การปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของการปฏิบัติและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตบางแค และเขตบางเขน จำนวน 420 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า มีระดับของการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคที่ดีอยู่ในระดับสูงในผู้สูงอายุ ร้อยละ 63.1 โดยมีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรค การป้องกันวัณโรค อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.5 และร้อยละ 80.5 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรค ได้แก่ ระดับการศึกษา (ORadj =3.22, p-value =0.006) ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค (ORadj =2.38, p-value <0.001) และทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคและป้องกันวัณโรค (ORadj =2.26, p-value =0.002) ซึ่งพบว่า มีร้อยละของการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคอยู่ระดับสูง และพบว่าระดับการศึกษาที่สูงการมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในระดับสูง และมีทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคและป้องกันวัณโรคในระดับสูงมีผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคที่ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
World Health Organization. Global tuberculosis report 2023. Geneva, Switzerland; 2023.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของ ประเทศไทย. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ: 1 ธันวาคม2566]. สืบค้นจาก:https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Login.aspx
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2561 – 2565. สถิติสาธารณสุข 2565, 139.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติประชากร รายจังหวัด ตามช่วงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ: 31 ธันวาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ: 31 ธันวาคม 2566]. สืบค้นจาก:https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
Yew, W. W., Yoshiyama, T., Leung, C. C., & Chan, D. P. Epidemiological, clinical and mechanistic perspectives of tuberculosis in older people. Respirology, 23(6), 567-575. https://doi.org/10.1111/resp.13303
World Health Organization. Global tuberculosis report 2018. Geneva, Switzerland; 2018
ลลิตา พรหมปั้น. การศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ .มหาวิทยาลัยนเรศวร). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก:https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3909
Puspitasari, I. M., Sinuraya, R. K., Aminudin, A. N., & Kamilah, R. R. Knowledge, Attitudes, and Preventative Behavior Toward Tuberculosis in University Students in Indonesia. Infect Drug Resist, 15, 472-14733.https://doi.org/10.2147/idr.S365852
Du, G., Li, C., Liu, Y., Tu, F., Yang, R., Li, R., Shen, H., & Li, W. Study on the Influencing Factors of Knowledge, Attitudes and Practice About Tuberculosis Among Freshmen in Jiangsu, China: A Cross-Sectional Study. Infect Drug Resist, 15, 1235-1245. https://doi.org/10.2147/idr.S351541
Kazaura, M., & Kamazima, S. R. Knowledge, attitudes and practices on tuberculosis infection prevention and associated factors among rural and urban adults in northeast Tanzania: A cross-sectional study. PLOS Glob Public Health, 1(12), e0000104. https://doi.org/10.1371/journal.pgph.0000104
Essar, M. Y., Rezayee, K. J., Ahmad, S., Kamal, M. A., Nasery, R., Danishmand, T. J., Head, M., & Nemat, A. Knowledge, Attitude, and Practices Toward Tuberculosis Among Hospital Outpatients in Kabul, Afghanistan. Front Public Health, 10, 933005. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.933005
เกื้อกูล บุญเทอม, กิตติพงษ์ แอ่งไว, ประทีป รักษาบุญ, ณัฐนันท์ วังเสนาและจามีกร ทัดกาหลง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรควัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวรมหาวิทยาลัยนเรศวร. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก:https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4577?mode=full
สายใจ จันแดง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรควัณโรค. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย,เชียงใหม่. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:164306
Wang, Y., Gan, Y., Zhang, J., Mei, J., Feng, J., Lu, Z., Shen, X., Zhao, M., Guo, Y., & Yuan, Q. Analysis of the current status and associated factors of tuberculosis knowledge, attitudes, and practices among elderly people in Shenzhen: a cross-sectional study. BMC Public Health, 21(1), 1163. https://doi.org/10.1186/s12889-021-11240-7