ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาอาชีววิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 195 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลาก และใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการขับขี่จักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ไคสแควร์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน ผลการศึกษา พบว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนนของนักศึกษาอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 34.40 เมื่อจำแนกองค์ประกอบเป็น 5 ทักษะ พบว่า ทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะการไต่ถาม และทักษะการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 35.90, 42.60 และ 36.40 ตามลำดับ ส่วนทักษะการเข้าใจอยู่ระดับที่ดีมาก ร้อยละ 35.90 ความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน คือ การสื่อสารที่ชัดเจนโดนใจผู้รับ ต้องเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล เข้าใจบริบทของครอบครัว สังคม วัฒนธรรมของสถานศึกษาที่บุคคลนั้นอยู่ แล้วนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นปัจจัยนำเข้าในการกำหนดเนื้อหา กิจกรรม ที่จะสื่อไปยังนักศึกษาแต่ละบุคคล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; C2020. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน.
รายงานผู้ป่วยที่มาใช้บริการห้องพยาบาล วิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563.
World Health Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Switzerland: Division of
Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit.
ชุติมา เจียมใจ, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2563;31(3); 205-17.
กานต์พิชชา หนูบุญ, พรรณี ปัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2558;8(2);1-9.
กนกอร หลงกลาง, นูรายนา มะสารี. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. โครงการวิจัยทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง; 2563.
Das SK, Tamannur T, Nesa A, Noman AA, Dey P, Kundu SK, et al. Knowledge and practice of road safety measures among motor-bikers in Bangladesh: a cross-sectional study. MedRxiv. 2023;49(6),1-25.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2553.
นงคราญ ตาต๊ะคำ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้รถจักรยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
นัฏฐิณี นามวงศ์, สาธิยา สาลีผล, ธนาธิป แก้วคำฟู, ปรัชญา ปลูกเงิน, ศุภกิตติ์ เกตุจันทร์. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2553.
พวงเพ็ญ อ่อนสีบุตร. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
หมอชาวบ้าน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; C2004. เด็กกับอุบัติเหตุจราจร; 2547 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2567]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/3037
Bolbol SA, Zalat MM. Motorcycle riders risky behaviors and safety measures: A Hospital-Based study. Egyptian Journal of Occupational Medicine. 2018;42(3):453-68.
Holmes BJ. Communicating about emerging infectious disease: The importance of research. Health, Risk & Society 2008; 10(4):349-60.
Haider M. Global Public Health Communication: Challenges, Perspectives, and Strategies. Mississauga: Jones and Bartlett publisers; 2005.
Lu HY. Information Seeking and Media Credibility: College Students’ Information Seeking and Perceived Source Credibility During the Crisis of SARS in Taiwan. Media Asia. 2003;30(4):220–27.
ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์. รายงานฉบับสมบูรณ์ วัยคะนองกับพฤติกรรมความเสี่ยงในอุบัติเหตุทางถนน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2563.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส); 2561.