อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในบุคลากรของศูนย์วิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9

Main Article Content

Patcharaporn Khonjamnong
Manit Kongpaen
Doungjun Chanmuang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังและไปข้างหน้าเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายใน 30 วัน หลังรับวัคซีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรของศูนย์วิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 การวิจัยครั้งนี้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในกลุ่มบุคลากรศูนย์วิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และบันทึกข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ภายใน 30 วันหลังฉีดวัคซีน จำนวนทั้งสิ้น 603 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นผ่านแบบฟอร์มสอบถามออนไลน์ (google form) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 36.82 และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะเวลา 7 วันหลังฉีดวัคซีน อาการที่พบมากที่สุดคือปวดบริเวณที่ฉีด ร้อยละ 65.77 รองลงมาปวดบริเวณที่ฉีดร่วมกับเป็นไข้ต่ำๆ ร้อยละ 18.47 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่


 ข้อค้นพบนี้ สามารถนำไปใช้วางแผนให้ข้อมูลอย่างเหมาะสมกับประชาชนทั้งที่ตัดสินใจเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และยังลังเล ให้เกิดความเชื่อมั่น และรับรู้ถึงความปลอดภัยของการได้รับวัคซีน รวมถึงจัดเตรียมเวชภัณฑ์สนับสนุนที่เหมาะสมและเพียงพอกับการบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลประจำปี 2559. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

ปณิตา ครองยุทธ, จินดา คำแก้ว, ปฐวี สาระติ, วิรินรัตน์ สุขรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในผู้สูงอายุที่ป่วย เป็นโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2564]; 37(6): 815-822. เข้าถึงได้จาก: http://journal.msu.ac.th/upload/articles/article2399_53229.pdf

เพชรารัตน์ สินธุโคตร, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์: การศึกษาแบบย้อนหลัง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2564]; 11(4): 14-23. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145287/145318

เกล็ดดาว จันทฑีโร, ปรีดาวรรณ บุญมาก, ณิชาดา กิมศรี, อมาวสี กมลสุขยืนยง, งามตา เจริญธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (เอ็ช 1 เอ็น 1) 2009 ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 28(2): 85-97.

Centers for Disease Control and Prevention. Influenza Vaccination: A Summary for Clinicians [Internet]. 2022. [cited 2022 August 14]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/professionals/vaccination/vax-summary.htm#print

สาธิต บัวคล้าย. ผลการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในโรงพยาบาลปักธงชัย เขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2553. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม2564]; 7(1): 49-55. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/254246/172857

กนกทิพย์ ทิพย์รัตน์, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. สถานการณ์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (AEFI) ในระบบเฝ้าระวังเชิงรับ ประเทศไทย พ.ศ. 2558: รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559; 41(6); 81-84.

De Lusignan S, Tsang RSM, Akinyemi O, Lopez Bernal J, Amirthalingam G, Sherlock J, et al. Adverse Events of Interest Following Influenza Vaccination in the First Season of Adjuvanted Trivalent Immunization: Retrospective Cohort Study. JMIR Public Health Surveillance [Internet]. 2022 [cited 2022 July 19];8(3): e25803. Available from: https://publichealth.jmir.org/2022/3/e25803

Tai X, Smith AM, McGeer AJ, Dubé E, Holness DL, Katz K, et al. Comparison of response rates on invitation mode of a web-based survey on influenza vaccine adverse events among healthcare workers: a pilot study. BMC Medical Research Methodology [Internet]. 2018 [cited 2022 July 20]; 18(59): 1-10. Available from: https://doi.org/10.1186/s12874-018-0524-8

Syrkina O, Inamdar A, Wague S, Monfredo C, Nissilä M, Chabanon AL, et al. Enhanced passive safety surveillance of a quadrivalent inactivated split virion influenza vaccine in Finland during the influenza season 2020/21. BMC Medical Research Methodology [Internet]. 2022 [cited 2022 August 20]; 22(1506): 1-7. Available from: https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12889-022-13898-z