ถอดบทเรียนความสำเร็จหลักการบริหารตามโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

Main Article Content

Pipatpong Thananithijarukorn

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการ POSDCoRB  ซึ่งเป็นหลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จหลักการบริหารตามโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ทำการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีลักษณะเป็นตัวแทนของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองที่ปฏิบัติงานภายใต้โครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 25 คน ระยะเวลาทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านกิจกรรมการถอดบทเรียนระหว่างวันที่  16-24 มกราคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามกระบวนการจัดการ POSDCoRB  ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการภาวะวิกฤตโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ คือ การนำระบบบัญชาการเหตุการณ์ มาใช้ร่วมกับการกระจายอำนาจแบบเครือข่าย การควบคุมสั่งการที่ต้องใช้ศิลปะในการบริหาร เช่น การตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ ออกคำสั่ง มอบหมายภารกิจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ต้องใช้ทักษะการเป็นผู้นำกระตุ้นจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานตามที่สั่งการ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ การที่ผู้บังคับบัญชามีการควบคุมสั่งการที่ดี สามารถสร้างความเข้าใจให้ผู้ปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับมีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ และติดตามงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้งานที่มอบหมาย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อีกทั้งมีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2023. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก; 2566

[เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/en/

สำนักสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2023. สธ.พบสถานบันเทิงแพร่โควิดอีกรอบ เจอติดเชื้อ 31 รายในสัปดาห์เดียว; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก:

https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/156231

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. ข้ามวิกฤตโควิด 19 การวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อรับมือโรคระบาดในอนาคต. เชียงใหม่:แผนงาน ยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0.; 2566.

กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2023. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main

กุลนัดดา สายสอน. กระบวนการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การสำหรับธุรกิจก่อสร้างอาคารที่

พักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2560.

ปิยนุช โนจา, นารถลดา ขันธิกุล, ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์, เกสรา ไชยล้อม. การถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 : กรณีศึกษาการคัดกรองผู้ป่วยโควิด 19 เชิงรุก โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน[อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/1251020220329063905.pdf

มนู ศุกลสกุล, วาสินี วงศ์อินทร์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, คณิต หนูพลอย, ขจรศักดิ์ เพ็ชรรัตน์. การบริหารจัดการ สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรคโควิด 19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี: การถอดบทเรียน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(2):235-44.

วนาลี เรืองภักดี [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2023. ถอดบทเรียนความสำเร็จการจัดการโรคโควิด 19

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอเมืองสมุทรสาคร : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร

จังหวัดสมุทรสาคร; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]; [ประมาณ 14 น.]. เข้าถึงได้จาก

http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2565_1681982691_6414830008.pdf

วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, ชำนาญ ปินนา, รักดาว เมธากุลชาติ, กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, ศรัณยา บุรารักษ์, มณีรัตน์ จิ๋วแก้ว, และคณะ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; c2023. ถอดบทเรียนการรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดตาก ในช่วงเดือนมกราคม 2563 ถึงมิถุนายน 2565; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]; [ประมาณ 17 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/b8d443a071afeb21676c5b4d5888d806.pdf

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. รายงานการถอดบทเรียนด้านการจัดการคลังเวชภัณฑ์ ทรัพยากร และส่งกําลังบำรุง (LOGISTICS AND STOCKPILING) กรณีเกิดโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ปี 2564 – 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1312220220907074816.pdf