This is an outdated version published on 2022-12-28. Read the most recent version.

ความตรงและความเชื่อถือได้ของดัชนีชี้วัดความเครียดผู้ปกครองของเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 12 ปี

ผู้แต่ง

  • สุนทรี ศรีโกไสย, พย.ด. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
  • พัชรี หมื่นชัย, พย.บ. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
  • ชฎาพร คําฟู, พย.บ. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
  • ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา, วท.ม., บธ.ม. สมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดแนวซาเทียร์
  • รัตนา สายพานิชย์, พ.บ., ส.ม. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความเครียด, ความตรง, ความเที่ยง, คุณภาพ, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ตรวจสอบความตรงและความเชื่อถือได้ของดัชนีชี้วัดความเครียดผู้ปกครองฉบับภาษาไทย

วิธีการ: พัฒนาเครื่องมือฉบับภาษาไทย โดยใช้ข้อคำถามจาก Parenting Stress Index-Fourth Edition-Short form (PSI-4-SF) ต้นฉบับภาษาอังกฤษที่มี 36 ข้อ ขั้นตอนแรก แปลเครื่องมือและประเมินความเข้าใจในความหมายและความเหมาะสมของภาษา ขั้นตอนที่สอง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเด็กพิเศษและผู้ปกครองเด็กปกติ 510 คน ตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถาม ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค

ผล: ข้อคำถามในดัชนีชี้วัดความเครียดของผู้ปกครองมีอำนาจจำแนกดี 36 ข้อ ข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทั้งฉบับ r≥0.3 มี 33 ข้อ และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยเข้าใกล้จุดกลางของช่วงคะแนน 5 คะแนน มี 33 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่า 0.88 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมี 6 องค์ประกอบ ที่มีค่าไอเกนมากกว่า 1 ได้แก่ ผู้ปกครองมีแนวโน้มของโรคซึมเศร้า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก พฤติกรรมของเด็ก การแสดงอารมณ์ของเด็ก ความคาดหวังของผู้ปกครอง และทัศนคติของการเป็นพ่อแม่ น้ำหนักองค์ประกอบมีค่า 0.40-0.75 ร้อยละของความแปรปรวนที่สามารถอธิบายได้เท่ากับ 49.3 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลที่ใช้พิสูจน์คือ parental distress (PD), parent-child dysfunctional interaction (P-CDI) และ difficult child (DC) ตามต้นฉบับ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

สรุป: ดัชนีชี้วัดความเครียดของผู้ปกครองมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับทฤษฎี และมีความเชื่อถือได้ในระดับสูง จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดความเครียดของผู้ปกครอง และประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติเพื่อจัดการความเครียดของผู้ปกครอง

หมายเหตุ :
1) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขเฉพาะส่วนของภาคผนวก เนื่องจากข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์การเผยแพร่เครื่องมือ full scale (22-09-21)
2) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขส่วนผล ในหน้า 63 เนื่องจากข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์การเผยแพร่ (22-12-28)
3) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขรายละเอียดขออนุญาตแปลเครื่องมือจากเจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนบุคคล และลิขสิทธิ์ของบริษัท ในหน้า 60 และ 67 (23-08-31)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Charmandari E, Tsigos C, Chrousos G. Endocrinology of the stress response. Annu Rev Physiol. 2005;67:259–84. doi:10.1146/annurev.physiol.67.040403.120816.

Szabo S, Tache Y, Somogyi A. The legacy of Hans Selye and the origins of stress research: a retrospective 75 years after his landmark brief “letter” to the editor of nature. Stress. 2012;15:472-8. doi:10.3109/10253890.2012.710919.

Hayes SA, Watson SL. The impact of parenting stress: a meta-analysis of studies comparing the experience of parenting stress in parents of children with and without autism spectrum disorder. J Autism Dev Disord. 2013;43:629-42. doi:10.1007/s10803-012-1604-y.

Carpenter BN, Steffen PR. Stress. In: Haas LJ, editor. Handbook of primary care psychology. New York US: Oxford University Press; 2004:p.563-77.

กรมสุขภาพจิต. แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต [Mental health testing scale] [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 61]. จาก: https://www.dmh.go.th/test/qtest5/.

