สถานการณ์การเกิดวัณโรคของผู้ต้องขังในเรือนจำ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, ผู้ต้องขัง, เรือนจำบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราป่วยและวิเคราะห์อัตราการป่วยด้วยวัณโรคปอดของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำ โดยศึกษาและเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลของเรือนจำกลางลำปางตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 กลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขัง จำนวน 2,706 คน จาก 3 เรือนจำ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล การตรวจร่างกายโดยการถ่ายภาพรังสีทรวงอก และการส่งเสมหะเพื่อทำการทดสอบโดยส่งตรวจ AFB จำนวน 3 วัน และการส่งตรวจ MTB ในผู้ต้องขังที่พบความผิดปกติที่ภาพถ่ายรังสีทรวงอก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบอัตราส่วนของการเป็นโรคและไม่เป็นโรคในกลุ่มที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงและไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง
ผลการศึกษาผู้ต้องขังทั้งหมด 2,706 คน จากการคัดกรองด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกพบความผิดปกติร้อยละ 10.02 เพศชาย ร้อยละ 9.24 เพศหญิง ร้อยละ 0.78 โดยได้รับการตรวจเพิ่มด้วยการส่งเสมหะ AFB และตรวจ MTB ซึ่งได้ผลบวกและได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นวัณโรคปอดเข้าสู่กระบวนการการรักษา จำนวน 32 คน (ชาย 31 คน หญิง 1 คน) คิดเป็นร้อยละ 17.11 ของผู้ต้องขังที่พบภาพรังสีผิดปกติ โดยแต่ละเรือนจำมีผลการคัดกรองด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่พบความผิดปกติ: 1) เรือนจำกลาง 2,552 คน พบความผิดปกติ 261 คน 2) เรือนจำชั่วคราวหนองกระทิง 50 คน พบความผิดปกติ 4 คน 3) สถานกักขังกลาง 104 คน พบความผิดปกติ 7 คน ซึ่งทั้ง 3 เรือนจำได้รับการตรวจเพิ่มด้วยการส่งเสมหะ AFB และตรวจ MTB ซึ่งได้ผลบวกและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดเข้าสู่กระบวนการการรักษา จำนวน 29, 2 และ 1 คน ตามลำดับ แต่เมื่อวัดความสัมพันธ์ของเพศชายไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นวัณโรคเมื่อเทียบกับเพศหญิง และการมีโรคประจำตัวกับการปฏิเสธโรคประจำตัวไม่มีผลต่อการเกิดโรควัณโรครายใหม่ในเรือนจำ
การศึกษาชี้ให้เห็นว่าโรคเกิดจากการเสียสมดุลของเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งคน ตัวก่อโรค และสิ่งแวดล้อมต้องเกิดความสมดุลจึงจะทำให้การเกิดโรคลดลงได้ แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมในเรือนจำเป็นสถานที่แออัด การคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่มีอาการแสดงที่อยู่ในเรือนจำจึงควรได้รับการคัดกรองตามเกณฑ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของโรควัณโรคปอดในเรือนจำ
References
Fennelly K.P., Martyny J.W., Fulton K.E., Orme L.M., Cave C.M. and Heifets L.B. (2004). Cough-
generated Aerosols of Mycobacterium tuberculosis: A New Method to Study
Infectiousness. American Journal Respiratory Critical Care Medicine. 169(1). 604–609.
Peasri M., Thipwareerom W., Hingkanon P. & Prachanban P. (2015). Factors
affecting on the self-care capability of TB inmates in prisons/ prisons lower Northern Region. Journal of Nursing and Health, 9(3), 45-58.
Sawatwenapong W., & Lamrod K. (2018). Situation of tuberculosis among personnel in
hospital under the ministry of public health, Tak province. Journal of health systems
research.11(2), 286-295.
Department Of Corrections.(2016). Standards for TB prevention and care in prisons .(Online),
Available: http://www.tbthailand.org/qtb. (2021, 2 December)
Department of Correction.(2018). Statistic Report-Department of correction.(Online),
Available: https://th.wikipedia.org/wiki/ Department of correction. (2022, 12 Febuary).
The Bureau of Tuberculosis, Department of disease Control. (2018). Systeriatric screening for
activeTB and drug-resistance TB. 2nd Edition. Bangkok: The Bureau of Tuberculosis,
Department of disease Control.
Veteewuthajarn K. , Suwannaphan K., Saengphet W..(2018).Factors related to the preventing
tuberculosis of inmates in Buengkan provincial prisons in 2017.The official of disease
prevention and control at 7 Khon Kean, 25(3), 99-105.
Wattanathorn S. & Phakdeewapi T.. (2019). A survey of the prevalence of Pol tuberculosis
found in inmate’s prison in health area 4,2017. Journal of Medicine and Pubic health
area 4. April-September 2019, 9(2),50-58.
Wiratsa W. (2018). The development of screening model for finding tuberculosis patients in
prisons in Singburi province 2018. Journal of Medicine and Pubic health area 4.
April-September 2020, 10(2), 1-9.
Wiriyaprasobchok A., Ngamvithayapong-Yanai J., Wongyai J., Nedsuwan S., (2017). Characteristics
and treatment outcome of TB patients from prisons and general TB patients in Muang
district Chiang Rai Province, Pubic Systems Research Journal, April-June 2017, 6(2),
-285
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด