ต้นตอของความสูญเสียอนาคตของชาติ ช่องว่างแห่งการป้องกันที่ล้มเหลว กรณีศึกษา การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยต้นตอของความสูญเสียอนาคตของชาติ ช่องว่างแห่งการป้องกันที่ล้มเหลว กรณีศึกษาการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ (investigation) และการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุเชิงลึกในด้านมนุษย์ปัจจัย (Human Factor) ในความผิดพลาดในระดับบุคคล ความผิดพลาด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎระเบียบ ด้านยานพาหนะ ด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ด้านผู้ขับขี่ และด้านคนใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลช่องว่างของปัญหาเชิงระบบโดยใช้ Swiss Cheese Model 4 ระดับ ได้แก่ 1) การกระทำที่ไม่ปลอดภัย 2) เงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัย 3) การกำกับดูแล และ 4) ปัจจัยด้านองค์การ ทั้งด้านนโยบายการทำงานของภาครัฐและสถานศึกษา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า อุบัติเหตุเกิดในกลุ่มอายุ 15-19 ปีมากที่สุด จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนใหญ่เริ่มฝึกหัดขับขี่รถจักรยานยนต์ ในช่วงอายุ 13-15 ปี เรียนรู้การขับขี่รถจากพ่อแม่ ญาติ เพื่อนหรือไปฝึกหัดขับเอง โดยไม่ผ่านการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ จากการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบโดยใช้ Swiss Cheese Model พบว่า ในระดับการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) ที่มาจากตัวของผู้ขับขี่เองมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับสภาพเงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) จากปัจจัยสภาพเงื่อนไขด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และระดับการกำกับดูแลที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Supervision)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการสนทนาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไข มีการกำหนดเป้าหมาย และการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรการฝึกประสบการณ์ ทักษะการคิดวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้อันตรายและความเสี่ยง (Hazard Perception) ทักษะการประเมินความเสี่ยงและความตระหนักรู้ (Situation Awareness) และทักษะการตัดสินใจ (Decision Making) รวมถึงการพัฒนาศักยภาพครูและวิทยากร ให้จัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2558 (Global Status Report on Road Safety). กรุงเทพฯ: บริษัท สแกนด์-มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2558.
กรมควบคุมโรค, กองป้องกันการบาดเจ็บ, ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; C2019. ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2562]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/
กรมควบคุมโรค, กองป้องกันการบาดเจ็บ, ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ. ระบบรายงานการบาดเจ็บแฟ้มสุขภาพ (43 แฟ้ม). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
ณัฐกานต์ ไวยเนตร. คู่มือการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
สุวรรณ ภู่เต็ง. คู่มือสืบค้นและวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุทางถนนตามแนวทางมนุษย์ปัจจัย (Safety Investigation). ธนภรณ์ ไชยสุริยะศักดิ์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน; 2562.
สุวรรณ ภู่เต็ง, สิทธิพร ธนาพร, สุขสันต์ แสนสวัสดิ์. ทักษะคิด ฝ่าวิกฤตอุบัติเหตุทางถนน. ชมพูนุท ธนาพร, บรรณาธิการ. ปทุมธานี: บริษัทเซฟตี้ อินฟินิตี้ จำกัด; [ม.ป.ป.].
Payani S, Hamid H, Law TH. A review on impact of human factors on road safety with special focus on hazard perception and risk-taking among young drivers. IOP Conference Series Earth and Environmental Science. 2019;357(1):1-11.
Stanley KM. Human factors influencing traffic accidents in Kenya: A case study approach. [Dissertation]. Minnesota: Northcentral University; 2017.