ประเมินความพร้อมระบบ กลไกการจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3

Main Article Content

นายศราวุธ โภชนะสมบัติ
นเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์

บทคัดย่อ

รูปแบบการศึกษาใช้วิธีการแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อประเมินความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางในการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 เก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเป็น จำนวน ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลประเมินความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 พบว่า ความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง(𝑥̅= 3.54, SD = 0.50) มีการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ครบทั้ง 6 ประเด็น


จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการสนับสนุนบุคลากรแก่เทศบาลเมืองทั้งด้านจำนวนและความรู้ ทักษะ เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติการด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองดีขึ้น 2) หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรสนับสนุนระบบสารสนเทศด้านสุขภาพในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างเทศบาลเมืองและหน่วยบริการเอกชนในพื้นที่ 3) ควรมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้เพิ่มขีดความสามารถให้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นโดยเฉพาะ องค์ประกอบด้านกำลังคนด้านสุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค ด้านสื่อองค์ความรู้/เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการป้องกันควบคุมโรค และระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

Article Details

How to Cite
1.
โภชนะสมบัติ น, ฐิตินันทิวัฒน์ น. ประเมินความพร้อมระบบ กลไกการจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 . วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 20 พฤศจิกายน 2024 [อ้างถึง 18 เมษายน 2025];9(2):255-72. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272405
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems, A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Services; 2010.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต[.นนทบุรี: ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2562 [เข้าถึง เมื่อ 5 มีนาคม 2566]; [ประมาณ 5 น.].เข้าถึงได้จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (พ.ศ. 2560 - 2579). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2561.

ปรีดา แต้อารักษ์,นิภาพรรณ สุขศิริ, รำไพ แก้ววิเชียร, ก้าวที่ผ่านไปบนเส้นทางการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2551.

สมบัติ บุญเลี้ยง, อารีย์ นัยพินิจ, ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. ลักษณะภาวะของผู้นำที่ดีในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 2555;29(2):97-112.

เสาวนีย์ หะยีอุมา. ศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขบเคลื่อนระบบสุขภาพ ระดับอําเภอ กรณีศึกษา 3 อําเภอนําร่อง จังหวัดสงขลา. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาวิชาการ จัดการระบบสุขภาพ[. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

ณิชามัญช์ เอี่ยมแสงจันทร์ [อินเทอร์เน็ต[.นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 3 กรกฎาคม 2565]; [ประมาณ 5 น.]. เข้าถึงได้จาก https://rh.anamai.moph.go.th/th

สุภัชญา นันตะ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารกฏหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2561;4(1): 98-107.

พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ [อินเทอร์เน็ต[.นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2556 [เข้าถึง เมื่อ 20 กันยายน 2565]; [ประมาณ 5 น.].เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.