การประเมินผลการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในช่วงการแพร่ระบาดของ
โควิด 19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน ตลอดจนมีข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงงรูปแบบการบริหารจัดการและออกแบบการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินของกรมควบคุมโรคสำหรับการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ตามกรอบแนวคิดการประเมินของ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของกรมควบคุมโรคในช่วงตั้งแต่เริ่มการแพร่ระบาด ปี 2563 จนถึงการประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ปี 2565 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลลัพธ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.98 และด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.78
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดการงบประมาณที่สำคัญคือ ผู้บริหารมีการสั่งการที่ชัดเจนรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ และการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ปฏิบัติทำให้เกิดความคล่องตัวและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคได้แก่ กระบวนการบริหารงบประมาณยังคงดำเนินการตามระเบียบราชการตามปกติ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ขั้นตอนและเอกสารมีความซับซ้อนทำให้เป็นภาระงานในการตรวจสอบเอกสาร ประกอบกับผู้ปฏิบัติงานไม่มีประสบการณ์และมีความกังวลกับหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ รวมทั้งระบบสารสนเทศที่มีอยู่ยังไม่รองรับการบริหารจัดการงบประมาณในภาวะฉุกเฉินทำให้ผู้บริหารไม่สามารถนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายได้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา คือ นำข้อจำกัดที่ผ่านมาเป็นกรอบในการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานและระเบียบให้เกิดความคล่องตัวและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน และควรกำหนดระเบียบด้านการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นการเฉพาะ รวมทั้งการเตรียมแหล่งงบประมาณหรือเงินทุนสำรองในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขในอนาคตให้เพียงพออย่างน้อยในระยะ 1 เดือน และพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเงินการคลังรองรับการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน วางกรอบอัตรากำลัง และการหมุนเวียนบุคลากรที่ชัดเจนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ภายใต้กรอบ พ.ร.บ. โรคติดต่อปี 2558 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาระบบสารสนเทศให้รองรับการติดตามงบประมาณได้จากทุกแหล่งและมีข้อมูลแบบ Real time ในการตัดสินใจด้านการงบประมาณได้ในภาวะฉุกเฉิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2021. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2022. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รายวัน; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard
กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2566-2567. นนทบุรี: อัครากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.
Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey- Bass; 2007.
สถาบันพระปกเกล้า [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2016. การรวมศูนย์อำนาจ(Centralization); 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88(Centralization)
อังสุมาลี ผลภาค, ศิกานต์ อิสสระชัยยศ, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล, ไอลดา สุขนาค, ปภาดา ราญรอน, แพรวา กุลัตถ์นาม, และคณะ. Health financing during Covid 19 responses in Thailand การเงิน การคลังสุขภาพ เพื่อตอบสนอง การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2566.
เกษร แถวโนนงิ้ว, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, วันทนา กลางบุรัมย์. การประเมินความพร้อมระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระดับจังหวัดและอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7 กรณีศึกษาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2559. วารสารควบคุมโรค. 2560;43(4):448-59.
วัชระ สท้อนดี. ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
สุภาพร ศรีษะเนตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถาบันระดับประถมศึกษา. [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2560.
สืบพงษ์ ไชยพรรค, บัญชา ค้าของ, กุลนันท์ เสนคำ, สายชล คล้อยเอี่ยม. ประเมินผลสัมฤทธิ์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ระยะครึ่งแผน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2562;9(2):102-12.