ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติตน (Practice) ของแรงงานข้ามชาติ ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภูเก็ต ปี 2565

Main Article Content

Thachcharit Jaiphook
Tuenjai Nuchtean
Suthat Chottanapund
Sanwit Iabchoon

บทคัดย่อ

 ปัญหาสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นหนึ่งในปัญหาของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านโรคติดต่อ อาทิเช่น
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านความรู้ ทัศนคติ
และการปฏิบัติตนของแรงงานข้ามชาติต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจร่วมกับการสังเกต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ (Volunteer Sampling) จำนวน 555 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 555 คน เพศหญิง 291 คน (52.4%) และเพศชาย 261 คน (47%) ไม่ระบุเพศ 3 คน (0.5%) อายุเฉลี่ย 34.46 ปี เมื่อสอบถามด้านความรู้ (Knowledge) พบว่ามีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด
ในเรื่องการแยกผู้ติดเชื้อ COVID-19 เป็นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพที่มีผลต่อการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ตอบถูกมากที่สุดร้อยละ 86.5 ด้านทัศนคติ (Attitude) พบว่า มีทัศนคติมากที่สุดในเรื่องที่ว่าทุกคนต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาทีหลังจากอยู่ในที่สาธารณะ ตอบถูกมากที่สุดถึงร้อยละ 90  ส่วนด้านการปฏิบัติ (Practice) พบว่า การสวมหน้ากากอนามัย
เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตอบถูกมากที่สุดถึงร้อยละ 92.1 นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 43.8 ที่ตอบว่า
เคยกักตัว (แยกตัวหรือกักตัว) เนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 


 จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปที่สำคัญคือ แรงงานข้ามชาติมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนต่อโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี และสามารถนำข้อมูลจากการศึกษามาปรับใช้เพื่อสนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติสามารถดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

McAuliffe M, Khadria B, editors. World migration report 2020. Geneva: International Organization for Migration; 2019.

United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand [Internet]. Harkins B, editor. Bangkok: Ainergy Studio Company Limited; 2019 [cited 2022 Sep 1]. Avaiable from: https://thailand.un.org/sites/default/ files/2020-06/Thailand-Migration-Report-2019.pdf

Huguet JW, Chamratrithirong A, editors. Thailand Migration Report 2011. Bangkok: International Organization for Migration Thailand office; 2011.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2656 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=analysis-province

ศูนย์ข่าวภูเก็ต. ผู้จัดการออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/south/detail/9640000083164

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2020 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/92b4db8c387f4b3360691e24f11ae4c9.pdf

สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงาน; c2015. [เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

ชลนภา อนุกูล, ศยามล เจริญรัตน์, จิตติพร ฉายแสงมงคล, ศิววงศ์ สุขทวี, อดิศร เกิดมงคล. JusNet เสนอนโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติเพื่อตอบรับวิกฤตโรคระบาด: กรณีศึกษาไวรัสโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเครือข่ายเพื่อสังคมเป็นธรรม (JuSNet); 2563- [เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/1GsAz