การศึกษาคุณภาพอากาศภายในห้องผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยตรวจวัดจำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 และ 5.0 ไมครอน อัตราการหมุนเวียนอากาศ ความดันอากาศสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ห้องละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบว่า จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 ไมครอน อยู่ในช่วง 231.0-5,577.0 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 5.0 ไมครอน อยู่ในช่วง 5.0-67.0 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต อัตราการหมุนเวียนอากาศ อยู่ในช่วง 12.0-30.0 ความดันอากาศสัมพัทธ์ มีค่าอยู่ในช่วง 2.0-54.1 ปาสคาล อุณหภูมิ อยู่ในช่วง 15.8-22.2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ มีค่าอยู่ในช่วง 54.0-82.5 เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ พบว่า ร้อยละ 100.0 ของจำนวนอนุภาคฝุ่นละออง 0.5 และ 5.0 ไมครอน ร้อยละ 94.4 ของอัตราการหมุนเวียนอากาศ ร้อยละ 97.2 ของความดันอากาศสัมพัทธ์ ร้อยละ 52.7 ของอุณหภูมิ และร้อยละ 2.8 ของความชื้นสัมพัทธ์ อยู่ในค่าอ้างอิง นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 ไมครอน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 5.0 ไมครอน (rs = 0.358 , P< 0.05) และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราการหมุนเวียนอากาศ (rs = -0.347 , P< 0.05) การศึกษานี้ส่วนใหญ่พบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงเรื่องระบบปรับอากาศและระบบควบคุมความชื้น เช่น เครื่องลดความชื้น (Dehumidifier) หรือ ฮีตเตอร์ดักท์ (Duct Heater) เป็นต้น และควรมีแผนการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศและระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันการเกิดการติดเชื้อในห้องผ่าตัด อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศในห้องผ่าตัดได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองวิศวกรรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; c2023. มาตรฐานห้องให้บริการทางการแพทย์ ห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องฉุกเฉิน และห้องไตเทียม; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2567]; [ประมาณ 48 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://medi.moph.go.th/km/oricer.pdf
พัชรี สุรารักษา. การตรวจสอบคุณภาพอากาศสำหรับห้องผ่าตัด. Rชีววารสาร. 2561;4(14):8-9.
สุวัฒน์ ดำนิล. เทคนิคการตรวจประสิทธิภาพระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศในห้องผ่าตัดในอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2560.
สุพจน์ เตชะอำนวยวิทย์. แนวทางการออกแบบการปรับอากาศและการระบายอากาศสำหรับโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย; 2551.
รชนีกร วีระเจริญ, ณัฐพงศ์ แหละหมัน, ชยาพล จงเจริญ. คุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดของสถานพยาบาลสองแห่ง. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2563;14(2):38-50.
Centers for Disease Control and Prevention. Guidelines for Environmental Infection Control in Health-Care Facilities. Georgia: Center for Disease Control and Prevention; 2019.
The U.S. General Services Administration. The Federal Standard 209E Airborne Particulate Cleanliness Classes in Cleanrooms and Clean Zones. Illinois: Institute of Environmental Sciences; 1992.
Wong KY, Kamar HM, Kamsah N, Tan H, Deris MS. Real-Time Measurements of Relative Humidity and Temperature in Hospital Operating room. International Journal of Mechanical and Production Engineering. 2017;5(10):92-5.
ปานทิพย์ ธิโนชัย, มนทิรา เตี้ยเล็ก, จิรา คงปราณ. คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(2):325-33.
Pasquarella C, Balocco C, Colucci ME, Saccani E, Paroni S, Albertini L, et al. The Influence of Surgical Staff Behavior on Air Quality in a Conventionally Ventilated Operating Theatre during a Simulated Arthroplasty: A Case Study at the University Hospital of Parma. Int J Environ Res Public Health. 2020 Jan 10;17(2):1-14.
Garrido F, Gonzalez L, Oller E, Alvarez G. Development of a Calibrated Simulation Method for Airborne Particles to Optimize Energy Consumption in Operating Rooms. Energies. 2019;12(12):2433.
Romano F, Milani S, Ricci R, Joppolo CM. Operating Theatre Ventilation Systems and Their Performance in Contamination Control: "At Rest" and "In Operation" Particle and Microbial Measurements Made in an Italian Large and Multi-Year Inspection Campaign. Int J Environ Res Public Health. 2020 Oct 5;17(19):1-16.
Nastase I, Croitoru C, Vartires A, Tataranu L. Indoor Environmental Quality in Operating Rooms: An European Standards Review with Regard to Romanian Guidelines. Energy Procedia. 2016;85:375-82.
Liang C-C, Wu F-J, Chien T-Y, Lee S-T, Chen C-T, Wang C, et al. Effect of ventilation rate on the optimal air quality of trauma and colorectal operating rooms. Building and Environment. 2020;169:106548.