issue), 332-344.

Maraphen, R., Boonkoum, W., & Kheovichai, K. (2019). Effect of a Learning Instructional by Using Standardized Patients as Simulation in Home Visits. Thai Red Cross Nursing Journal, 14(1), 125-139.

Norkaeo, D. (2015). Simulation based learning for nursing education. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 31(3), 112-122.

Norkaeo, D., Kangyang, M., Buranarom, P., Taveekaew, C,. Kanbupar, N., & Promwong, W. (2015). The Effect of High-Fidelity Simulation Teaching Program on Student Nurses’ Knowledge, Skill, and Self-efficacy regarding Nursing Care for Pregnant Woman with Complication. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 29(3), 53-65.

Panich, V. (2016). Transformative Learning. Bangkok, SR Printing.

Prajankett, O. (2014). Transformative Learning: Nursing Education Perspective. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15(3), 179-184.

Rattanawimol, C., Kaewurai, W., & Hingkanont, P. (2015). The Instructional Model Development focusing on standardized Patient with Circle of Trust to Enhance Learning Happiness for Nursing student. Journal of Nursing and Health Sciences. 9(3), 179-192.

Resource, A., & Guide, P. (2008). 21st Century Skills, Education & Competitiveness. Partnership for 21st Century Skills.

Riley, R.H. (2016). Manual of Simulation in Healthcare(2thed). United Kingdom: Oxford University Press.

Schlegel, C. (2019). The value of standardized Patients in nursing education. Center of higher education for nursing Reichenbachstrasse Switzerland. Journal of Nursing Science, 27(2), 40-48.

Smith, S.J., & Roehrs, C.J. (2009). High-Fidelity Simulation: Factors Correlated with Nursing Student Satisfaction and Self-Confidence. Nursing Education Perspective, 30(2), 74-78.

Siriwong, S. (2020). N.A.V.Y. Strategies for Change in the New Normal Nursing Education. Royal Thai Navy Medical Journa, 47(3), 747-760.

Suwankiri, V., Julmusi, O., & Tangkarnwanit, T. (2016). Learning management by using simulation for nursing students. Journal of Nursing Chulalongkorn University, 28(2), 1-14.

Sinthuchai, S., & Ubolwan, K. (2017). Learning using virtual simulation: applying to learning and teaching. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(1), 29-38.

Thanaroj, S. (2017). Simulation-based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9(2), 70-84.

Wongsutin, R., Meeboon, S., Sukolpuk, M., Teerawongsa, N., Sirisabjanan, L., Tojun, S. (2019). Nursing students’ perceptions on high-fidelity simulation learning and learning outcomes regarding Thailand Qualification Framework. Journal of Health Sciences Research, 13(2), 11-19.

Yeepaloh, M., Ruangroengkulrit, P., Thongjan, J., Suwan, K., & Chaleawsak, K. (2017). The effect of simulated teaching on critical thinking ability of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Yala. Journal of Nursing, Public Health and Education, 18(3), 128-134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย