ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • จิราพร ขำจันทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • จาตุรนต์ กัณทะธง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นริศรา ญาติอยู่ไกล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ไพฑูรย์ ขำจันทร์ คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • น้ำเงิน จันทรมณี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศศิวิมล บุตรสีเขียว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ของเสียอันตราย, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่เรียนรายวิชาการวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (93.3%) อายุเฉลี่ย 21 ปี เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) 2.61±0.81 ไม่เคยเข้าอบรมหรือเรียนเรื่องการแยกทิ้งของเสียอันตราย (80.0%) มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแยกทิ้งของเสียอันตรายอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 10.4±3.0, 20.7±0.7 และ 23.2±3.3 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย กลุ่มตัวอย่างบางคนมีระดับความรู้ต่ำ ร้อยละ 4.4 มีระดับทัศนคติและพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตรายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 2.2 และ 48.9 ตามลำดับ คะแนนความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของการแยกทิ้งของเสียอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.305, p-value = 0.042) คะแนนทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการแยกทิ้งของเสียอันตราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.355, p-value = 0.017) ดังนั้น ก่อนจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้สารเคมี นิสิตควรมีความรู้เกี่ยวกับการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ และควรส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการแยกทิ้งของเสียอันตรายให้กับนิสิต เพื่อให้มีการแยกทิ้งของเสียอันตรายได้อย่างถูกต้อง

References

วิษณุพงษ์ ห้วยกรดวัฒนา, พัชรา สินลอยมา. แนวทางการพัฒนาการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 2563; 16(3): 127-142.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการจัดการของเสียของห้อง ปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 5 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://infofile.pcd.go.th/ptech/Envilabwast.pdf?CFID=1236729&CFTOKEN=52902108.

โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand “ESPReL”. คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 Lab Safety Inspection Manual, Second Edition [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 5 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://esprel.labsafety.nrct.go.th/files/ESPReL-Book2.pdf.

วรวดี วรภัทร์ และธณินี วงศ์อกนิษฐ์. ฐานข้อมูล ความปลอดภัยสารเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://ohs.sci.dusit.ac.th/wp/?p=2045

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมโรงงานอุตสาหกรรม. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 2 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.tailiang.co.th/MSDS/MSDS_Copper(II)Sulfate.pdf

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice Hill: 1983.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research 1977; 2: 49-60.

Cronbach LJ. Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers; 1970. 752.

ปราณี แซ่เจ็ง, อิสรีย์ ขันทอง. การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564]. แหล่งข้อมูล:http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1480

วันวิสาข์ คงพิรุณ, สรัญญา ถี่ป้อม, วิโรจน์ จันทร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตําบลแก่งโสภา อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2): 310-321.

สุวัฒน์ ศิวาคม. การศึกษาประสิทธิผลของคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). ภาควิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-08

How to Cite

ขำจันทร์ จ. ., กัณทะธง จ. ., ญาติอยู่ไกล น. ., ขำจันทร์ ไ. ., จันทรมณี น., & บุตรสีเขียว ศ. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(3), 166–175. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/251569