การถอดบทเรียนการจัดบริการคลินิกหมอครอบครัว:บทบาทพยาบาลวิชาชีพ ในทีมสหวิชาชีพศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
บทบาทพยาบาล, คลินิกหมอครอบครัว, บริการสุขภาพปฐมภูมิบทคัดย่อ
การจัดทีมหมอครอบครัวถือเป็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิให้ประชาชนเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน การวิจัยนี้เพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการจัดบริการและบทบาทพยาบาลวิชาชีพในทีมหมอครอบครัว ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพด้วยการถอดบทเรียนการจัดรูปแบบทีมหมอครอบครัวในระยะจัดตั้งและบทบาทพยาบาลวิชาชีพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลในทีมหมอครอบครัว จำนวน 5 คน ใช้เวลาในการสัมภาษณ์ประมาณ 60-90 นาทีต่อคน ข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกในเครื่องบันทึกเสียงและทำการถอดเทปแบบคำต่อคำ ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับอายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การผ่านการอบรมเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) และระยะเวลาการปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัวและหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการแบบสามเส้า (triangulation technique)
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดทีมหมอครอบครัวจัดบริการครบสามองค์ประกอบ ได้แก่ โครงสร้าง บุคคลากร และระบบบริการและการจัดการ รวมถึงบทบาทพยาบาลวิชาชีพในทีมหมอครอบครัวมี 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) การจัดการรายกรณี 2) การตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 3) การดูแลครอบครัวผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายที่บ้าน 4) การสร้างเสริมป้องกันและฟื้นฟูสภาพ 5) การเป็นที่ปรึกษาและประสานงานท้องถิ่น 6) การจัดระบบการส่งต่อและดูแลต่อเนื่อง และ7) การเสริมสร้างพลังอำนาจ จะเห็นได้ว่าพยาบาลวิชาชีพยังคงดำเนินการตามบทบาทที่กำหนดของสภาการพยาบาล แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสมรรถนะในการทำงานเป็นทีมและการเป็นผู้ประสานงานกับทีมสหวิชาชีพมีความจำเป็น ดังนั้น ควรพัฒนาทักษะที่จำเป็นนี้ให้กับพยาบาลวิชาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งทีมหมอครอบครัวต่อไป
References
Constitution of the Kingdom of Thailand. (2560). Cabinet and Royal Gazette Publishing Office, Bangkok. (in Thai)
Junprasert, S. (2014). Community nurse practitioner and primary health care in Thailand. Thai Journal of Nursing and Midwifery, 1(1); 57-65. (in Thai)
Kumsuk, S., & Katsomboon, M. (2022). Comparison of Integrated People-centered Care for Chronic Care Patients of Kamphaeng Phet Hospital and Khlong Khlung Hospital Primary Care Cluster, Kamphaeng Phet Province. Journal of Community Development and Life -Quality, 10(1); 117-127. (in Thai)
Lampang Provincial Public Health Office. (2017). Annual Report: Executive Summary. Lampang: Lampang Provincial Public Health Office. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2559). Primary Care Cluster: Guideline for Implementation. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)
Nursing Division. (2018). Guideline for Nursing Care Management in Primary Care Cluster. Nonthaburi: Nursing Division, Office of Permanent Secretary. (in Thai)
Phlainoi, S. (2019). Lesson Learned and Knowledge Management (7thed.) Bangkok: Thailand Health Academy. (in Thai)
Sawanasaeng N., & Yingyoud, P. (2020). Primary Care Cluster: Concept and Management of Registered Nurses’ Roles. Thai Journal of Nursing Council, 35(1);5-17. (in Thai)
Sritragool R., & Nuntaboot, K. (2021). The Practice of Nurses Practitioners In the context of Primary Health Care Thailand. Research and Development Health System Journal, 14(2); 265-279. (in Thai)
Strategy and Planning Division. (2016). Strategy on primary care network development supporting the Constitution of the Kingdom of Thailand 2016 (2017-2026). Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (in Thai)
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2017). Missions of Nursing in Primary Care Cluster. Nonthaburi: Thailand Nursing and Midwifery Council. (in Thai)
The Permanent Secretary Office. (2562). Primary Health System Act. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)
World Health Organization. 2019. Sustainable Development Goals. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด