ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จำนวนการรับวัคซีน การติดเชื้อโควิด 19 และคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ

Main Article Content

ชญานิศ ภูพวก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จำนวนการรับวัคซีน การติดเชื้อโควิด 19 ของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (Covid 19) ยังคงเกิดขึ้นสม่ำเสมอและได้มีการแพร่ระบาดมากขึ้นอีกครั้งหลังจากมีการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน มีการท่องเที่ยวตามสถานที่ซึ่งมีผู้คนจำนวนมาก ทำให้การเว้นระยะห่างและการป้องกันมีความเข้มงวดลดลงจากเดิม หลังเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 พบจำนวนผู้ติดเชื้อ โควิด19 เพิ่มมากขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ แบบสอบถามที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนของข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม และส่วนของคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยรวม 6 ส่วน ส่งให้ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติระหว่าง เดือน มกราคม ถึง เมษายน 2567 เพื่อตอบแบบสอบถามและนำผลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแง่มุมต่าง ๆ โดยผู้ตอบแบบ สอบถามเป็นชายจำนวน 47.27% และหญิงจำนวน 52.73%  ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้รับวัคซีนแล้วคิดเป็น 99.00% และส่วนใหญ่เคยติดเชื้อโควิด 19 แล้วจำนวน 70.00% ยังไม่เคยติดเชื้อ 30.00% โดยระยะเวลาในการติดเชื้อประมาณ 3.5 วัน อาการขณะติดเชื้อคล้ายหวัดธรรมดา โดยส่วนใหญ่ใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 คิดเป็น 95.00%และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ส่วนการเดินทางนั้นเดินทางด้วยรถส่วนตัวมากกว่ารถสาธารณะ จากการทำนายจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในอนาคตด้วยฟังก์ชัน forecast ใน Microsoft Excel โดยนำข้อมูลจำนวนการติดเชื้อในปีที่ผ่านมาของบุคคลกลุ่มนี้มาอ้างอิง พบว่าในปี 2567-2569 กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น คิดเป็น 53.80%, 16.60% และ 15.70% ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
1.
ภูพวก ช. ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จำนวนการรับวัคซีน การติดเชื้อโควิด 19 และคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 20 พฤศจิกายน 2024 [อ้างถึง 18 เมษายน 2025];9(2):205-22. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272304
บท
บทความวิจัย

References

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: แพทยสมาคม; [ม.ป.ป.]. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID 19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2567]; [ประมาณ 10 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. ความรู้พื้นฐาน COVID 19 ตอนที่ 1 โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ.

กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2567]; 1-16. เข้าถึงได้จาก: https://phoubon.in.th/covid-19/ความรู้เรื่อง%20COVID%20รามา.pdf

วิกานดา ทยานุวัฒน์, พนา กล่ำคำ, ธนิต เฉลิมวัฒนชัย. หมอชวนรู้ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: แพทยสภา; 2564- [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-80.pdf

ศูนย์คุ้มครองสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุ้มครองสุขภาพ; c2023. โรคโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19 (COVID-19)); 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.ย. 2567]; [ประมาณ 3 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chp.gov.hk/files/pdf/prevent_pneumonia_thai.pdf

ทรงภูมิ อธิภูกนก, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; c2020 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/covid-19/finalCoronavirus7.4.63.pdf

Lauer SA, Grantz KH, Bi Q, Jones FK, Zheng Q, Meredith HR, et al. The Incubation Period of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) From Publicly Reported Confirmed Cases: Estimation and Application. Ann Intern Med. 2020 May 5;172(9):577-82.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาดปี 2564 ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2564.

World Health Organization South- East Asia Thailand [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย; c2024. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย: 7 กุมภาพันธ์ 2567;

[เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/news/detail/07-02-2024-update-on-covid-19-in-thailand--7-february-2024-THA

ธนิษฐ์ ศิลา, วิศลย์ เหล่าเจริญสุข, คมวิทย์ สุรชาติ, สมนรพรรษ สุระสมบัติพัฒนา, วนัท แซ่ลิ่ม, สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา. วิวัฒนาการของสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด 19 และกระบวนการทางชีวสารสนเทศในการ

ตรวจสอบสายพันธุ์. เวชสารสงขลานครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. พ.ค.-ส.ค. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ส.ค. 2567];2(2):85-98. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/PSUMJ/article/download/254705/173182/990323

สรรยา จันทูตานนท์, ชูพงศ์ แสงสว่าง. ระบาดวิทยาของชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ในช่วง เมษายน - กันยายน 2564. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. เม.ย.-มิ.ย. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ส.ค. 2567];64(2):81-92. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/256027/176098

โรงพยาบาลศิครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิครินทร์; [ม.ป.ป.]. วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit ด้วยตนเอง; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sikarin.com/health/covid19/antigen-test-kit

กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; c2021. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]; [ประมาณ 9 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640721115923AM_CPG_COVID_v.16.4.n.pdf

ปวีณ์ภัสร เศรษฐสิริโชติ. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. ก.ค.-ธ.ค. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ส.ค. 2567];5(2):102-15. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/258548/175664

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโครต, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. ขอนแก่น: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.