การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ และเวชศาสตร์เขตเมือง รูปแบบ Onsite และ Online
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online จำนวนทั้งสิ้น 100 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบบังเอิญ ประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินตามรูปแบบของเคิร์กแพทริค 2 มิติ ได้แก่ 1) การประเมินปฏิกิริยา และ 2) การประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินด้านปฏิกิริยา และแบบประเมินด้านการเรียนรู้ ดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google Form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมร้อยละ 100.00 มีความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง รูปแบบ Onsite และ Online เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 98.60 มีความคาดหวังต่อหลักสูตรนี้อยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์หลังการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีปฏิกิริยาต่อโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ในด้านการเรียนรู้ มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นด้วยว่าการเข้าร่วมกิจกรรมมีประโยชน์มาก เป็นการเพิ่มความรู้ ทักษะ ให้สามารถปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าชุดหรือทีมปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ด้านการจัดการโครงการและรูปแบบการอบรมพบว่า ขอบเขตของเนื้อหาที่ฝึกอบรมในแต่ละหัวข้อครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด มีการจัดลำดับของเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรมีประโยชน์คุ้มค่า แต่การดำเนินการครั้งต่อไปควรจัดการอบรมในรูปแบบของออนไซต์ เพราะจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวผู้เรียนมากกว่าการประชุมทางไกล (Online) และการศึกษาในครั้งนี้เป็นการประเมินผลระหว่างเรียน และหลังเรียนทันที ควรจะมีการติดตามผลหลังอบรมเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของผู้เรียน ผลการประเมินสามารถพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครั้งต่อไปได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
คณะผู้จัดทำแผนแม่บทด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พ.ศ.2561–2564. แผนแม่บทด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พ.ศ. 2561–2564. กรุงเทพฯ: สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง; 2561.
World Health Organization [Internet]. Geneva: World Health Organization; c2016. Global report on urban health: equitable healthier cities for sustainable development; 2016 [cited 2024 May 24]; [about 1 p.]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241565271
World Health Organization [Internet]. Kobe: The WHO Centre for Health Development; c2010. Hidden cities: unmasking and overcoming health inequities in urban settings; 2010 [cited 2024 May 24]; [about 1 p.]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241548038
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. ความยากจน ความเปราะบาง และความไม่เท่าเทียมที่ไม่เป็นธรรม ในปัญหาสุขภาวะในเขตเมือง. 2663. ใน: มติชนออนไลน์ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มติชนออนไลน์; 2563- [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ค. 2567].
[ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/columnists/news_1925849
Nilsson M, Griggs D, Visbeck M. Policy: Map the interactions between Sustainable Development Goals. Nature. 2016 Jun 16;534(7607):320-2.
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง; c2022 .แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2567]. [ประมาณ 68 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1195920211116021227.pdf
กรมควบคุมโรค. แผนงานพัฒนาการฝึกอบรมและวิจัยด้านป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 10 ปี พ.ศ. 2564-2573. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2566.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัยเลืกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส(1989); 2558.
ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. การประเมินโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุข สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสังกัดภายใต้สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี; 2561.
คลังความรู้ออนไลน์ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ [อินเตอร์เน็ต]. ลำปาง: สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ. C2019. การประเมินหลักสูตรรูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]; [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://northnfe.blogspot.com/2019/06/kirkpatrick.html
รสาพร หม้อศรีใจ. รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน [อินเตอร์เน็ต]. ลำปาง: สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. [ประมาณ 6 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://elibrary.nfe.go.th/e_library/ebook/0/ebook/1580095928.pdf
ธวัชชัย สุนทรสวัสดิ์. การประเมินโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนา การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567];1(2):43-56. เข้าถึงได้จาก: https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/387
วิเศษ ปิ่นพิทักษ์. การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของ โดนัลด์ แอล เคิร์กแพททริก (Donald L. Kirkpatrick). วารสารครุศาสตร์ปัญญา [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2567];1(4):50-61. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IEJ/article/download/263102/176417
สุวัจนี เพชรรัตน์, คุลยา ศรีโยม, ศรีวรรณ ขำตรี, ศุภชัย แก้วจัง, ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล. การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้าน ชุมชนบ้านด่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินของเคิร์กแพทริค. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2567];8(7):329-340. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/274743/184366
อัจศรา ประเสริฐสิน, นภัสนันท์ แจ่มฟุ้ง, อุไร จักษ์ตรีมงคล, มานิดา ชอบธรรม, กาญจนา ตระกูลวรกุล, เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ. การประเมินผลการจัดบริการวิชาการแก่ชุมชน: โครงการการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอน. วารสารการวัดผลการศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 พ.ค. 2567];36(100):29-47. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/244509
ธเนศ ดาวรุ่งโรจน์. การประเมินโครงการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 พ.ค. 2567];34(3):2171-7. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/215388