ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมในพิธีฮัจญ์ ปี พ.ศ.2559

Main Article Content

Anuttarasakdi Ratchatatat
Preecha Prempree
Suthat Chottanapund
Ranita Techasuwanna
Zulkifli Yousof

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเสียชีวิต ในกลุ่มประชากรไทยมุสลิมที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ปีพ.ศ. 2559 โดยการใช้ข้อมูล จากสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 และการใช้โปรแกรม STATA version 17 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงวิเคราะห์ อัตราส่วนแต้มต่อ (Odds ratio) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น เช่น เพศ อายุ ภูมิลำเนา กับตัวแปรตามคือการเสียชีวิตในระหว่างการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์


ผลการศึกษาพบว่า มีชาวไทยมุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปี พ.ศ.2559 จำนวน 9,581คน ส่วนใหญ่มาจาก สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 54.3% ของผู้แสวงบุญเป็นหญิง อยู่ในช่วงอายุ ระหว่าง 4  ปีถึง 90  ปี มีค่าอายุมัธยฐาน 53 ปี และพิสัยควอไทล์ 16 ปี พบว่ามีผู้เสียชีวิต จากพิธีฮัจญ์ เป็นจำนวน 9 ราย  คิดเป็น อัตราการเสียชีวิต 0.94 ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน สาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน คิดเป็นร้อยละ 66.66 พบว่าปัจจัยเกี่ยวกับอายุมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้แสวงบุญที่มีอายุมากกว่า 75 ปี มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงถึง 50.24 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้แสวงบุญที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี (adjusted OR = 50.24 ,95% CI 8.05-313.59, p-value <0.05)


ข้อเสนอแนะ ควรมีการตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้แสวงบุญที่มีความเสี่ยงสูงทางด้านโรคหัวใจขาดเลือด และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอื่นที่เหมาะสมกับอายุและโรคประจำตัวของผู้แสวงบุญอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ในกลุ่มผู้แสวงบุญชาวไทยที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hajj & Umrah guide [Internet]. 2020 [cited 2022 Dec 22] available from https://hajjumrahplanner.com/hajj-umrah-guide/

Hankir A, Frederick C, Rashid Z.. Hajj and The Mental Health of Muslim Pilgrims: A review. Psychiatria Danubina. 2019;31(3):290-3.

National Statistical Office Thailand. Religious and culture statistics[Internet]. 2014 [cited 2022 Dec 14]. Available from: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/en/04.aspx

Thai Hajj Medical Office. A Report on Medical Hajj mission 2016. Ministry of Public Health. Nonthaburi: Office. 2016.

Sagala D.R. Risk factors analysis of Haji pilgrimage embarking from Indonesia in 2007 [Internet] [Master of Public Health]. Amsterdam: Royal Tropical Institute; 2008 [cite 2022 Dec 22]. Available from: http://www.bibalex.org/search4dev/document/357771

Khan ID, Khan SA, Bushra A, Syed BH, Zakiuddin M, Faisal FA. Morbidity and mortality amongst Indian Hajj pilgrims: A 3-year experience of Indian Hajj medical mission in mass-gathering medicine. Journal of Infection and Public Health. 2018;11(2):165-70.