ปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Supaluk Phunthong
ธนพร วรรณกูล
สุพร พริ้งเพริศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปัจจัยทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางสุขภาพ                 ในการป้องกันการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ 0.97 และได้ค่าความเชื่อมั่น (KR 21)ของแบบสอบถามทัศนคติต่อกัญชา แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชา และแบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันการใช้กัญชา เท่ากับ 0.89, 0.92 และ 0.97 ตามลำดับ  เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันการใช้กัญชามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ตัวแปรที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ทัศนคติต่อกัญชา (β =0.475 p<0.001) และรายได้ต่อเดือน (β =0.200 p=0.027) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 24.60 (R2=0.246 p= 0.027) มีข้อเสนอแนะว่า ควรเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันการใช้กัญชา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report 2022. Austria: Unites nations publication; 2022.

United Nations Office on Drugs and Crime [Internet]. Vienna: Research and Analysis Branch; c2021. Prevalence of drug use- regional and global estimates; 2021 [cited 2023 June 28]; [about 1 p.]. Available from: https://dataunodc.un.org/dp-drug-use-prevalence-regional

United Nations Office on Drugs and Crime [Internet]. Vienna: Research and Analysis Branch; c2020. Annual prevalence of the use of cannabis in the population aged 15-16; 2020. [cited 2023 June 28]; [about 1 p.]. Available from: www.unodc.org/res/WDR-2023/annex/1.3_Prevalence_of_cannabis_use_in_the_population_1516_regional_and_global_estimates.xlsx

United Nations Office on Drugs and Crime [Internet]. Vienna: Research and Analysis Branch; c2020. Ranking of drug groups in order of prevalence; 2020 [cited 2023 June 28]; [about 1 p.]. Available from: www.unodc.org/res/wdr2022/MS/Statistical%20Annex/1.1_-_Prevalence_of_drug_use_in_the_general_population_regional_and_global_estimates.xlsx

กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพ: กระทรวงยุติธรรม; 2564.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่ 7). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 19 ก (ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562).

กระทรวงสาธารณสุข, คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000;15(3):259-67.

Gray RJ, Grove KS, Sutherland S. Burns and Grove’s The Practice of Nursing Research appraisal, synthesis and generation of evidence. 8th ed. Missouri: Elsevier. 2017.

สมฤกษ์ กาบกลาง, ปรางวิลัย ดีโสพามาตร, สุนิสา บุญญานุสนธิ์, พัชราภา จันทร์ทวี, ศิริพรรณ ขันบุรี, ปนัดดา ดีรักษา, และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 2565;12(1):96-105.

Lattanand K, Ninwatcharamanee C. Health Literacy of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2019;35(1):277-289.

Klanarong A, Pakdevong N. Predicting Factors of Health Literacy among Nursing Students. APHEIT Journal of Nursing and Health [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 2];5(3):1-17. Available from: https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ajnh/article/view/3267/2501

ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์, ญาดาวี เซ็นเชาวนิจ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์. ใน: ภุชงค์ เสนานุช. บรรณาธิการ. สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อกความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563. น. 211-22.

Panomai N, Vajrathorn T, Phajan T, Charoencheewakul C. Health literacy on medical cannabis use among cancer patients in the northeast of Thailand. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office. 2022;8(1):49-67.

Lhekkan S, Dallas JC, Vatanasin D. Predictive factors of smoking avoidance behaviors among male students of extended educational opportunity schools. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2022;30(3):13-27.

Bhatt N, Calhoun C, Hodges JR, Nwosu C, Kang G, King AA, et al. Evaluation of Factors Influencing Health Literacy in Adolescents and Adults with Sickle Cell Disease. Blood. 2019;134(Supplement_1):2110.

Mongkolmoo S, Toonsiri C, Homsin P. Factors Related to Health Literacy for Hypertension Prevention among High-risk Individuals in Nadee District, Prachinburi Province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 2022;17(2):168-75.

Ziapour A, Ebadi Fard Azar F, Mahaki B, Mansourian M. Factors affecting the health literacy status of patients with type 2 diabetes through demographic variables: A cross-sectional study. J Educ Health Promot. 2022 Sep 28;11:1-10.

Idham A. Factors Affecting the Men’s Health Literacy in Malaysia. Sage Science Review of Educational Technology. 2022:5(1):21-38.