การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ แก้วภมร โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, กองทุนน้ำดื่มประชารัฐ, คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple linear regression วิเคราะห์เนื้อหาในการพัฒนารูปแบบ และเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คือ ปัจจัยค้ำจุน และอายุ โดยทั้ง 2 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษได้ร้อยละ 30.1 (R2=0.301, SEest=2.516, F=44.556, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 1) การตั้งเป้าหมายร่วม 2) การสร้างการมีส่วนร่วม 3) ภาคีเครือข่าย 4) การสนับสนุนทางสังคม 5) ความรู้และการรับรู้ 6) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 7) การจัดการ และ 8) พี่เลี้ยง และหลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นคณะกรรมการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐอำเภออุทุมพรพิสัยมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และแรงสนับสนุนทางสังคมในการดำเนินงานกองทุนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ทำให้คณะกรรมการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐอำเภออุทุมพรพิสัยสามารถดำเนินงานกองทุนน้ำดื่มประชารัฐได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

กรมอนามัย. โครงการพัฒนาการจัดการน้ำในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=1433

กองควบคุมอาหาร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสถานที่ผลิต ตามหลักเกณฑ์ GMP น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2551 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.(2559). คู่มือการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล:https://lopburi.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/52/2017/03/คู่มือการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ.pdf

เมทินี แสงเมือง, สายัณต์ แก้วบุญเรือง, บุญร่วม แก้วบุญเรือง, ณิชกานต์ มีลุน. คุณภาพน้ำดื่มโครงการน้ำดื่มประชารัฐ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(1): 95-105.

รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คณะที่ 4 พัฒนาระบบสนับสนุนด้านสุขภาพขภาพจังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่ 10 ตรวจราชการวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2559.

ไพฑูรย์ แก้วภมร. สำรวจมาตรฐาน GMP และคุณภาพน้ำน้ำดื่มประชารัฐ: กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(1): 33-9.

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological Methods 2003; 8(3): 305–21.

กิตติศักดิ์ แสงทอง, พุธวิมล คชรัตน์. การรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2562; 12(1): 131-38.

Herzberg F, Mausner B, Snyderm BB. (1993). The Motivation to Work. 12th ed. New Brurawick: Transaction; 2010. p. 51.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(1) : 60-70.

ณฐชน วงษ์ขำ. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษากองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560.

คะนึงนิจ ศิริสมบูรณ์, ฉันธะ จันทะเสนา, ดวงตา สราญรมย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2552; 3(3): 75-89.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Reader. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1988. p.27-39.

วิชา อินทร์จันทร์. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 2563; 7(2): 150-70.

ธีรเดช มีสัตธรรม, สุภาวรรณ วงศ์คำจันทร์, สุชาติ แสงทอง. ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะความเป็นผู้นำของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 2561; 11(3): 269-76.

วันเพ็ญ ชื่นใจ, ส่งเสริม แสงทอง. การจัดการกองทุนหมู่บ้านทาสองท่าเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารปัญญา 2564; 28(1): 79-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23

How to Cite

แก้วภมร ไ. (2021). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนน้ำดื่มประชารัฐของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(3), 194–206. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/252568