การเปรียบเทียบการเสียเลือดจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิมและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีในผู้ป่วยที่มารับบริการใน โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อภิรัฐ สืบสิงห์ โรงพยาบาลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิม, การผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถี, การสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยของการเสียเลือดในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิมกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีในผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาล   วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับการผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถี จำนวน 17 และ กลุ่มผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม จำนวน 15 คน รวม 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยการเสียเลือดตามตัวแปรเพศ และ อายุ การเสียเลือดหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t-test เปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยการเสียเลือดตามตัวแปรดัชนีมวลกายโดยใช้สถิติ One way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบการตกเลือดตามตัวแปรเพศ อายุ และดัชนีมวลกาย พบว่า เพศ อายุ และดัชนีมวลกายที่แตกต่างกันมีผลต่อการตกเลือดจากการผ่าตัดไม่ต่างกัน (t=-.968, p=.341, t=-.354, p=.726, F=.277, p=.987 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการเสียเลือดระหว่างวิธีการผ่าตัดพบว่า การผ่าตัดนำวิถีเสียเลือดเฉลี่ย 421.77 มล. (S.D. = 81.94 มล.) และการผ่าตัดแบบดั้งเดิมเสียเลือดเฉลี่ย 506.67 มล. (S.D. = 82.25 มล.) โดยการผ่าตัดนำวิถีเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff=84.90, 95%CI=25.51-144.29, p-value=0.0066) จากผลการทดลองการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์นิวิถีสามารถลดปริมาณการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัดได้มากกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิม จึงควรนำวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลวารินชำราบต่อไป

References

ขวัญสุรีย์ อภิจันทรเมธากุล, สุวรรณี สร้อยสงค์ และ บุศริน เอี่ยวสีหยก. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561; 29(1) :223-238.

วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. คู่มือโรคเข่าเสื่อม [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://med.mahidol.ac.th/ ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564].

โรงพยาบาลเอกชัย. โรคข้อเข่าเสื่อม [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.ekachaihospital.com/ th/knee-osteoarthritis/ [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564].

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง และ ผุสดี สระทอง. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(2) : 197-210.

สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty) [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://web.med.cmu.ac.th/index.php/th/knowledge-to-the-people/54-sick-clinic/ knowledge-to-the-people/589-knee-arthroplasty [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564].

โรงพยาบาลเวชธานี. การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Surgery in Total Knee Arthroplasty) [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.vejthani.com/th/2014/01/ผ่าตัด-ผิวข้อเข่าเทียม/ [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2564].

โรงพยาบาลรามคำแหง. การป้องกันและการรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตันหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/249 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564].

แผนกออร์โทปิดิกส์ โรงพยาบาลวารินชำราบ. รายงานสรุปผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลวารินชำราบ; 2563.

Pawaris Sungkhun, Viroj Larbpaiboonpong, Thana Turajane and Ukrit Chaweewannakorn. Comparing alignment of proximal tibia first cut between narrow and wide saw blade in CAS TKA. J Med Assoc Thai 2012; 95 (Suppl. 10): S87-S91.

Thana Turajane, Viroj Larbpaiboonpong, Jatupon Kongtharvonskul and samart maungsiri. results of computer assisted mini-incision subvastus approach for Total Knee Arthroplasty. J Med Assoc Thai 2009; 92 (Suppl 6): S51-8.

Thanainit Chotanaphuti, Pipat Ongnamthip, Krit Teeraleekul and Chalermrit Kraturerk. Comparative study between computer assisted-navigation and conventional technique in minimally invasive surgery total knee arthroplasty, Prospective control study. J Med Assoc Thai 2008; 91(9): 1382-8.

Satit Thiengwittayaporn, Detchart Junsee, Aree Tanavalee.A comparison of blood loss in minimally invasive surgery with and without electromagnetic computer navigation in total knee arthroplasty. J Med Assoc Thai 2009; 92 (Suppl 6): S27-32.

อารี ตนาวลี. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยการทำให้เนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2545; 46(11): 925-37.

Ankel

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-12

How to Cite

สืบสิงห์ อ. (2021). การเปรียบเทียบการเสียเลือดจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิมและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีในผู้ป่วยที่มารับบริการใน โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี . วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(1), 40–46. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/247449