การดำเนินงานจัดการยาอย่างเหมาะสมในชุมชนตำบลโพธิ์ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีษะเกษ
คำสำคัญ:
Operations, Drug Management, Dangerous drugบทคัดย่อ
ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ ร้านชำในชุมชนชนบทจึงเป็นสถานที่ขายยาสำหรับชุมชนที่ห่างไกลสถานบริการ ปัญหาที่เกิดคือมีผู้แพ้ยาจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นการแพ้ยาจากการซื้อที่ร้านชำ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของยาอันตรายในชุมชน และพัฒนารูปแบบการจัดการยาอย่างเหมาะสมในชุมชนตำบลโพธิ์ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีษะเกษ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการของเคมิสและเมดเทคการ์ด กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของร้านชำจำนวน 37 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 26 คน ผู้นำชุมชน 13 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 13 คนเภสัชกร 1 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 คน และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 คน ทำการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างการรับรู้และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 การค้นหาปัญหา ระยะที่ 3 วิเคราะห์ สังเคราะห์ การคืนข้อมูลชุมชน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ คบส.1 ของกระทรวงสาธารณสุข แบบสอบถามของสำนักงานอาหารและยา และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกลุ่ม/เดี่ยว ผลการศึกษา พบว่า ยาอันตรายเข้าสู่ชุมชน โดยร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 ร้อยละ 30 จากร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 ร้อยละ 27.78 จากห้างสรรพสินค้าร้อยละ 13.41 และจากที่อื่นๆ ร้อยละ 7.8 ข้อมูลความคิดเห็นที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดและแบบสัมภาษณ์ พบว่า ประชาชนเห็นว่าทำไมจึงมีการโฆษณายาอันตรายทางสื่ออย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ จากการสอบถามเชิงลึกรถเร่ก็ได้สั่งยามาจากร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 รูปแบบการจัดการยาอันตรายในชุมชนอย่างเหมาะสม ต้องอาศัยเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนจะเกิดความสำเร็จ และถ้าได้รับรู้อันตรายต่อตนเอง ตลอดจนร้านชำมีสำนึกที่ดีย่อมทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้นควรทบทวนกฎหมาย กติกา เรื่องการขายยาของร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1, 2 ห้างสรรพสินค้าว่าควรขายยาได้ในระดับใด การโฆษณายาอันตรายทางสื่อต่าง ๆ ควรทำได้อย่างเสรีหรือไม่
References
World Health Organization. The Rational Use of Drug-Report of The Conference of Expert, Nirobi 25-29 November 1985. Geneva: World Health Organization, 1987.
กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายยาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์ระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://resource. thaihealth.or.th/library/academic/13485 [เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2562].
สถาบันวิจัยระบบยาแห่งชาติ. คู่มือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 2558. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://ndi.fda.moph. go.th/drug_use/detail/67 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563].
สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2548-2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2550.
ลือชัย ศรีเงินยวง. การมีสวนร่วมของชุมชน: ยุทธศาสตร์ใหมของการพัฒนา. (สาธารณสุข) ชนบท ในรวมบทความพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2543.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนคูณ. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2562.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไข้เพิ่มเติม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http//web.krisdika.go.th//data/law/ law2upate.pdf/ [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562].
ภาณุโชติ ทองยัง. คืนข้อมูลสู่ชุมชน. อย่าปล่อยให้เสตียรอยด์ลอยนวล. แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา, 2554.
วสาวี กลิ่นขจร. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3. ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กรมอนามัย, 2554.
ธิดาพร อาจทวีกุล. การพัฒนาระบบการเฝาระวังการจําหนายยาอันตรายในรานชําในพื้นที่ตําบลสะแกโพรง อําเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2559.
จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข และ เอมอร ชัยประทีป. ความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2554.
วณีนุช วราชุน. ระบบการจัดการด้านยาในโรงพยาบาลคุณภาพ. องค์การเภสัชกรรม, 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม