กลไกการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Suthee Saritsiri

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินชุมชนเข้มแข็ง เขตทวีวัฒนา เปรียบเทียบชุมชนเมืองและชุมชนชานเมือง  (2) ศึกษาการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (3) จัดทำข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานแบบสอดคล้อง วิจัยเชิงปริมาณ ในกลุ่มตัวอย่าง 120 คน ได้แก่ ประธานและเลขาคณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากศูนย์บริการสาธารณสุขและฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตทวีวัฒนา ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าความเที่ยงตรง 0.87 ค่าความเชื่อถือได้ 0.89 มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติทดสอบ t-test วิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก กับประธานชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า (1) การประเมินชุมชนเข้มแข็ง 9 มิติ พบว่ามิติที่ได้คะแนนจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ผู้นำชุมชน การสร้างความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง โครงสร้างองค์กร การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ การประเมินปัญหา การมีวิจารณญาณหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข การเชื่อมโยงกับองค์กรและบุคคลภายนอก และการระดมทรัพยากร โดยพบว่าชุมชนชานเมืองมีคะแนนสูงกว่าในทุกมิติ พบว่าการมีส่วนร่วมการระดมทรัพยากรการเชื่อมโยงกับบุคคลและองค์กรภายนอกการมีวิจารณญาณหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข และการบริหารจัดการคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) (2) องค์ประกอบโครงสร้างกลไกการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพส่วนใหญ่มี แต่ส่วนที่มีน้อยคือโครงสร้างการทำงานแนวราบระหว่างพหุภาคีและการทำข้อตกลงร่วม สำหรับต้นทุนทางสังคมและกระบวนการมีความเข้มแข็งที่ผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่มีเป้าหมายร่วมทำงานเพื่อสุขภาวะของประชาชน สิ่งที่ต้องพัฒนาคือผู้มีส่วนได้เสียควรเป็นเจ้าของกระบวนการและผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนและควรสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรจากภาคีเครือข่ายปัจจัยด้านบวกคือ ความตระหนักและสนใจด้านสุขภาพของประชาชน ปัจจัยด้านลบคือ ขาดงบประมาณ และประชาชนขาดความตระหนักและความเข้าใจ                              (3) ข้อเสนอแนวทางกลไกการขับเคลื่อนฯเริ่มจากพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน เรียนรู้ชุมชนพัฒนาศักยภาพชุมชนเข้มแข็งหาภาคีเครือข่าย ออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตทวีวัฒนา สุดท้ายกำหนดธรรมนูญสุขภาพเฉพาะที่ของชุมชน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภูดิท เตชาติวัฒน์, อรพินท์ เล่าซี้, วิชช์ เกษมทรัพย์, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, ดุษณี ดำมี และคณะ. การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับอำเภอ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565;32:1-11.

วันรพี สมณช้างเผือก, วิสุทธิ บุญญะโสภิต, ทองจันทร์ หอมเนตร, วีระพล เจริญธรรม, เพ็ญจิต ลำมะยศ, อภิญญา กรรณลา. สมัชชาพิจารณ์: การรับฟังความเห็นของผู้ให้บริการและผู้รับ บริการในระบบหลักประกันสุขภาพรูปแบบใหม่โดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมัชชาสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงาน; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/ 11228/3616/Wanrapee.pdf?sequence=2

อร พรรณ ศรีสุขวัฒนา, นิติธร ธนธัญญา, เขมวดี ขนาบแก้ว, อัญจิรา อัศวนนท์. สานพลัง เรียนรู้ ธรรมนูญสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sem100library.in.th/medias/b7145.pdf

เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการการประเมินการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://kbphpp.nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/21311/B2.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

เพียงเดือน ขำสีเมฆ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการอ่างเก็บน้ำแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/27994

กรุงเทพธุรกิจ. ประชาสัมพันธ์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ; 2565 – [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/1014433

สำนักงานเขตทวีวัฒนา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://webportal.bangkok.go.th/thawiwatthana/page/sub/13445

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์. นโยบาย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.chadchart.com/policy/

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Laverack G. Health promotion practice Building Empower Communities. London: McGraw-Hill Education; 2007

สุพัตรา ยอดสุรางค์, ปธาน สุวรรณมงคล, จุมพล หนิมพานิช.บทบาทของคณะ กรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนแออัด: กรณีศึกษาชุมชนซอยสมบูรณ์พัฒนา2 เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 2559;6(2): 91-101.

อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, ศิริวรรณ วิบูลย์มา. ชุมชนเข้มแข็งสร้างกรุงเทพฯ ยั่งยืน: ตัวชี้วัด และบทเรียนความสำเร็จของ ชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรคฒวิจัยและพัฒนา. 2559;8(15):182-94.

ถาวร งามตระกูล. การปกครองท้องถิ่น: บทเรียนชุมชนเข้มแข็ง ประเทศญี่ปุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 8; 31 มีนาคม -1 เมษายน 2559; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: สำนักงาน; 2559.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010106_5455_4967.pdf

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว, จิระพงค์ เรืองกุน, สายใจ ชุนประเสริฐ. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2560;5(1):46-57.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปิ่นแก้ว, วรัญญา เพ็ชรคง, พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. วิถีชุมชนเครื่องมือ7ชิ้นที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก. นนทบุรี: สุขศาลา; 2555.