Noone PA. The Holmes-Rahe Stress Inventory. Occup Med (Lond). 2017;67:581-2. doi:10.1093/occmed/kqx099.

Siegrist J, Dittmann KH, Inventory of stressful life-events (ILE). In: Cullen J, Siegrist J, Wegmann HM, editors. Breakdown in human adaptation to ‘stress’. Netherlands: Springer; 1984:p.251-6.

Abidin RR. Parenting stress index, fourth edition. Florida: PAR; 2012a. p. 2-3.

Hoffman CD, Sweeney DP, Hodge D, Lopez-Wagner MC, Looney L. Parenting stress and closeness: mothers of typically developing children and mothers of children with autism. Focus on Autism and Other Developmental Disabilities. 2009;24:178–87. doi:10.1177/1088357609338715.

Lee GK, Lopata C, Volker MA, Thomeer ML, Nida RE, Toomey JA, et al. Health-related quality of life of parents of children with high-functioning autism spectrum disorders. Focus on Autism and Other Developmental Disabilities. 2009;24:227–39. doi:10.1177/1088357609347371.

Markham ER. Parenting stress in a clinical sample: assessment and implications [Doctor of Education]. Kentucky USA: University of Louisville; 2000 [cited 2018 Dec 6]. Available from: ProQuest Dissertations and Theses database UMI: 3000484.

Rao PA, Beidel DC. The impact of children with high-functioning autism on parental stress, sibling adjustment, and family functioning. Behav Modif. 2009;33:437–51. doi:10.1177/0145445509336427.

Richardson LL. The relationship of repetitive behavior and sensory behavior to parenting stress in mothers of boys with autism and mothers of boys with fragile X syndrome [Doctor of Philosophy]. Columbia USA: University of South Carlina; 2010 [cited 2018 Dec 6]. Available from: ProQuest Dissertations and Theses database UMI: 3402825.

Ferrin M, Moreno-Granados JM, Salcedo-Marin MD, Ruiz-Veguilla M, Perez-Ayala V, Taylor E. Evaluation of a psychoeducation programme for parents of children and adolescents with ADHD: immediate and long-term effects using a blind randomized controlled trial. Eur Child Adolesc Psychiatry. 2014;23:637-47. doi:10.1007/s00787-013-0494-7.

Chen YC, Hwang-Gu SL, Ni HC, Liang S HY, Lin HY, Lin CF, et al. Relationship between parenting stress and informant discrepancies on symptoms of ADHD/ODD and internalizing behaviors in preschool children. PLoS One. 2017;12:e0183467. doi:10.1371/journal. pone.0183467.

Leavitt CE, McDaniel BT, Maas MK, Feinberg ME. Parenting stress and sexual satisfaction among first-time parent: a dyadic approach. Sex Roles 2017;76:346-55. doi:10.1007/s1199-016-0623-0.

Burns N, Grove SK. The practice of nursing research: conduct, critique, and utilization 4th ed. Philadelphia PA: WB Saunders; 2001.

DeVellis RF. Scale development: theory and applications 2nd ed. Thousand Oaks CA: Sage; 2003.

Waltz CF, Strickland OL, Lens ER. Measurement in nursing research 3rd ed. Philadelphia PA: FA Davis; 2005.

สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา: ข้อวิพากษ์และข้อเสนอแนะวิธีการคำนวณ [Content validity index: critique and recommendation for computation]. พยาบาลสาร. 2007;34(4):1-9.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE, Tatham RL. Multivariate data analysis 6th ed. New Jersey US: Pearson Prentice Hall; 2006.

Abidin RR. editor. Parenting stress index, fourth edition short form (PSI-4SF) [Internet]. Texas: Texas A&M University; 2012 [cited 2017 Aug 10]. Available from: https://www.wpspublish.com/psi-4-parenting-stress-index-fourth-edition

Schermelleh-Engel K, Moosbrugger H, Müller H. Evaluating the fit of structural equation models: test of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological Research. 2003;8(2),23-74.

Satir V, Banmen J, Gerber J, Gomori M. The Satir Model: family therapy and beyond. California US: Science and behavior book; 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-31 — Updated on 2022-12-28

Versions

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