ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาดจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธนา คลองงาม โรงพยาบาลศิลาลาด อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 374 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 ถึง ธันวาคม 2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้การวิเคราะห์ Multiple regression แบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ คือ ปัจจัยด้านเหตุการณ์ความเครียด ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านอายุ และ ปัจจัยทางสังคม โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 75.00 (R2=0.750, SEest=7.629, F= 183.276, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงควรมุ่งเน้นการลดภาวะเครียด เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม และการให้คุณค่าแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

References

World Health Organization: WHO. Atlas: Mental health resources in the world 2001 [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://apps.who.int/iris/bitstream/ handle/10665/66910/WHO_NMH_MSD_MDP_01.1.pdf?sequence=1&isAllowed=y [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564].

พูลสิน เฉลิมวัฒน์. ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ (วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

บุญพา ณ นคร. พฤติกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช). บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

Beck AT. Depression: Clinic, experimental and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division; 1967.

Orth, U., Robins, R. W., Trzesniewski, K. H., Maes, J., Schmitt, M. (2009). Low self-esteem is a risk factor for depressive symptoms from young adulthood to old age. Journal of Abnormal Psychology 2009; 118(3): 472–8.

World Health Organization. Depression: A global public health concern [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.who.int/mental_health/management/depression/who_paper_depression_wfmh_2012.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564].

World Health Organization. Depression and other common mental disorders: global health estimates. 2017 [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https:// apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf?sequence=1 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564].

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ฉบับ "สุขภาพเด็ก พ.ศ. 2551-52, นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราพิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2551.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10, กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารสรุปผลตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ เขตสุขภาพที่ 10 ประจำปีงบประมาณ 2562 [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.health region10.moph.go.th/wp-content/uploads/20 20/05/รวมเล่ม%20สรุปตรวจราชการ_ปีงบประมาณ%202562.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564].

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศิลาลาด. รายงานสถานการณ์และสรุปผลงานประจำปี พ.ศ. 2562. ศรีสะเกษ; 2562.

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychol. Methods 2003; 8(3): 305–21.

สุรเดชช ชวะเดช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(3): 174-181.

นิรัชรา ศศิธร. ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคม ที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Jongenelis K, Pota AM, Eissesc AMH, Beekman ATF, Kluiterc H, Ribbea MW. Prevalence and risk indicators of depression in elderly nursing home patients: the AGED study J Affect Disord 2004; 83(2-3): 135-42.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ธนัญพร พรหมจันทร์. ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Lee CT, Yeh CJ, Lee MC, Lin HS, Chen VCH, Hsieh MH, et al. Social support and mobility limitation as modifiable predictors of improvement in depressive symptoms in the elderly: Results of a national longitudinal study. Archives of gerontology and geriatrics, 2012; 55(3): 530-8.

ลาวัลย์ พิกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าตนเองกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

ชมพูนุท กราบคำบา. ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). บัณฑิตวิทยาลัย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2557.

สมใจ โชติพันธุ์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์บ้านบางแค (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.

สายพิณ ยอดกุล. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ). คณะพยาบาลศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

อิทธิพล พลเยี่ยม. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด). คณะสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, มงคล หลักคำ, จริยา จันตระ, วิลาสินี ชัยสิทธิ์, กีรติ บรรณกุลโรจน์. ความซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายไทยในชุมชนชนบท และชุมชนเมือง. สารศิริราช, 2542; 51(4), 232-243.

Blazer D, Burchett B, Service C, & George LK. The association of age and Depression among the elderly: an epidemiologic exploration. Journal of Gerontology, 1991; 46(6): 210-215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-08

How to Cite

คลองงาม ธ. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาดจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(1), 47–56. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/247524