วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน กำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ครั้ง (1 มกราคม - 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม) เป็นบทความที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพชุมชนกับการพัฒนาสุขภาพและนวัตกรรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านสุขภาพ</p> วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น th-TH วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2651-1193 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/262590 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้ เพื่อศึกษาสุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 331 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ข้อคำถามทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่าง 5 ธันวาคม 2565 - 5 มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยค่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับสุนทรียะทักษะภาวะผู้นำ การสนับสนุนจากองค์การ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.34 (S.D.= 0.26), 4.16 (S.D.= 0.22) และ 4.14 (S.D.= 0.22) ตามลำดับ ภาพรวมสุนทรียะทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.786, p-value &lt;0.001 และ r=0.721, p-value &lt;0.001) และพบว่าตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปร ได้แก่ สุนทรียะทักษะภาวะผู้นำด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการสอนงาน ด้านการสื่อสาร และการสนับสนุนจากองค์การด้านวิธีการดำเนินการ และด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ได้ร้อยละ 73.5 (R<sup>2</sup> = 0.735, p-value &lt;0.001) และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่มีผลให้การปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย และหัวใจสำคัญในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุข คือ การบริการ</p> อริญรดา ธนารัชต์ชญาดา ประจักร บัวผัน สุรชัย พิมหา Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 6 2 1 13 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/263132 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 330 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรอยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในส่งเสริมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ</p> วาสนา แสนแซว ผกามาศ แสงจันทร์ นิวัฒน์ ทรงศิลป์ สุรีย์วรรณ สีลาดเลา กนกพร สมพร วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 6 2 14 24 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/263502 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 34,142 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 13 คน แบบสอบถาม ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการอการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สรุปแล้วแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อสรุปประเด็นเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเหตุผลในประเด็นที่ศึกษา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยทางการบริหาร และการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.56 (S.D. = 0.26), 2.62(S.D. = 0.28) และ 2.67 (S.D. = 0.28) ตามลำดับ โดยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (r=0.736, r=0.792, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการจัดการตนเอง ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา และปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 82.5 (R2=0.825, p-value&lt;0.001) และผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใน 5 ประเด็นที่สำคัญ คือ การวางแผน การควบคุมกำกับ การสื่อสาร และ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ ควรมีการควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพรวมทั้งพัฒนาทักษะด้านการบริหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชน</p> พริษฐ์ พลเยี่ยม ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 25 39 กระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/263873 <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพตำบลโคกสำราญ จำนวน 56 คน ประกอบด้วย ภาคการเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม และ 2) กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน - หลังพัฒนากระบวนการ ด้วยสถิติ Wilcoxon sign rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ในการขับเคลื่อนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนมี 8 กิจกรรมประกอบด้วย1) Situation Analysis: การศึกษาบริบทชุมชน และการวิเคราะห์ปัญหา 2) Community Planning: การจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน 3) Knowledge: การอบรมให้ความรู้ 4) Awareness: การสร้างความตระหนักรู้ 5) Health Assembly: การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมโดยสมัชชาสุขภาพตำบล 6) Follow-up: การเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงาน 7) Evaluation: การประเมินผล และ 8) Lesson Learned: การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน ผลการประเมินกระบวนการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วม ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการศึกษากระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบลของตำบลโคกสำราญ เรียกว่า “SPEC” ประกอบด้วย <br />1) Structure: การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพตำบล ตามบริบทของพื้นที่ <br />2) Participation: การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน 3) Evaluation: การประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน และ 4) Communication: การสื่อสารในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนให้เป็น “ตำบลจัดการมูลฝอยติดเชื้อยั่งยืน” ต่อไป</p> ณัฐิวุฒิ จันตะแสง เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 40 53 การพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/263978 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบ และการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม <br />คือ กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ จำนวน 9 คน และผู้ป่วยที่เคยมารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ จำนนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง<br />ทั้ง 2 กลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และเป้าหมายเชิงปริมาณคัดเลือกแบบเจาะจง คือผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะเวลาดำเนินการคือเดือนตุลาคม 2564 ถึง ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ คือ “PPS MODEL หมายถึง” P: Patient focus การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง P: Professional standard ให้บริการตามมาตรฐาน และ S: System perspective การทำงานเชิงระบบ และการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 93.3 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 6.7 โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) และมีความพึงพอใจในระดับดี ร้อยละ 93.3 สรุปได้ว่ารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้บริการผู้ป่วยเพื่อให้เกิดคุณภาพในการให้บริการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยต่อไป</p> กนกกาญจน์ เถื่อนโยธา ปิยะพันธ์ สาสุข จิรายุ สุกใสย Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 54 65 การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวตามแนวคิดการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ แบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/264317 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ตามแนวคิดการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง<strong> </strong>เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิทั้งในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของอำเภอสารภี จำนวน 61 คน รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 212 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในแต่ละด้านด้วยสถิติไคสแควร์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ประเด็นร่วม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านบุคลากร ภาพรวมระดับคุณภาพของกระบวนการจัดบริการ อยู่ในระดับ A คือการจัดทำระบบข้อมูลการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ร้อยละ 34.43 รองลงมา คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัว ร้อยละ 27.05 ระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการ การทำความเข้าใจต่อหลักการจัดบริการครบห้าองค์ประกอบ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 6.71 (S.D.=1.97) และพบว่า ความพึงพอใจบริการที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ผู้รับบริการได้รับบริการจากหมอครอบครัวคนเดิมทุกครั้งมีความสัมพันธ์กับหน่วยบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ด้านการดูแลของโรคเรื้อรัง พบว่า มากที่สุด คือด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( =4.56, S.D. = 0.78)</p> <p>ผลการประเมินเพื่อนำสู่การพัฒนา ได้แก่ 1) การวางแผนกลยุทธ์ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน 2) จัดสรรภาระงานให้เหมาะสมกับปริมาณคนและงาน 3) ปรับรูปแบบการทำงานให้ดีขึ้นทั้งกระบวนการคิด การทำงาน กระบวนการ เครื่องมือ และการวัดผล 4) ส่งเสริมให้บุคลากรมีความมุ่งนั่น แน่วแน่ เสริมสร้างแรงจูงใจที่ดี 5) ให้บริการโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 6) สร้างความรักความผูกพันของคนในองค์กร และ 7) พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง</p> ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ ยงยุทธ แก้วเต็ม กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 66 84 คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอย ในครัวเรือนของประชาชน ในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/262710 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนของครัวเรือนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 27,266 ครัวเรือน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.90 และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.22 (S.D.=0.48) และภาพรวมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.38 (S.D.=0.40) โดยอายุและภาพรวมปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับต่ำเชิงลบและระดับปานกลางกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.271, p-value&lt;0.001 และ r=0.557, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลาในการปฏิบัติงาน คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ และปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 36.0 (R<sup>2</sup>= 0.360, p-value&lt;0.001)</p> สุนิศา โสภาบับ สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 85 96 แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/262618 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 227 คน สุ่มแบบเป็นระบบ ได้จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ถึง วันที่ 14 ธันวาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับแรงจูงใจ ระดับการสนับสนุนจากองค์การ และระดับการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.82, (S.D=0.37), 3.88 (S.D.=0.44) และ 4.00 (S.D.=0.37) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับสูงและระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.742, p-value&lt;0.001) และ (r=0.670, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปร 3 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยค้ำจุนด้านสถานภาพของวิชาชีพ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 67.1 (R<sup>2</sup>=0.671, p-value&lt;0.001)</p> ภณิตา เภตรายนต์ ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 97 111 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/262500 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 14,494 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไปและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการสุขภาพ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.43 (S.D. = 0.40), 2.56 (S.D.=0.37) และ2.65 (S.D.=0.34) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมการสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ระดับสูงและระดับปานกลางกับการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น (r=0.865, r=0.535, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระ ทั้ง 4 ตัวได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ ด้านสิ่งของ ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการประเมินมีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ได้ร้อยละ 76.4 (R<sup>2</sup>=0.764, p-value&lt;0.001)</p> <p>ดังนั้น เทศบาลนครขอนแก่นควรมีแนวทางการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการให้คำชมเชยและเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพตนเองต่อผู้สูงอายุอื่นในชุมชน</p> พร้อมเพรียง มาศรี มกราพันธุ์ จูฑะรสก ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 112 126 ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพต่อความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/255697 <p>ความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ มีความจำเป็นต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยส่งผล ต่อการเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมโรคและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพต่อความสามารถในการจัดการตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีค่าน้ำตาลสะสมตั้งแต่ 7 ขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน รวม 50 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุม จะได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพเพื่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ แบบสอบถามความสามารถในการจัดการตนเอง และแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามทดสอบค่า IOC เท่ากับ 0.67 ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ของโปรแกรมโดยใช้สถิติ paired t-test และ ระหว่างกลุ่มใช้ Independent sample t-test ระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการตนเองดีกว่าก่อนการทดลอง และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในเลือดมีระดับต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการตนเองได้ดีกว่า และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกต่อไป</p> วิภาพร สิทธิสาตร์ วิภาพร สุวรรณกิจ จันทิมา นวะมะวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 127 138 คุณลักษณะส่วนบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/262591 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2,353 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.96 และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 20 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับวัฒนธรรมองค์กรและระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.12 (S.D.=0.54) และ 4.22 (S.D.=0.42) ตามลำดับ โดยอายุและภาพรวมวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์ระดับต่ำและสูงกับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.226, p-value=0.005 และ 0.815, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรและด้านตัวประสานองค์กร ด้านเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ และด้านคุณลักษณะเด่นขององค์กร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 67.5 (R<sup>2</sup> = 0.675, p-value&lt;0.001)</p> วริษา เศรษฐวิวัฒน์ สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 139 150 คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/263422 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 167 คน สุ่มอย่างง่ายได้จำนวนตัวอย่าง 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 12 คน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 23 มกราคม ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74 (S.D.=0.33) และ3.79 (S.D.=0.45) ตามลำดับ โดยพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส(โสด),ตำแหน่ง(นักวิชาการสาธารณสุข)<br />มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและระดับต่ำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.622,r=0.347, p-value &lt;0.001 และ r=0.202, p-value=0.017) ตามลำดับ ในขณะที่คุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน อายุ รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์เชิงผกผันในระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (r=-0.491, r=-0.489, และ r =-0.454, p-value &lt;0.001) ตามลำดับ และตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ ได้ร้อยละ 47.6 (= 0.476, p-value &lt;0.001)</p> อารีรัตน์ โสวิชัย ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 6 2 151 165