การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2565

Main Article Content

yuwadee kaewpradab
ทิพวรรณ อาสุระ
ชรัฐพร จิตพีระ
สมคิด ไกรพัฒนพงศ์
อ้อยทิพย์ ยาโสภา
ประวีณ บุญหนุน
มานิตา พรรณวดี

บทคัดย่อ

โรคมือเท้าปากเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ชนิดที่พบบ่อย คือ Coxsackie virus A 16, Coxsackie virus A , Enterovirus 71 สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ และสามารถกินเชื้อผ่านเข้าปากโดยตรงจากมือเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และเด็กส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อย เป็นเวลา 7-10 วัน เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ของผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ที่มารับบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานข้อมูล ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ผลการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2565 พบว่าขั้นตอนการรายงานข้อมูลกรณีผู้ป่วยนอกแพทย์จะดำเนินการลงรหัสวินิจฉัยโรค (ICD-10) ด้วย ถ้าเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังระบบจะมีการแจ้งเตือน (Pop up) เพื่อให้แพทย์กดยืนยันข้อมูลที่ต้องรายงานในระบบ (รง.506) สำหรับผู้ป่วยในเจ้าหน้าที่เวชสถิติจะทำหน้าที่ลงรหัสวินิจฉัยโรค (ICD-10) ในระบบบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาล จากนั้นเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลทุกวันและส่งข้อมูลให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานีส่งข้อมูลให้กองระบาดวิทยาต่อไป นอกจากนี้ ผลการประเมินคุณลักษณะเชิงปริมาณ พบว่าค่าความไวของการรายงาน ร้อยละ 73.2 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 91.5 ความเป็นตัวแทนพบว่าสัดส่วนของการรายงานข้อมูลระหว่างเวชระเบียนและระบบ (รง.506) ใกล้เคียงกันสามารถเป็นตัวแทนได้ ความทันเวลารายงานข้อมูลได้ทันเวลาที่กำหนด ภายใน 3 วัน ร้อยละ 100.0 และคุณภาพของข้อมูล ด้านตัวแปรเพศและอายุมีความถูกต้อง ร้อยละ 100.0 ส่วนผลการประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ด้านความยากง่ายของระบบ ส่วนใหญ่การรายงานข้อมูลไม่ยุ่งยาก ความยืดหยุ่นของระบบรายงาน หากมีการปรับเปลี่ยนนิยาม ตัวแปรการเฝ้าระวังโรค หรือแนวทางการดำเนินงานสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้ ด้านความยอมรับของระบบเฝ้าระวัง ส่วนใหญ่สามารถดำเนินงานได้ตามระบบปกติ ด้านความมั่นคงของระบบ พบว่ามีทรัพยากรเพียงพอทั้งด้านคน เงิน ของ และผู้บริหารของโรงพยาบาลมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณสำหรับการเฝ้าระวังโรค ดังนั้น การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคจะทำให้ทราบประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวัง สามารถพัฒนาระบบการรายงานโรคเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอื่น ๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สิริลักษณ์ รังษีวงศ์, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2557;45(ฉบับพิเศษ):53-62.

กรมควบคุมโรค, กองโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางการปฏิบัติงานโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สำหรับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2550.

Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. Georgia: Centers for Disease Control and Prevention; c2022. Symptoms and Diagnosis of Hand, Foot, and Mouth Disease; 2022 [cited 2022 November 25]; [about 1 p.]. Available from: https://www.cdc.gov/hand-foot-mouth/about/signs-symptoms.html

กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; [ม.ม.ป.]. มือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=11

กรมควบคุมโรค, กองระบาดวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา; c2022. Surveillance Database; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://apps-doe.moph.go.th/

CDC กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ. อุทัยธานี [อินเทอร์เน็ต]. อุทัยธานี: สำนักงาน; c2023. สถิติการส่งรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวัง; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://uthaihealth.moph.go.th/cdc/index.php

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี [อินเทอร์เน็ต] . กรุงเทพฯ: วิกิพีเดีย; c2023. อำเภอบ้านไร่; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88

ภาคภูมิ อินทรประดิษฐ์, สุวภัทร คำโตนด. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในกลุ่มเด็ก 0-9 ปี ที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอ่างทองในช่วงที่มีการระบาดของโรค ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2559 และ 2560. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข เขต 4. 2564;11(1):29-38.

ลัดดาวัลย์ สุขุม, นลินี ช่วยดำรงค์, ศุภราภรณ์ พันธ์เถระ, หทัยทิพย์ จุทอง, กษมา เทวินทรภักติ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส ในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2555. วารสารควบคุมโรค. 2557;40(2):156-64.