วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน กำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ครั้ง (1 มกราคม - 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม) เป็นบทความที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพชุมชนกับการพัฒนาสุขภาพและนวัตกรรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านสุขภาพ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> tphajan@gmail.com (ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ พาจันทร์) rawin@scphkk.ac.th (นายรวิน จุลสวัสดิ์) Tue, 06 Aug 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/270370 <p>การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 518 คน ประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแก้ไขปัญหา 2) การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3) การทดลองใช้และ 4) ประเมินรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Paired sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) การแปลงปัจจัยนำเข้า 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม ผลการพัฒนาภายหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่าครูกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพเด็กมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านพัฒนาการเด็กและมีภาวะโภชนาการมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมจัดรายการอาหาร (School lunch program) และมีการบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Kid diary program) เพิ่มขึ้นเป็นระดับดีมากทุกแห่ง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินเพิ่มขึ้นทุกแห่ง โดยภาพรวมผลการประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (x ̅=4.33, S.D.=0.36) เพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ควรส่งเสริมให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการจัดการสภาพแวดล้อม เพื่อความปลอดภัย รวมถึงมีการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลเพื่อช่วยประเมินพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการ ควบคู่กับการพัฒนา ครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง อันจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัยและภาวะโภชนาการได้ดียิ่งขึ้น</p> ประดิษฐ์ สารรัตน์, ธารนา ธงชัย, ขนิษฐา นาหนองตูม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/270370 Tue, 06 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเลย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269144 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย (อบจ.) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดเลย สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ 148 คน กลุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพ 16 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูลทั่วไปและการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัด อบจ. ประกอบไปด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด สถิติเชิงอนุมานใช้ สถิติพหุถดถอยพหุโลจิสติกในการประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอน นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR ที่ช่วงเชื่อมั่น 95%CI</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ตัดสินใจถ่ายโอน ร้อยละ 25.68 (95% CI 19.21 to 33.40) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัด อบจ. ได้แก่ การจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ในระดับสูง (AOR = 2.82 ; 95% CI 1.12 to 7.15 p-value =0.029) เมื่อเทียบกับการจูงใจด้านการยอมรับนับถือในระดับต่ำ และการจูงใจด้านความเจริญก้าวหน้าในอนาคตระดับสูง (AOR = 3.58 ; 95% CI 1.42 to 9.05 p-value = 0.007) เมื่อเทียบกับการจูงใจด้านความเจริญก้าวหน้าในอนาคตระดับต่ำ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ด้านการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้ อปท. ยังมีน้อยและไม่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขต้องมีการสนับสนุนให้ขวัญกำลังใจบุคลากรอย่างเต็มที่ และ อบจ. ต้องวางระบบการบริหารจัดการกฎหมายและระเบียบให้ชัดเจน ร่วมกับหน่วยงานด้านการควบคุมมาตรฐานบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ อบจ. ควรเสริมสร้างแรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือและด้านความเจริญก้าวหน้า ด้านตำแหน่งหน้าที่ในอนาคตให้ชัดเจน</p> ธนเดช ธรรมแก้ว, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุพัฒน์ อาสนะ, ปรัชญ์ อินทรศักดิ์สิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269144 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการปัญหาด้านขยะมูลฝอยในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/270171 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการจัดการปัญหาด้านขยะมูลฝอยในชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม เขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลฯ ผู้นำภาคเอกชนและวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียมมีปริมาณขยะมูลฝอย 4 ตันต่อวันโดยส่วนใหญ่เป็นขยะต้นทางที่เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งในช่วงของการระบาดของ Covid-19 มีขยะอันตรายซึ่งรวมถึงขยะติดเชื้อถึง 1.4 ตันต่อวัน โดยแหล่งกำเนิดมาจากหลายส่วน เช่น บ้านเรือน สถานประกอบการ นักท่องเที่ยวและ การลักลอบนำขยะจากที่อื่นมาทิ้งในเขตเทศบาล