การศึกษารายกรณีผู้รับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในภาวะวิกฤตและแนวทางให้การปรึกษา
คำสำคัญ:
การให้การปรึกษาทางโทรศัพท์, ฆ่าตัวตาย, ผู้ให้การปรึกษา, ภาวะวิกฤต, สายด่วนสุขภาพจิต 1323บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของผู้รับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ที่มีภาวะวิกฤต และแนวทางให้การปรึกษาจากผู้ให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์
วิธีการ: การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกประชากรเป้าหมายแบบเจาะจง 5 ราย ที่มีความเสี่ยงการฆ่าตัวตายสูงมากและได้รับการปรึกษาครบกระบวนการจากฐานข้อมูลการให้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โดยใช้ข้อมูลจากแบบบันทึกและเทปบันทึกเสียงการให้บริการ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้บริการปรึกษา 5 ราย ถึงกระบวนการให้การปรึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผล: ปัญหาและสาเหตุของผู้รับบริการพบปัจจัยด้านกายภาพ (ภาวะซึมเศร้า ประวัติฆ่าตัวตายในครอบครัว) ด้านจิตใจ (เผชิญปัญหาวิกฤต วิธีคิดต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในทางลบ) และด้านสังคม (สภาพครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ และการถูกคุกคาม) แนวทางให้บริการปรึกษาพบว่าการสร้างสัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะที่ใช้บ่อยคือ การฟังอย่างตั้งใจ ใช้คำถามปลายเปิด และสะท้อนความ ส่วนเทคนิคที่ใช้คือ ค้นหาศักยภาพ สำรวจสิ่งยึดเหนี่ยวใจ ความหวัง และเป้าหมาย ปัจจัยสนับสนุนให้การปรึกษาได้ผลคือ ความพร้อมของผู้ให้การปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ที่ปรึกษา และหน่วยงานในพื้นที่ แต่อุปสรรคของการให้คำปรึกษาคือ บริบทการให้การปรึกษา ความพร้อมของผู้ให้บริการ ความพร้อมของพื้นที่ และขาดข้อมูลแหล่งช่วยเหลือ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการให้บริการคือ ควรคำนึงถึงการฟังอย่างตั้งใจ ปลอบโยนให้กำลังใจ พยายามค้นหาจุดแข็ง จัดการความคาดหวังของตนเอง ตั้งสติ ไม่ทำร้ายความรู้สึกและเคารพในการตัดสินใจของผู้รับบริการ
สรุป: หลักสำคัญในการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในภาวะวิกฤตสุขภาพจิต ได้แก่ การตั้งสติ พยายามค้นหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความหวัง เป้าหมาย และการทำงานเป็นทีมประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ให้เร็วที่สุด
Downloads
References
อนุพงศ์ คำมา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย [Risk Factors Associated with Suicide: A Case-Control Study in Sukhothai Province]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556;58:3-16.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี [Rate of Suicide and Factors Related to Suicidal Behavior at Chaophayayommarat Hospital Suphanburi Province]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(3):90-103.
วฤณ ปฐมวิชัยวัฒน์. ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาให้การปรึกษาในการทำงานกับผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย [Psychological experience of counseling psychologists working with high risk suicidal clients] [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Gretchen AB, Cobi WI, Suzanne CD. Benefits and challenges of conducting psychotherapy by telephone. Prof Psychol Res Pr. 2011; 42: 543–9. doi:10.1037/a0026135.
Mohr DC, Hart SL, Howard I, Julin L, Vella L, Catledge C, et al. Barriers to psychotherapy among depressed and nondepressed primary care patients. Ann Behav Med. 2006;32:254-8. doi:10.1207/s15324796abm3203_12.
da Silva JAM, Siegmund G, Bredemeier J. Crisis interventions in online psychological counseling. Trends Psychiatry Psychother. 2015;37:171-82. doi:10.1590/2237-6089-2014-0026.
Dadfar M, Lester D. A study of callers to a telephone counselling service. Illness Crisis & Loss. 2019 Feb. doi:10.1177/1054137319833299.
ฆฤณ ถนอมกิตติ. สะมาริตันส์สายด่วนรับฟังเพื่อช่วยไม่ให้คนฆ่าตัวตาย [Samritan suicidal helpline how to prevent a suicidal] [อินเทอร์เน็ต]. นิตยสาร a day. กรุงเทพฯ: บจก. เดย์ โพเอทส์: 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2562]. จาก: https://adaymagazine.com/se-samaritans/.
Tohid H. Robin Williams' suicide: a case study. Trends Psychiatry Psychother. 2016;38:178-82. doi:10.1590/2237-6089-2015-0064.
Gtaser BC, Strauss AL. The discovery of grounded theory. Chicago: Aldine; 1967.
Rossouw G, Rossouw G, Smythe E, Greener P. Therapists’ Experience of Working with Suicidal Clients. Indo-Pacific Journal of Phenomenology. 2011;11:1-12. doi:10.2989/IPJP.2011.11.1.4.1103.
นงพงา ลิ้มสุวรรณ, นวนันท์ ปิยะวัฒน์กุล, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. Satir Model. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2550;52:1-6.
Aan het Rot M, Mathew SJ, Charney DS. Neurobiological mechanisms in major depressive disorder. CMAJ. 2009;180:305-13. doi:10.1503/cmaj.080697.
Shyn SI, Hamilton SP. The genetics of major depression: moving beyond the monoamine hypothesis. Psychiatr Clin North Am. 2010;33:125-40. doi:10.1016/j.psc.2009.10.004.
World health organization. International classification of diseases 10th revision (ICD-10). Malta: WHO; 1992.
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders DSM-IV, 4th edition. Washington DC: American Psychiatric Association; 1994.
ศุภชัย ตู้กลาง, อรพรรณ ทองแตง, ธีรศักด์ สาตรา, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร [Factors influencing depression among early adolescents in extended educational opportunity school of Samutsakhon province]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57:283-94.
กุศลาภรณ์ วงษ์นิยม, สุพร อภินันทเวช. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช [The prevalence and associated factors of depression in teenage pregnancy at Siriraj hospital]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59:195-205.
สุพัตรา สุขาวห, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก [Risk factor and suicide theory associated with suicide in adolescents: a narrative reviews]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62:359-78.
มาลินี อยู่ใจเย็น, สุทธานันท์ กัลป์กะ, ศศิวิมล บูรณะเรข, ไขนภา แก้วจันทรา. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าในชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง [A study of factors relating to depressive disorder among people who live in slum in Bangkok]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 2561;34:100-7.
Snyder CR. Handbook of hope theory, measures, and applications. California: Academic Press; 2000.
ดวงมณี จงรักษ์. ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น [Introduction to theory of counselling and psychotherapy]. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2556.
Corey G. Theory and practice of counseling and psychotherapy. Boston MA: Cengage Learning; 2017.
Haas LJ, Benedict JG, Kobos JC. Psychotherapy by telephone: risks and benefits for psychologists and consumers. Professional Psychology: Research and Practice. 1996;27:154–60. doi:10.1037/0735-7028.27.2.154.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย