https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2024-08-06T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ พาจันทร์ tphajan@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน กำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ครั้ง (1 มกราคม - 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม) เป็นบทความที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพชุมชนกับการพัฒนาสุขภาพและนวัตกรรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านสุขภาพ</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/270370 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย 2024-04-22T09:28:48+07:00 ประดิษฐ์ สารรัตน์ praditsararat@gmail.com ธารนา ธงชัย rangsaug@hotmail.com ขนิษฐา นาหนองตูม yee_khanidtha@hotmail.com <p>การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 518 คน ประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแก้ไขปัญหา 2) การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3) การทดลองใช้และ 4) ประเมินรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Paired sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) การแปลงปัจจัยนำเข้า 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม ผลการพัฒนาภายหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่าครูกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพเด็กมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านพัฒนาการเด็กและมีภาวะโภชนาการมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมจัดรายการอาหาร (School lunch program) และมีการบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Kid diary program) เพิ่มขึ้นเป็นระดับดีมากทุกแห่ง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินเพิ่มขึ้นทุกแห่ง โดยภาพรวมผลการประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (x ̅=4.33, S.D.=0.36) เพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ควรส่งเสริมให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการจัดการสภาพแวดล้อม เพื่อความปลอดภัย รวมถึงมีการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลเพื่อช่วยประเมินพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการ ควบคู่กับการพัฒนา ครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง อันจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัยและภาวะโภชนาการได้ดียิ่งขึ้น</p> 2024-08-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน