ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) ในตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • กูลยา โต๊ะรายอ
  • รวิสรา จันทะรัตน์ คณะโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐวดี ศรีเอี่ยม
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรพรรณ ประพัฒน์พงษ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, ภาวะอ้วนลงพุง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 177 คน จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย สถิติทดสอบ Fisher’s exact test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวัยทำงาน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.8 มีอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 42.9 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 74.0 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 58.8 รายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 61.6 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 40.1 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส (p-value=0.032) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุงและการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (p-value<0.001) ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร (p-value=0.003), ด้านวัสดุสิ่งของ (p-value=0.017), ด้านการประเมิน (p-value=0.001)  ดังนั้นควรส่งเสริมการรับรู้อุปสรรคและการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดภาวะอ้วนลงพุง และการรับได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคอาหารแก่ประชาชน

References

1.กฤติกาพร ใยโนนตาด. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุน ทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีโรคเบาหวาน ในภาวะหมดประจำเดือน จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
2.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2561). รายงานประจำปี กรมควบคุมโรค: กลุ่มยุทธศาสตร์แผน และประเมินผลสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
3.เครือข่ายคนไทยไร้พุง. รายงานการดำเนินการฉบับสมบูรณ์:แผนงานรณรงค์ชุดโครงการเครือข่ายคนไทยไร้พุง. กรุงเทพมหานคร, 2550.
4.จันทร์แรม สายสุด และพันธ์ศักด์ ศุกระฤกษ์. (2556). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเม ตาบอลิกซินโดรม ในบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.
5.ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์ และคณะ. (2552). พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทองในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณ สุข, 23(1), 39-50.
6.ณัฐเศรษฐ มนิมนากร และอภิวันท์ มนิมนากร. (2550). การออกกําลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน. วารสาร ศูนย์บริการวิชาการ, 15(1-2), 26-31.
7.ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2541. กรุงเทพฯ: ดีไซน์.
8.ปวีณา ประเสริฐจิตร. (2562). วิถีชีวิตคนเมืองวัยทำงานที่มีผลต่อภาวะอ้วนลงพุง: กรณีศึกษาบุคลากร คณะแพทย์ศาสตร์ วชิรพยาบาล. วชิรเวชสาร และวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(ฉบับเพิ่มเติม), 211-212.
9.ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. (2558). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 10(2), 55-65.
10.พรทิพย์ มาลาธรรม และคณะ. (2554). ความชุกและองค์ประกอบของกลุ่มอาการเมตาบอลิคของประชาชนใน จังหวัดนครสีมา. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 137-148.
11.พรทิพย์ มาลาธรรม และคณะ. (2553). ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่2. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(2), 217-237.
12.พรรณิภา บุญเทียร และจงจิต เสน่หา. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนลงพุงด้วยตนเอง ของผู้ป่วยอ้วนลงพุงในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล ศาสตร์, 35(3), 70-81.
13.พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ. (2558). ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขา เอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
14.พัสตราภรณ์ แย้มเม่น. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้าน สุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
15.ภิเชต เสริมสัย. (2554). การเปรียบเทียบความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่บ้านที่มีและไม่มีการระบาด ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
16.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ. (2556). ความเชื่อด้าน สุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2). 65-85.
17.รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร. (2550). โรคอ้วน. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงพิมพ์.
18.รัชฎา จอปา และคณะ. (2553). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมกลุ่มอาการเมตาบอลิกในประชาชนวัยกลางคน. วารสารการ พยาบาลและสุขภาพ, 4(2). 36-45.
19.ละอองดาว คำชาตา และคณะ. (2560).
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเอง เส้นรอบวงเอว ระดับ
น้ำตาลในเลือด และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และหลอดเลือดในผู้ที่มีกลุ่มอาการเมตาโบลิก.
พยาบาลสาร, 44(2). 65-76.
20.วณิชา กิจวนพัฒน์. (2550). การพัฒนาการโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักเกินของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการสาธารณสุขและการพัฒนา, 8(2). 186-200.
21.วัชรินทร์ วรรณา และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2560). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะน้ำหนัก เกินในอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(4). 359-365
23.วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. (2554). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสภาการพยาบาล , 26 (ฉบับพิเศษ). 129-140.
24.ศุภกานต์ นุสรณ์รัมย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
25.สายสมร พลดงนอก, สรวิเชษฐ์ รัตนชัยวงศ์ และจันทร์จิราภรณ์. ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุง. ขอนแก่น: คลัง นานาวิทยา; 2558
26.สุทธิกานต์ เสพสุข และจรัสพล รินทระ. (2556). ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อการ เปลี่ยนแปลงขนาดรอบเอวของบุคลากรโรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
27.อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2553). แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(2). 309-322.
28.อรทัย ตันกำเนิดไทย และคณะ. 2562. ผลของสารสกัดพลูคาวในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนด้วย อาหารที่มีไขมันสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(5). 461-467.
29.Ford, E. S. (2005). Prevalence of the Metabolic Syndrome Defined by the International Diabetes Federation Among Adults in the U.S. DIABETES CARE. 28(11), 2475-2479.
31.World Health Organization. (1999). Definition, Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus and its Complication. Retrieved 4 September, 2013,from:http://whqlibdoc.who.int/hq/1999/who_ncd_ncs_99.2.pdf
32.Zainuddin, L., et al. (2011). The prevalence of metabolic syndrome according to various definitions and hypertriglyceridemic-waist in malaysian adults. International Journal of Preventive Medicine. 2(4), 229-237.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021