ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ทำงานพาร์ทไทม์ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ใบเฟรินส์ เอกฉัตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสาวนีย์ ทองนพคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ความรอบรู้สุขภาพ, งานพาร์ทไทม์, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ทำงานพาร์ทไทม์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ทำงานพาร์ไทม์ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 234 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) จากสถานประกอบการ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 62.0 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนเพศหญิง โดยร้อยละ 77.8 มีอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 53.4 มีรายรับไม่เพียงพอสำหรับรายจ่ายต้องกู้ยืม ร้อยละ 88.9 มีสัมพันธภาพกับครอบครัวในระดับดีมาก และร้อยละ 22.7 มีความรอบรู้สุขภาพในระดับไม่ดี  โดยมีเยาวชนถึงร้อยละ 23.1 เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของของเยาวชนที่ทำงานพาร์ไทม์ ได้แก่ สัมพันธภาพกับครอบครัว (p < 0.01) และทักษะการสื่อสาร (p < 0.01) มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้น นายจ้าง สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าให้กับเยาวชนทุกคน และจัดให้มีกิจกรรมเพื่อการดูแลเยาวชนที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า โดยมุ่งเน้นในเรื่องสัมพันธภาพกับครอบครัว และทักษะการสื่อสารเพื่อให้เยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

References

1. จุลารักษ์ เทพกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(1):70-7.
2. ตฏิลา จำปาวัลย์. แนวคิดและทฤษฎีภาวะซึมเศร้าทางจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา. 2560;2(2):1-11.
3. World Health Organization. Depression and other common mental disorders: global health estimates. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2017.
4. สถบันราชานุกูล. “Depression, Let’s talk : ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [Available from: https://th.rajanukul.go.th.
5. วารุณี ฟองแก้ว. การป้องกันเอชไอวีในวัยรุ่น ประเด็นท้าทาย และแนวทางการแก้ไข. เชียงใหม่ นนทบุรีการพิมพ์.; 2554.
6. Brown GW, Harris T. Social origins of depression: a reply. Psychological medicine. 1978;8(4):577-88.
7. William GC. Sampling techniques. third edition ed. United States of America John Wiley & Sons, Inc. ; 1977. 442 p.
8. วงเดือน ปั้นดี. ความชุกและปัจจัยของความซึมเศร้าใน เด็กวัยรุ่นตอนปลาย : ศึกษาเฉพาะนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2558;45(3):298-309.
9. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561. นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
10. อุมาพร ตรังคสมบัติ, วชิระ ลาภบุญทรัพย์, ปิยลัมพร หะวานนท์. การใช้ CES-D ในการคัด กรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย. 2540;42(1):2-13.
11. DeVellis RF. Scale development: Theory and applications. Chapel Hill, USA: Sage publications; 2016.
12. รุ้งมณี ยิ่งยืน. ความชุกของภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมายและไม่ได้กระทำผิดกฎหมายในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
13. สุนันท์ เสียงเสนาะ, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, เวทิส ประทุมศรี. อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560;33(3):59-69.
14. รัตนา ภรณ์ชูทอง, ภควัต วิวัฒนวรเศรษฐ์, ณภัค วรรตบัวทอง, ยุพา หนูทอง, ชาตินันท์ อยู่สุข, ณัฐกุล รุ่งเรือง และคณะ. ภาวะสุขภาพ จิตสภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2. 2562;64(4):337-50.
15. Cooper CL, Straw A. Successful stress management in a week. 2 ed: Headway; 1993.
16. ขวัญพนมพร ธรรมไทย, ชาลินี สุวรรณยศ, รจเรข อินทโชติ ซากาโมโต, ณรงค์ มณีทอน, อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์, ยุพา พรรณศิริอ้าย และคณะl. การถอดบทเรียนการพัฒนาสื่อประสมเพื่อการป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย. วารสามสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2562;64(3):235-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-02

How to Cite

เอกฉัตร ใ. ., & ทองนพคุณ เ. (2020). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ทำงานพาร์ทไทม์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(2), 77–85. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/240578