การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19

Main Article Content

Aorachorn Rungsri

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธี การจัดการอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19  ของพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์อายุ 20 ปีขึ้นไปที่เคยมารักษา ณ โรงพยาบาลสงฆ์ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครและได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีการติดเชื้อโควิด19 และยืนยันการติดเชื้อด้วยผล RT-PCR COVID-19 เป็นบวกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (ช่วงวันที่ 1 กันยายน -30 ธันวาคม พ.ศ. 2564) และเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม - เมษายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และการเจ็บป่วย แบบสอบถามอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโควิด และแบบสอบถาม กลวิธีการจัดการอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ของพระสงฆ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการทดสอบไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)


ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 46.16 ปี (S.D. = 17.82) โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 58.14 ไม่มีโรคประจำตัว ระดับความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่มีอาการร้อยละ 43.02 และไม่เคยได้รับออกซิเจน ร้อยละ 70.93 2. พระสงฆ์เกิดอาการอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19   ร้อยละ 47.67 และไม่มีอาการร้อยละ 52.33 โดยอาการที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาการความจำสั้น ร้อยละ 22.09 อาการเหนื่อยล้า ร้อยละ 18.65 อาการหายใจลำบาก ร้อยละ 15.12 อาการไอ ร้อยละ 14 และอาการซึมเศร้า ร้อยละ 10.47 3. พระสงฆ์มีกลวิธี การจัดการอาการผิดปกติภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 5 อันดับแรก คือ พบแพทย์ร้อยละ 23.68 ไม่มีการจัดการอาการ ร้อยละ 12.28 นอนพัก ร้อยละ 11.40 ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ร้อยละ 9.65 สวดมนต์/ทำสมาธิ/ฟังธรรมะ และซื้อยาฉันเอง ร้อยละ 6.14 4. ระดับความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด-19 และประวัติการได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติ ภายหลังการป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ของพระสงฆ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) Situation Report – 162 [Internet]. 2020 [cited 2021 september 23]. Available from https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update-on-covid -19---29-june-2021

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ฉบับที่ 10 [อินเทอร์เน็ต] 2563. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no10-130163.pdf

กรมการแพทย์. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) หรือภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/lWDcb

World Health Organization. Expanding our understanding of Post COVID-19 condition: report of a WHO webinar, 9 February 2021 [internet]. [cited 2021 september 23]. Available from https://apps.who.int/iris/handle/10665/340951

National Institute for Health and Care Excellence. COVID-19 rapid guideline: managing the long term effects of COVID-19 [Internet]. Scotland: NICE; 2020 [cite 2021 september 23]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK567261/

ปฎิวัติ คดีโลก, ชนกพร จิตปัญญา, อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การศึกษาประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561; 11(2): 171-87.

โรงพยาบาลสงฆ์. สถิติพระสงฆ์อาพาธ. กลุ่มงานเวชสถิติโรงพยาบาลสงฆ์; 2563.

เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์ วีระเมธาชัย, ธนกมณ ลีศรี. ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการติดตามที่ระยะ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565:16(1); 265-84.

Huang C, Huang L, Wang Y, Li X, Ren L, Gu X, et al. 6-month consequences of COVID-19 in patients discharged from hospital: a cohort study. The Lancet. 2021;397:220-32.

Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher ES, Humphreys J, et al. Advancing the science of symptom management. Journal of advanced nursing. 2001;33(5):668-76.