ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 60-69 ปี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พญ.สุธี สฤษฎิ์ศิริ
วรรณีย์ จิรอังกูรสกุล
ธิติยา มีชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อวัดระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับภาวะสุขภาพ ของผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยต้น จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2566 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสเปียร์แมนในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผลการศึกษา ผู้สูงอายุมีอายุเฉลี่ย 64.1+2.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรีและมัธยมศึกษา/ปวช. โรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ร้อยละ 21.7, 15.3 และ 10.3 ตามลำดับ มีระดับความรู้และทัศนคติ ระดับดี ร้อยละ 91.0 และ 75.3 ตามลำดับ และพฤติกรรมระดับปานกลาง ร้อยละ 52 คะแนนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กันทางบวก (r=0.26) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่แปรผกผันกับพฤติกรรม (r=-0.02, -0.03, p>0.05)  สำหรับภาวะสุขภาพที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คะแนนความรู้แปรผันตรงกับเอชดีแอลคลอเรสเตอรอลและแปรผกผันกับระดับไตรกรีเซอไรด์ (r=0.12, r=-0.14, p < 0.05) คะแนนพฤติกรรมแปรผันตรงกับระดับเอชดีแอลคลอเรสเตอรอล (r=0.16, p < 0.05) พบว่ากลุ่มที่มีคะแนนความรู้ระดับดีมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร ไตรกรีเซอไรด์น้อยกว่าและเอชดีแอลคลอเรสเตอรอลมากกว่ากลุ่มความรู้ระดับปานกลางถึงต่ำ กลุ่มที่คะแนนทัศนคติระดับดีมีค่าดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารต่ำกว่ากลุ่มทัศนคติระดับปานกลางถึงต่ำ กลุ่มที่มีคะแนนพฤติกรรมระดับดีมีค่าไตรกรีเซอไรด์ต่ำกว่าและเอชดีแอล คอเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มพฤติกรรมระดับปานกลางถึงต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพควรส่งเสริมการแปลผลภาวะสุขภาพ ความรู้การดำเนินโรค อาการ และภาวะแทรกซ้อน เพิ่มทัศนคติที่ดีในการดูแลตนเองรวมถึงให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหาอาหารที่เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็มให้ผู้สูงอายุ ท้องถิ่นควรมีนโยบายสาธารณะในการจัดการปัจจัยสุขภาพ เช่น เข้าถึงแหล่งอาหารสุขภาพได้ง่าย และมีสถานที่ในการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

United Nations, Department of Economic and Social Affairs [Internet]. New York City: United Nations; c2020. World Population Ageing 2020 Highlights; 2020 [cited

Jan 15]; [about 2 screens]. Available from: https://www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development.desa.pd/files/files/documents/2020/Sep/un_pop_2020_pf_ageing_10_key_messages.pdf

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2560.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2564.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2544.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12, กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Stretcher V, Rosenstock I M. The health belief model. In: Glanz K, Lewis FM, Rimer BK, editors. Health behavior and health education: Theory, Research and Practice. 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass; 1997. P. 41-59.

Saritsiri S. Health Status of the Elderly in primary care, Bangkok. Institute for Urban Disease Control and Prevention Journal. 2020;5(1):63-82.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่๓ (พ.ศ. 2566-2580) กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2562.

Bandura A. Social learning theory. NJ: Prentice Hall Englewood Cliffs; 1977.

Pourhoseingholi MA, Vahedi M, Rahimzadeh M. Sample size calculation in medical studies. Gastroenterol Hepatol Bed Bench. 2013 Winter;6(1):14-7.

Wittes J. Sample size calculations for randomized controlled trials. Epidemiol Rev. 2002;24(1):39-53.

Samuel BB, Thomas H, George FM. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

อัญชลี สามงามมี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:186561

Chumkaew K, Rungsayatorn S. Knowledge, Attitude, and Food Consumption Behavior of the Elderly in Songkhla Province. Kasetsart Journal of Social Sciences. 2014;35(1):16-29.

Lalun A, Vutiso P. Factors predicting stroke preventive behaviors of hypertensive patients at Na Fai Sub-district Health Promoting Hospital in Chang Wat Chaiyaphum. Thai Journal of Nursing. 2021;70(2):27-36.

วิรุตติ์ วิเชยันต์. ความรู้เเละทัศนคติต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงขอบอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://repository.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/39436/3/FULL.pdf

Verma A, Mehta S, Mehta A, Patyal A. Knowledge, attitude and practices toward health behavior and cardiovascular disease risk factors among the patients of metabolic syndrome in a teaching hospital in India. J Family Med Prim Care. 2019 Jan;8(1):178-83.

Kaewjongprasit P. A study of factors related to health behaviors of people with risk of Diabetes in Uthaithani. Journal of MCU Nakhondhat. 2023;10(10):327-36.

ชญาภา วรพิทยาภรณ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นพวรรณ พินิจขจรเดช. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุุที่มีโรคไตเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2564;27(1):81-95.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2564.

Toyama T, Kitagawa K, Oshima M, Kitajima S, Hara A, Iwata Y, et al. Age differences in the relationships between risk factors and loss of kidney function: a general population cohort study. BMC Nephrol. 2020 Nov 13;21(1):1-9.

Ahmad S, Ahmad T. Assessment of knowledge, attitude and practice among diabetic patients attending a health care facility in North India. Indian Journal of Basic and Applied Medical Research. 2015;4(3):501-9.

Mirmiran P, Mohammadi-Nasrabadi F, Omidvar N, Hosseini-Esfahani F, Hamayeli-Mehrabani H, Mehrabi Y, et al. Nutritional knowledge, attitude and practice of Tehranian adults and their relation to serum lipid and lipoproteins: Tehran lipid and glucose study. Ann Nutr Metab. 2010;56(3):233-40.