จริยธรรมการตีพิมพ์

มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health)

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

บรรณาธิการควรรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รวมถึง:

  1. ดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้นิพนธ์
    • ปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
    • รับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์
    • สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
    • รักษาความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
    • ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
    • แก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดถอนบทความ และการขออภัยหากจำเป็น
  2. หน้าที่ต่อผู้อ่าน
    • แจ้งผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยและบทบาทของผู้ให้ทุนวิจัยในการทำวิจัยนั้นๆ
  3. หน้าที่ต่อผู้นิพนธ์
    • มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์
    • ตัดสินใจการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยตามคุณภาพและความสำคัญ
    • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review)
    • มีช่องทางให้อุทธรณ์หากมีความคิดเห็นแตกต่าง
    • จัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์และปรับปรุงให้ทันสมัย
    • ไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความโดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม
  4. หน้าที่ต่อผู้ประเมินบทความ
    • จัดพิมพ์คำแนะนำและปรับปรุงให้ทันสมัย
    • ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
  5. กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ
    • รักษาความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
  6. การร้องเรียน
    • ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดและตอบกลับคำร้องเรียนทันที
  7. การสนับสนุนการอภิปราย
    • เปิดเผยคำวิจารณ์บทความและให้โอกาสผู้นิพนธ์ชี้แจงตอบกลับ
    • รวมผลการวิจัยที่มีผลขัดแย้งหรือเป็นลบ
  8. สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ
    • ทำให้มั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยถูกต้องตามหลักจริยธรรม
    • หาหลักฐานเพื่อมั่นใจว่างานวิจัยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการที่มีอำนาจ
  9. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    • ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  10. การติดตามความประพฤติมิชอบ
    • ติดตามความประพฤติมิชอบในกรณีเกิดข้อสงสัย
  11. การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
    • แก้ไขความไม่ถูกต้องในบทความวิชาการที่ตีพิมพ์แล้ว
    • เพิกถอนบทความที่ประพฤติทุจริต
  12. ความสัมพันธ์กับเจ้าของวารสารและสำนักพิมพ์
    • ยึดหลักความเป็นอิสระในการตัดสินใจ
  13. ประเด็นพิจารณาที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
    • ประกาศนโยบายการโฆษณาที่เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของวารสาร
  14. ผลประโยชน์ทับซ้อน
    • มีระบบจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรณาธิการและผู้เกี่ยวข้อง
  15. กระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการ
    • ข้อร้องเรียนควรส่งมาให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์พิจารณาหลังจากผ่านกระบวนการภายในวารสารแล้ว

ขั้นตอนการอุทธรณ์

  • ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ได้
  • ขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ มีดังนี้:
  1. แจ้งความประสงค์: ผู้ร้องเรียนแจ้งความประสงค์ในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
  2. ขอรายละเอียด: ร้องขอรายละเอียดของผู้ที่ต้องติดต่อในการอุทธรณ์จากคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
  3. จัดเตรียมเอกสาร: เตรียมเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อใช้ในการอุทธรณ์
  4. ส่งเอกสาร: ส่งเอกสารและหลักฐานทั้งหมดไปยังผู้ที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินการอุทธรณ์
  5. รอผลการพิจารณา: รอผลการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

ปรับปรุงจาก https://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf