ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคไข้เลือดออก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 140 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในแต่ละอำเภอ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคไข้เลือดออก และส่วนที่ 3 คือ แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (CVI) อยู่ในช่วง 0.67-1.00 และผลการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือพบว่า แบบสอบถามส่วนที่ 2 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 และส่วนที่ 3 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของความรอบรู้กับพฤติกรรมสุขภาพป้องกันควบคุมโรค โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ภาพรวมของความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้ายในจังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่อยู่ใน ระดับสูง (ร้อยละ 65.70) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก (r = 0.166, p-value = 0.025) และองค์ประกอบด้านทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูล (r = 0.183, p-value = 0.015) ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการระบาดของโรคต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
Du M, Jing W, Liu M, Liu J. The Global Trends and Regional Differences in Incidence of Dengue Infection from 1990 to 2019: An Analysis from the Global Burden of Disease Study 2019. Infectious Diseases and Therapy 2021;10:1625-43.
World Health O. Dengue guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control New edition. Geneva: World Health Organization; 2009.
สำนักระบาดวิทยา. สถิติของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยนนทบุรี. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566.
ธนาวิทย์ ทำนาเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลโนนทองอินทร์ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(1):458-67.
สำนักระบาดวิทยา. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566
เอกลักษณ์ เอี่ยมประดิษฐ์. รายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกประจำเดือน สิงหาคม 2566. นครปฐม:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม; 2566.
นเรศ มณีเทศ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ปี 2563. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ. 2565;7(1):11 - 8.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่หลักสูตรฝึกอบรมสมาร์ท อสม. และ อสม. หมอประจำบ้านปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564.
ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; c2023. แบบรายงานฐานข้อมูลจำนวน อสม. [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ย. 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/content/1
Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012;12(80):1-13.
Intarakamhang U, Sriprasertpap K, Chiangkhong A, Srisawasdi N, Wongchan S, Intarakamhang P, Boocha P. (2022). Construct Validity of Health Literacy Scales and Causal Model of Sufficient Health among NCDs Risk Adults. Journal of the Medical Association Thailand. 2022;105(12):1259-66.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
ปรีชา พุกจีน, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงศ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น. 2566;4(1):81-91.
วีระ กองสนั่น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563;3(1):35-44.
พลภัทร เครือคำ, รชานนท์ ง่วนใจรัก. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของครัวเรือนในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2566;16(1):39-51.
มนตรี มูลมะนัส, สุพัฒน์ กองศรีมา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอุดรธานี; 2566.
Magasi S, Durkin E, Wolf MS, Deutsch A. Rehabilitation consumers' use and understanding of quality information: a health literacy perspective. Arch Phys Med Rehabil. 2009 Feb;90(2):206-12.