ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, โปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิต, สารเสพติดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวนสองโรงเรียน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลากเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลองและโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ นักเรียนตัวอย่างจากโรงเรียนกลุ่มทดลองได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การวิจัย 55 คน เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ และนักเรียนตัวอย่างจากโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ 58 คนที่เข้าร่วมเฉพาะกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้ตามปกติ ประเมินผลโดยแบบสอบถามทักษะชีวิตทั้ง 7 ด้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .87 - .90 เก็บข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher's Exact Test, paired sample t-test และ independence sample t-test
ผล: กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าทักษะชีวิตทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การตระหนักรู้ การปฏิเสธ การตัดสินใจและแก้ไขปัญหา การจัดการอารมณ์และความเครียด ความภาคภูมิใจ ความคิดสร้างสรรค์ และความรับผิดชอบ ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตฯ สามารถเพิ่มทักษะชีวิตในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายของจังหวัดชัยภูมิได้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอื่น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดได้
Downloads
References
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562 [Strategic plan for drug prevention and solution 2015-2019]. กรุงเทพฯ: สำนัก; 2554.
ชูชัย ศุภวงศ์, สุภกร บัวสาย, จิตสิริ ธนภัทร. วิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทย [The evolution of tobacco control in Thailand]. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย; 2542.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาสุขภาพในแต่ละกลุ่มอายุ [Situations and trends of health problems in each age group]. กรุงเทพฯ: กรม; 2561.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน [Problems of drug epidemic among children and youth]. กรุงเทพฯ: สถาบัน; 2559.
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. สถิตินักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ [Primary school student statistics, Chaiyaphum province.]. ชัยภูมิ: กลุ่มงาน; 2562.
วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น [Child and adolescent psychiatry].กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2545.
Huang CM, Chien LY, Cheng CF, Guo JL. Integrating life skills in to a theory‐based drug‐use prevention program: effectiveness among junior high students in Taiwan. J Sch Health. 2012;82(7):328-35. doi:10.1111/j.1746-1561.2012.00706.x.
O’Neill JM, Clark JK, Jones JA. Promoting mental health and preventing substance abuse and violence in elementary students: a randomized control study of the Michigan model for health. J Sch Health. 2011;81(6):320-30. doi:10.1111/j.1746-1561.2011.00597.x.
วุฒิไกร ศักดิ์สุรกานต. ประสิทธิผลการประยุกต์โปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอเมืองชลบุรี [Effectiveness of applied life skill program for promoting health behavior to prevention substance abuse among primary school students in Muaeng district, Chonburi province]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2562];24:612–20. จาก: https://digitaljournals.moph.go.th/tdj/index.php/JHS/article/view/504
ศิริพร รุ่งสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์, วนลดา ทองใบ. ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดนครนายก [The effect of a life-skills training program for reducing alcohol use among out-of-school adolescents in Nakhonnayok province]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2562];33:162–77. จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/185668
World Health Organization. Life skills education in school. Geneva: World Health Organization; 1997.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม [Participatory learning]. นนทบุรี: สำนัก; 2545.
บุญเชิด ภัญโญอนันตพงษ์. การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ [Creative learning]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ; 2540.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ข้อมูลนักเรียน [Student information]. ชัยภูมิ: สำนักงาน; 2561.
Cronbach, Lee J. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper & Row; 1990.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. รู้ไว้ไม่เสียใจ [Know that I'm not sorry] [วีดิทัศน์]. เชียงใหม่: สถาบัน; 2561.
สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE. เป็นหนึ่งไม่พึ่งยา [Being one does not rely on medicine] [วีดิทัศน์]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2561.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. เธอคือพลังอันยิ่งใหญ่ [You are a great power] [วีดิทัศน์]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2561.
ธนวรรณ ทองจันทร์. หน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ [The duty of youth to society and the nation] [วีดิทัศน์]. สระบุรี: โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม; 2553.
สายสุดา สุพรรณทอง. เทคนิคปฏิเสธ [Technical rejection]. นครราชสีมา: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์; 2562.
ปิยพร สิงห์คำ, สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา. การสร้างเสริมการรับรูความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา [Promoting self-efficacy in refusing to drink alcohol of secondary school students, Phayao province]. วารสารควบคุมโรค. 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่
มิ.ย. 2562];46:42-51. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/191492
ดุษฎี นรศาศวัต. การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ [Problem solving and decision making]. นครสวรรค์: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3; 2561.
สุพัตรา สุขาวห, มานพ คณะโต. การพัฒนาต้นแบบความรู้ในการป้องกันการใช้สารเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยง [Developing drugs abuse prevention model for adolescence]. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 2557;2:245-62.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด [The management with emotions and stress]. กรุงเทพฯ: กอง; 2562.
ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์. ผลของการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์เพื่อลดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [Effect of the resilience enhancement program on reduced stress of students secondary school]. วารสารกองการพยาบาล. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2562];44:103-15. จาก: https://digitaljournals.moph.go.th/tdj/index.php/JND/article/view/2426
Dryden G, Vos J. The Learning revolution. Auckland: The learning Web; 1997.
จุลจีรา จันทะมุงคุณ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ [The effects of the ability development program and social support on smoking prevention of the youth groups in Ban–yang sub–district, Muang district, Buriram province]. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21:35-47.
Anderson JE. Public policy - making. New York: Praeger; 1975.
กนก พานทอง, ภัทราวดี มากมี, ปริญญา เรืองทิพย์, ประวิทย์ ทองไชย, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม. การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา [The development of life skills in critical cognitive skills of student in the vocational school]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2562];27(3):10-22. จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/224042
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน [Basic Education Course]. กรุงเทพฯ: กรม; 2545.
สุรัตน์ เพชรนิล, ศิริณา จิตต์จรัส. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาระดับอดุมศึกษา [A development of learning activities for university students social responsibility enhancement]. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2562];10:194-210. จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/110911
อานนท์ พึ่งสาย. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อเจตคติในการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [The results of participatory learning management on the attitude of Matthayomsuksa 5 students]. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ มิ.ย. 2562];6:233-45. จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/25632
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย