การวิจัยปฏิบัติการ นี้ใช้วงจร PAOR : ขั้นวางแผน, ขั้นปฏิบัติ, สังเกตการณ์ และสะท้อนผล 4 ขั้นตอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และขยายผลการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สู่ชุมชนอื่น กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐบาล ชุมชนแผ่นดินทองอินดารุลมีนา และมูลนิธิอาสาหนองจอก (ศูนย์ราชพฤกษ์) จำนวน 22 คน ระยะเวลาศึกษา ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวงจร PAOR 4 ขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า การผลักดันและพัฒนานโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในพื้นที่โดยการพัฒนาศักยภาพครู และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปขยายผลถ่ายทอดให้กับประชาชน และเด็กในพื้นที่อื่น ๆ เป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และเกิดรูปแบบความสัมพันธ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จนเกิดเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่มีลักษณะ ดังนี้ 1. มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ตรงกัน 2. การใช้ทรัพยากรที่พึ่งพากันและกัน 3. การร่วมระดมความคิดและรวมวางแผนในการทำงานร่วมกัน 4. การใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกัน 5. โครงสร้างและกลไกการทำงานประสานการติดต่อสื่อสาร 6. การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และ7. การประเมินผลร่วมกัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐบาล ควรสนับสนุนการใช้กลไกระดับชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เช่น มูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารประโยชน์ ผู้นำศาสนา และประธานชุมชน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเสริมการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนด้านอื่น ๆ ซึ่งบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้มีบทบาทในการปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย เมื่อจะต้องอาศัยทรัพยากรสนับสนุนในการช่วยเหลือ

Main Article Content

ไมลา อิสสระสงคราม
Uraiwan Nuttayothin
Sukanda Sulaiman

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการ นี้ใช้วงจร PAOR : ขั้นวางแผน, ขั้นปฏิบัติ, สังเกตการณ์ และสะท้อนผล 4 ขั้นตอน               มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และขยายผลการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สู่ชุมชนอื่น กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐบาล  ชุมชนแผ่นดินทองอินดารุลมีนา  และมูลนิธิอาสาหนองจอก (ศูนย์ราชพฤกษ์)  จำนวน 22 คน ระยะเวลาศึกษา ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวงจร PAOR  4 ขั้นตอน  ผลการศึกษา พบว่า การผลักดันและพัฒนานโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในพื้นที่โดยการพัฒนาศักยภาพครู และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปขยายผลถ่ายทอดให้กับประชาชน และเด็กในพื้นที่อื่น ๆ เป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ  ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  และเกิดรูปแบบความสัมพันธ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จนเกิดเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่มีลักษณะ ดังนี้                  1. มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ตรงกัน 2. การใช้ทรัพยากรที่พึ่งพากันและกัน 3. การร่วมระดมความคิดและรวมวางแผนในการทำงานร่วมกัน 4. การใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกัน  5. โครงสร้างและกลไกการทำงานประสานการติดต่อสื่อสาร 6. การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และ7. การประเมินผลร่วมกัน  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐบาล ควรสนับสนุนการใช้กลไกระดับชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เช่น  มูลนิธิ  สมาคม องค์กรสาธารประโยชน์     ผู้นำศาสนา และประธานชุมชน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเสริมการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนด้านอื่น ๆ ซึ่งบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้มีบทบาทในการปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย เมื่อจะต้องอาศัยทรัพยากรสนับสนุนในการช่วยเหลือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มป้องกันการจมน้ำ กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในปี พ.ศ. 2555 -2564. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2566;54:143-47.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2023. ระบบรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 มี.ค. 2567]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก

https://dip.ddc.moph.go.th/drowningdashboard/public/sat?ct=heJuRfZXhtOZRBqwpJlv/A==&iv=514147d94cdd9d8ed8b8f26fb0b2f62f&s=617044599ec5b632

กรมควบคุมโรค, กองป้องกันการบาดเจ็บ, กลุ่มป้องกันการจมน้ำ. ข้อมูลสุขภาพ (Health Data). นนทบุรี: กลุ่มป้องกันการจมน้ำ กองป้องกันการบาดเจ็บ; 2566.

สุชาดา เกิดมงคลการ. การป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กเล็ก[Fact Sheet]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2023. แนวทางประเมินผู้ก่อการดี การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ (MERIT MAKER Plus) ปี 2566; 2565 [ปรับปรุงเมื่อ พ.ย. 2565; เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2567]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1343820221228074828.pdf

พิทยา โปสี, พัดชา หิรัญวัฒนกุล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารสหเวชศาสตร์ 2565;7(1):71-81.

กิรณา เอี่ยมสำอางค์, สิริลักษณ์ บัวเย็น, สมชัย จิรโรจน์วัฒน. การสร้างและขยายให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กตกน้ำจมน้ำ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(6):975-983.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์ฮาวทู; 2564.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอน. นนทบุรี:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.