การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาตัวเองที่บ้าน ของ อสม.หมอประจำบ้าน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จำรูญ อสิพงษ์
พุทธิไกร ประมวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 พัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาตัวเอง
ที่บ้านของ อสม. หมอประจำบ้าน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัย
เชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ของ อสม. ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบฯ ตามกระบวนการของ PDCA ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า มี 4 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของ อสม. หมอประจำบ้าน ได้แก่ ระดับการศึกษา ประวัติเคยป่วยโรคโควิด 19 ความรู้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดย อสม. ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป อสม.ที่เคยป่วยเป็นโควิด 19 มีความรู้เกี่ยวกับโควิด 19 และความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 มากกว่า (Mean diff =2.17, 95% CI= 1.46-3.18, Mean diff =2.76, 95% CI= 2.34-7.82, Mean diff =3.36, 95% CI= 1.73-8.92 และ Mean diff =3.78, 95% CI= 2.84-7.62) รูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาตัวเองที่บ้านของ อสม.หมอประจำบ้าน ประกอบด้วย 1) Knowledge-based: การให้ความรู้ความเข้าใจ 2) People empowerment: การให้โอกาสและสร้างคุณค่า 3) Coordination and Networking: การประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่ดี 4) Coacher: พี่เลี้ยง 5) Self-care:
การพัฒนาศักยภาพในการดูแลป้องกันตนเอง 6) Stuff: วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น 7) Social support: การสนับสนุนทางสังคม 8) Follow up: การติดตามดูแลผู้ป่วย และหลังใช้รูปแบบฯ พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในระยะ Post Pandemic. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2566.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองระบาดวิยา. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: แคนนา กราฟฟิก; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. รายงานสรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2564. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย. รายงานสรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย ประจำปี 2565. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย; 2565.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทาง อสม. เคาะประตูบ้าน ต้านโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566], [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/1.pdf.

ฑิณกร โนรี, ชลิดา พลอยประดับ, วิชาวี พลอยส่งศรี, ผกาลักษณ์ ผดุงสันต์. รายงานฉบับสมบูรณ์ การถอดบทเรียนการดำเนินนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2565.

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological methods. 2003;8(3):305-21.

ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2564;39(4):41-54.

Kemmis S, Mc Taggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research. New York: Springer; 2014.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

รจนารถ ชูใจ, ชลธิรา บุญศิริ, กมลพร แพทย์ชีพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564;8(1):250-62.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci. 2020;16(10):1745-52.

อุษณียาภรณ์ จันทร, พจนารถ สารพัด, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 2566;6(1):82-96.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):19-30.

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีสึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(ฉบับเพิ่มเติม 2):s247-s259.

มนันญา ผลภิญโญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, ลำพึง วอนอก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุและสามเณร อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(3):827-41.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศิลปากร; 2562.

ปัญญา พละศักดิ์. รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(2):78-92.

อารักษ์ วงศ์วรชาติ, รุ่งเรือง กิจผาติ, จุฬาพร กระเทศ, พชร กาญจรัส, สุรศักดิ์ สุกใส, ยุงยุทธ ภูริบริบูรณ์, และคณะ. การบูรณาการการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดารร่วมกับโรค COVID-19 ในผู้สูงอายุในจังหวัดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(2):224-34.

วรยุทธ นาคอ้าย, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, เดชา วรรณพาหุล. กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด 19 กรณีศึกษาผู้สูงอายุพฤฒิพลังชุมชนหนองตะโก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 2563;14(3):20–30.

Becker MH, Maiman LA. Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Med Care. 1975;13(1):10-24.

Rosenstock IM. The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs. 1974;2(4):354-86.

กาญจนา ปัญญาธร, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่งคง, วรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2564;32(1):189-204.

ยุพาพร อินธิไชย, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ธีรยุทธ อุดมพร. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของแกนนำชุมชน ตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2558;18(2):79-86.