ผลกระทบต่อพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร ที่ทำงานในตำแหน่งควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลทำหน้าที่ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และให้บริการผู้ป่วย คัดกรองหรือ ดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่มีการระบาดของโรค จำนวน 49 คน ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อตนเองทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจในระดับมาก ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อน ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน การปรับตัวในสถานการณ์การระบาด มีความหวาดกลัวต่อการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลกระทบต่อที่ทำงาน อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เนื่องจากในบางกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมาจากภาวะปกติ เช่น การให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 การใส่อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคของตนเอง และสมาชิกในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลกระทบต่อครอบครัวอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากครอบครัวมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สำหรับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ ยังมีบางส่วนป้องกันตัวเองไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด อาจเกิดมาจากข้อจำกัดของจำนวนอุปกรณ์ป้องกัน เนื่องจากภาวะระบาดของโรคที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ กำลังการผลิตในขณะนั้นอาจไม่ทันกับความต้องการหรืออาจเกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องการตนเอง ดังนั้น การได้รับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และดูแลเมื่อได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้การสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานช่วงภาวะวิกฤตด้วยการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการสร้างขวัญกำลังสำหรับคนทำงานมีได้หลากหลายรูปแบบผู้บริหารควรพิจารณาตามความเหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
ชัยยศ คุณานุสนธิ์, บรรณาธิการ. โควิด 19 บทเรียนระบาดวิทยา. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2567.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, พรพิทักษ์ พันธ์หล้า, ชำนาญ ม่วงแดง. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2559-2564. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. แนวทางการจัดเตรียมพื้นที่กรณีมีการระบาดในวงกว้างของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : โรงพยาบาลสนาม. นนทบุรี: กลุ่มฉุกเฉินทางการแพทย์; 2563.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์และเฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ Health behavior. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคราม: คลังนานาวิทยา; 2550.
ภัสราภรณ์ นาสา, วนิดา สังยาหยา, แพรวนภา พันธ์โสรี, เตือนใจ นุชเทียน. ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อระบบการบริหารจัดการหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโรค COVID-19 โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี (MIDA Hospitel). วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2566;8(1):15-27.
สุมิตตรา ทรัพย์เขียน, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุข ในจังหวัดสิงห์บุรี เขตสุขภาพที่ 4. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 2566;13(1):56-70.
เอกพงษ์ ตั้งกิตติเกษม, กรภัทร อาจวานิชชากุล, สุภาพร ปานิเสน. กรณีศึกษารูปแบบการลดการตีตราทางสังคมกับผู้ป่วยโควิด 19 ในชุมชน. วารสารควบคุมโรค. 2565;48(4):756-71.
กวิตม์ ซื่อมั่น. การบริหารจัดการความเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรโรงพยาบาลบางบัวทอง 2 ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2566;8(1):38-57.
ธัญญา รอดสุข, ศิริมา ธนานันท์, ธารทิพย์ เหลืองตรีชัย, บุญรัตน์ ทัศนียไตรเทพ, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, เกษรินทร์ ศิริชวนจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด 19 แบบกลุ่มก้อนในบุคลากรทางการแพทย์ ระลอกที่ 1 พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2565;7(2):107-26.
ประชา ตันเสนีย์. รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (มหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2550.
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ; c2023. บทบาท/หน้าที่ 2566 [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ic/th/aboutus/responsibilities
พนิดา จันทรัตน์, ชุลีรัตน์ วัชระไพบูลย์, บุญญิสา เมืองทอง. โครงการ การบริหารอัตรากำลังทางการพยาบาล ในสถานการณ์โควิด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์; 2565.
ปาหนัน พิชยภิญโญ, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, พัชราพร เกิดมงคล. ทฤษฎีการพยาบาลและการประยุกต์: บุคคล ครอบครัวและชุมชน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.