ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิยม จันทร์นวล วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุมาลี สมชาติ หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, 3อ. 2ส., ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของสังคมไทย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 130 คน โดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ.2561 พัฒนาโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Pearson Correlation ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 64.60 พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.อยู่ในระดับดี ร้อยละ 33.80 และพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.351, p < 0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในวางแผนและดำเนินงานการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวยประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่. รายงานสุขภาพประชาชนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2561. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่; 2562.
3. คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
4. ชาตรี แมตสี่ และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9(2):96-111.
5. นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การนําความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(2):68-75.
6. Chang, P. Health literacy movement in Asia. Proceedings of the10th Conference on health promotion and environmental health, Ministry of Public Health, Prince Palace, Bangkok. 2017.
7. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 2558. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
8. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2561.
9. Cohen,J.M., & Uphoff, N.T. Rural Partcipation: Concepts and Measures fo Project Design, Implementation and Evaluation. USA: The Rural Development Committee Center International Studies, Cornell University; 1977.
10.ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(1):37-51.
11. กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560; 11(1): 26-36.
12. สมสุข ภาณุรัตน์และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562; 11(1):86-94.
13. Javadzade, SH., Sharirad, G., Radjati, F., Mostafavi, F., Reisi, M., Hasanzade, A. Relationship between health literacy, health status, and healthy behaviors among older adults in Isfahan, Iran. Journal of Education and Health Promotion 2012; 1(31): 1-7.
14. วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561; 24(2):34-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-04

How to Cite

จันทร์นวล น., & สมชาติ ส. (2020). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(2), 123–131. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/242474