ทั้งนี้เทศบาลได้ดำเนินการจัดเก็บขยะทุกวันแต่ยังพบปัญหาขยะตกค้างในชุมชนอันเนื่องมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ อีกทั้งพฤติกรรม ของประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะ ซึ่งปัญหาขยะตกค้างนี้นำไปสู่การร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบในชุมชน นอกจากนี้แล้วปัญหาขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การลดลงของนักท่องเที่ยวและรายได้ที่ลดลงของผู้ประกอบการ ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งด้านภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงาม อย่างไรก็ดีการจัดการปัญหาของขยะมูลฝอยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาได้แก่ ผู้นำชุมชน กรรมการชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขในการจัดการขยะในภาคครัวเรือน เช่น การให้ความรู้กับประชาชน การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือนและการทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุบลราชธานียังเข้ามาร่วมอบรมให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย</p> มนัสนันท์ จันทร์พันธ์, สุทิน ชนะบุญ, พิทยา ศรีเมือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/270171 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269797 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 113 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากประชากร 668 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.95 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงอนุมาน โดยการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ และภาพรวมระดับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.72 (S.D.=0.25) และ 2.71 (S.D.=0.22) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.788, p-value &lt;0.001) และ พบว่าตัวแปรอิสระ ทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการลงมือปฏิบัติในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม และด้านความเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีการจัดแผนงานสนับสนุน ด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ สามารถร่วมกันในการพยากรณ์และมีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ได้ร้อยละ 67.9 (R2=0.679, p-value &lt;0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดการสนับสนุนและการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อส่งเสริมการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้ชุมชนร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก</p> ภัฏญากาญจน์ เมินดี, ประจักร บัวผัน, นครินทร์ ประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269797 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติ การรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาลของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้ว ในจังหวัดบึงกาฬ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/271724 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ การรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาลของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้ว ในจังหวัดบึงกาฬกลุ่มตัวอย่างจำนวน 298 คน ที่่ถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ ตอบแบบสอบถามมีโครงสร้างที่ได้รับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาช (Cronbach’s alpha) เทากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.81 ต้องการมีบุตรในอนาคต มีอายุเฉลี่ย 37 ปี (S.D.=8.24) อายุสูงสุด 49 ปี อายุต่ำสุด 20 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 36.91 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 59.06 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 18,158 บาท สูงสุด 90,000 บาท ต่ำสุด 5,000 บาท รายจ่ายเฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 14,531 บาท สูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 4,000 บาท ระดับการรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาล พบว่าอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 34.32 ส่วนใหญ่มีการเข้าถึงบริการด้านการดูแลเด็ก/สถานดูแลเด็ก ในระดับมากร้อยละ 71.81 มีระดับทัศนคติต่อการมีบุตรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.91</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาล เช่น สิทธิในการลดหย่อนภาษี สิทธิในการให้สินเชื่อซื้อหรือซ่อมแซมบ้าน เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้มากขึ้น</p> สมคิด เวสาบรรพต, เกษราวดี คนหาญ, สุกัญญา ฆารสินธุ์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/271724 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันโรคโควิด-19 หลังการระบาดใหญ่สู่การเป็นโรคประจำถิ่น ของนิสิตวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269190 <p>This cross-sectional descriptive research aims to determine the influence on COVID-19 post-endemic prevention among health science students in Burapha University. The number of representatives was 330 people. Data were collected using questionnaires from December 2022 to January 2023 regarding personal factors, knowledge, attitude, perception of risk opportunities, receiving information, and COVID-19 prevention. Descriptive statistics and stepwise multiple linear regression analysis were conducted the data.</p> <p>The results showed that the majority of students had good levels of COVID-19 prevention behaviors (mean=30.80, S.D.=5.00), accounting for 75.20%. The factors affecting the behavior the prevention of COVID-19. among health science students were receiving information (β=0.200, p=0.001) and attitudes (β=0.119, p=0.028) were statistically significant predictors at a significance level of 0.05 at 4.5% (R2adj = 0.045, p-value &lt; 0.001). The results from this study can be applied for campaigning and promoting awareness to continuously emphasize the importance and vigilance for the students.</p> ภาวิณี เกตุพันธ์, ภารดี อาษา, ทัดดาว พาหาทรัพย์อนันต์, มนัสนันท์ พิบาลวงค์, ทิษฏยา เสมาเงิน, นริศรา ชาญณรงค์, รจฤดี โชติกาวินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269190 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273985 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 122 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ค่าแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.78 และ เท่ากับ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ<br />สเปียร์แมน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.44, S.D. = 0.47) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมโดยรวมอยู่ในระดับ<br />ปานกลาง (x̄ = 3.32, S.D. = 0.58) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.500 ; p-value &lt; 0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางสาธารณสุขและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุขภาพ ควรจัดอบรมให้ความรู้หรือให้สุขศึกษาแก้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่องและมีการส่งเสริมการปฏิบัติตัวและพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุและสอดแทรกนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสมองที่ดีขึ้น ต่อไป</p> ประทีป กาลเขว้า, ชนาภา จันสุระ, วัลวิกา สระทองบ้อง, เบญญาภา กาลเขว้า Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273985 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสูงอายุ จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/271736 <p>รูปแบบงานวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง อายุ 60 ปี ขั้นไป ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 720 คน เครื่องมือวิจัย 1) แบบสอบคุณภาพชีวิตของ องค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 2) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับรูปแบบและการดำเนินงาน ผู้ดูแล โรงเรียนผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติ Pearson chi-square ผลการวิจัยพบว่า อาชีพและผู้ดูแลหลักมีความสัมพันธ์กับระดับกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) รายได้ การอยู่อาศัย โรคประจำตัว ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL index) และการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.01) ส่วนเพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับระดับกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในทุกด้าน แต่มีการดำเนินงาน 2 ตำบล ซึ่ง 1 ตำบล เป็นการดำเนินการระยะเริ่มต้น การเบิกจ่ายงบประมาณยังไม่ชัดเจน ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ส่วนบทบาทหน้าที่ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุและครอบครัว</p> <p>ข้อเสนอแนะ: ควรมีการนโยบายส่งเสริมด้านสัมพันธภาพทางสังคมและทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการสนับสนุนการทำงานของผู้ดูแล มีโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> พรภัทรา แสนเหลา, สุวารี ทวนวิเศษกุล, ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, ศรีงามลักษณ์ ศรีปวริศร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/271736 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบและแนวทางการลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/272009 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและแนวทางการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและลดผลกระทบทางด้านสุขภาพในเกษตรกร ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มเกษตรกร จำนวน 14 คน กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 12 คน และ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานอื่น จำนวน 3 คน&nbsp; เก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากต้องการความสะดวกสบาย ต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาที่รวดเร็ว อีกทั้งประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในครัวเรือน ส่วนผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช&nbsp; พบว่า ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นด้านเดียวที่ให้ผลในเชิงบวก คือ ทำให้เกษตรกรมีผลประโยชน์โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกระทบทางด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ให้ผลในเชิงลบ นอกจากนี้เกษตรกรก็ยังขาดความตระหนักรู้และยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง แรงจูงใจหลักที่จะทำให้เกษตรกรมีการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้หลักๆ คือ ผลกระทบทางด้านสุขภาพทั้งที่เกิดกับตัวเกษตรกรเองและกับบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้แนวทางการลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรมีการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การผลักดันนโยบายและแผนงานที่จริงจัง ชัดเจน และเป็นแนวทางเดียวกันทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการร่วมกันจัดการปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช</p> เนตรนภา มาตรวังแสง, สุทิน ชนะบุญ, พิทยา ศรีเมือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/272009 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการนวดออกซิโตซินต่อปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273253 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดออกซิโตซินต่อปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด รูปแบบการวิจัย (Quasi experimental with control group design) และวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest and posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลพิจิตร ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 คน บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูล<br />ทางสูติศาสตร์ ข้อมูลทารกและแบบประเมินความเครียดของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ เปรียบเทียบปริมาณน้ำนมตามระยะเวลาหลังคลอด ความพอเพียงของปริมาณน้ำนมเทียบกับน้ำหนักทารกหลังคลอด จำนวนปัสสาวะและจำนวนอุจจาระของทารกหลังคลอด ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณน้ำนมในระยะ 2-3 ชม.แรกไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมใน ระยะ 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงหลังคลอด ของมารดากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 00.000 และ 00.000 ขณะที่น้ำหนักของทารกหลังคลอดใน 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบความพอเพียงของน้ำนมกับจำนวนปัสสาวะในระยะ 24 ชั่วโมง.และ 48 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.002 และ 00.001 จำนวนอุจจาระใน 24 ชั่วโมงแรก และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.021 และ 00.000 จะเห็นได้ว่าการนวดออกซิโตซินมีผลให้มีการหลั่งน้ำนมเร็วและมีปริมาณเพิ่มขึ้น ควรเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นได้นำไปใช้ และเป็นทางเลือกของมารดาหลังคลอดในการกระตุ้นการหลั่งและเพิ่มปริมาณน้ำนม</p> สุมาลี จุลพันธ์, สิริยาภรณ์ เจนสาริกา, จันทิมา นวะมะวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273253 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 หลักการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ โดยวิธี Rapid Entire Body Assessment (REBA) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/272558 <p>การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์เป็นกระบวนการสำคัญในการวิเคราะห์และป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสม Rapid entire body assessment (REBA) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ประเมินความเสี่ยงในการทำงานโดยมุ่งเน้นการประเมินท่าทางของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ Rapid entire body assessment (REBA) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ประเมินสามารถประเมินท่าทางการทำงานของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษหรือความรู้เฉพาะทางในการประเมินมากนัก เครื่องมือนี้ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินทั้งท่าทางการทำงานของร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง รวมถึงการเคลื่อนไหวและการทำงานที่ซับซ้อน</p> <p>หลักการของ Rapid entire body assessment (REBA) คือการแยกการประเมินออกเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ, ไหล่, แขน, หลัง, ขา และข้อมือ จากนั้นผู้ประเมินจะให้คะแนนท่าทางในแต่ละส่วนตามระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ และนำคะแนนมาคำนวณรวมกันเพื่อหาค่าความเสี่ยงรวมของท่าทางการทำงานนั้น ๆ การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ โดยวิธี Rapid entire body assessment (REBA) ช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน สามารถระบุและปรับปรุงท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในระยะยาว</p> วรพล สงชุม, ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช, เสรีย์ ตู้ประกาย, นันท์นภัสร อินยิ้ม, โกวิท สุวรรณหงษ์, วัฒนา จันทะโคตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/272558 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 สถิติสำหรับสำหรับเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการให้สิ่งแทรกแซงในงานวิจัยเชิงทดลอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269028 <p>งานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสิ่งแทรกแซง และไม่ได้รับสิ่งแทรกแซงที่กำหนด รวม 2 กลุ่ม มีการวัดผลซ้ำก่อนหลังเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง จะได้ผลลัพธ์ทั้งสิ้น 4 ตัวแปร สำหรับการใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสร้างความสับสนแก่ผู้วิจัยอย่างมากเนื่องจากมีการเปรียบเทียบความแตกต่างในกลุ่มเดียวกัน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ซึ่งสถิติที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่องคือการวิเคราะห์แปรปรวนร่วม (analysis of covariance; ANCOVA)</p> หัฎฐกร สำเร็จดี, สิรวิชญ์ สนโศก Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/269028 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700