การพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังจิตเภทในเรือนจำ เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • มานิดา สิงหัษฐิต, พ.บ. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • ธีราภา ธานี, ศษ.ม. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • สุพัตรา สุขาวห, ปร.ด. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • พัชนี พิมพบุตร, พย.ม. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

การกระทำผิด, บริการสุขภาพจิต, ผู้ต้องขังจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ระบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำ เขตสุขภาพที่ 10 และปรับปรุงระบบการดูแลผู้ต้องขังจิตเภทต่อเนื่องหลังกลับสู่ชุมชน

วิธีการ : ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และประเมินระบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ออกแบบพัฒนาโปรแกรม “จากเรือนจำสู่ชุมชน” และ 3) ทดสอบความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ ในผู้ต้องขังจิตเภทของเรือนจำนำร่อง ประเมินอาการด้วยแบบประเมินอาการผู้ป่วยจิตเภท 8 ข้อ ฉบับพระศรีมหาโพธิ์ (Prasri Assessment Schizophrenia Scale; PASS 8) วิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผล: ระบบบริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำของเขตสุขภาพที่ 10 มีผู้ต้องขังจิตเภท 167 คน คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของผู้ต้องขังจิตเวชทั้งหมด พบมีช่องว่างการดูแลรักษาทั้งระหว่างอยู่ในเรือนจำและหลังกลับสู่ชุมชน  ครอบครัวและชุมชนส่วนใหญ่กังวลว่าผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบและกระทำผิดซ้ำ โปรแกรม “จากเรือนจำสู่ชุมชน” ที่พัฒนาขึ้นเน้นการเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังจิตเภทและเตรียมความพร้อมบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ ครอบครัว และชุมชน ทดลองโปรแกรมฯ ในเรือนจำนำร่อง มีผู้ต้องขังจิตเภทที่มีกำหนดออกจากเรือนจำ 6 คน อายุเฉลี่ย 41.5 ปี มีโรคจิตเภทอาการทางจิตเฉลี่ย 10.7 คะแนน ผลการติดตามเยี่ยมบ้านเบื้องต้น 3 รายหลังออกจากเรือนจำ 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน พบผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบ และไม่มีการกระทำผิดซ้ำ

สรุป: โปรแกรม “จากเรือนจำสู่ชุมชน” ที่พัฒนาขึ้นสามารถเสริมระบบบริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำเขตสุขภาพที่ 10 ได้ และผู้ต้องขังจิตเภทได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังกลับสู่ชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Forrester A, Till A, Simpson A, Shaw J. Mental illness and the provision of mental health services in prisons. Br Med Bull. 2018;127:101-9. doi:10.1093/bmb/ldy027.

Fazel S, Hayes AJ, Bartellas K, Clerici M, Trestman R. Mental health of prisoners: prevalence, adverse outcomes, and interventions. Lancet Psychiat. 2016;3:871-81. doi:10.1016/S2215-0366(16)30142-0.

Fazel S, Seewald K. Severe mental illness in 33 588 prisoners worldwide: systematic review and meta-regression analysis. Br J Psychiatry. 2012;200:364-73. doi:10.1192/bjp.bp.111.096370.

Coid J, Ullrich S. Prisoners with psychosis in England and Wales: diversion to psychiatric inpatient services?. Int J Law Psychiatry. 2011;34:99-108. doi:10.1016/j.ijlp.2011.02.003.

Witt K, van Dorn R, Fazel S. Risk factors for violence in psychosis: systematic review and meta-regression analysis of 110 studies. PLoS One. 2013;8(2):e55942-e. doi:10.1371/journal.pone.0055942.

Verma S, Poon LY, Subramaniam M, Chong S-A. Aggression in Asian patients with first-episode psychosis.Int J Soc Psychiatry. 2005;51:365-71. doi:10.1177/0020764005060852.

O'Driscoll C, Larney S, Indig D, Basson J. The impact of personality disorders, substance use and other mental illness on re-offending. J Forens Psychiatry Psychol. 2012;23:382-91. doi:10.1080/14789949.2012.686623.

Baillargeon J, Hoge SK, Penn JV. Addressing the challenge of community reentry among released inmates with serious mental illness. Am J Community Psychol. 2010;46:361-75. doi:10.1007/s10464-010-9345-6.

กมลชนก มนตะเสวี, ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์, วิชชุดา จันทรราษฎร์. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ [The studies of mental health problems among Thai prisoners and psychiatric services in Thai prisons]. กรุงเทพฯ: สถาบันกัลยาราชนครินทร์; 2561.

Kongsuk T, Wannasewok K, Thongtao J, Konkhamdee S, Kenbubpha K, Thanee T, et al. The development, validity and reliability of psychotic symptoms rating scale for patients with schizophrenia (Prasrimahabhodi Assessment Schizophrenia Scale: PASS 8). J Med Assoc Thai. 2018;101:S126-34.

Igoumenou A, Kallis C, Coid J. Treatment of psychosis in prisons and violent recidivism. BJPsych Open. 2015;1:149-57. doi:10.1192/bjpo.bp.115.000257.

Leet B, Kumar RV,DavarajP.Development of a new occupational therapy service in a Singapore prison. Brit J OccupTher. 2015;78:525–9.

Senior J, Birmingham L, Harty MA, Hassan L, Hayes AJ, Kendall K, et al. Identification and management of prisoners with severe psychiatric illness by specialist mental health services. Psychol Med. 2013;43:1511-20. doi:10.1017/S0033291712002073.

Kim JI, Kim B, Kim BN, Hong SB, Lee DW, Chung JY, et al. Prevalence of psychiatric disorders, comorbidity patterns, and repeat offending among male juvenile detainees in South Korea: a cross-sectional study. Child Adolesc Psychiatry Ment Health. 2017;11:6. doi:10.1186/s13034-017-0143-x.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-15

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