ระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564

Main Article Content

อ้อยทิพย์ ยาโสภา
พรทิพย์ จอมพุก
นนท์ธิยา หอมขำ

บทคัดย่อ

โรคไข้หวัดใหญ่พบได้ทุกกลุ่มอายุและกระจายอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญเนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค กำหนดแนวทาง และวางแผน รวมทั้งการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรค การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาไข้หวัดใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) และข้อมูลการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564 รวมทั้งสิ้น 1,236,299 ราย เสียชีวิต 296 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.02 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1:1.03 พบผู้ป่วยมากที่สุดในอายุต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 21.26) รองลงมาคืออายุ 5 - 9 ปี (ร้อยละ 18.91) พบอัตราป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2562 เท่ากับ 606.00 ต่อประชากรแสนคน (396,363 ราย) ส่วนในปี พ.ศ. 2557 พบอัตราป่วยตายพบสูงสุด คือ ร้อยละ 0.12 (91 ราย) รารรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการกระจายเชิงพื้นที่ พบว่าพื้นที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือในเขตภาคกลาง ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง เชียงใหม่ พะเยา และจันทบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2562 พบผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนกันยายน และจากการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่พบว่าสัดส่วนของการตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เป็นประจำทุกปี การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยตามกลุ่มอายุ ตามพื้นที่ และตามช่วงเวลามีการรายงานโรคแตกต่างกัน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้เน้นการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนคือ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด พื้นที่ที่ควรมีการเฝ้าระวังเชิงรุก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง และเชียงใหม่ เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทางและการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นหรือจังหวัดที่เป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจดังกล่าว ช่วงเวลาของปีคือในเดือนกันยายนจึงควรมีมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนจะถึงฤดูฝนเนื่องจากพบผู้ป่วยสูงสุดเพื่อการตรวจจับการระบาดและควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายจากโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
ยาโสภา อ, จอมพุก พ, หอมขำ น. ระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 20 พฤศจิกายน 2024 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];9(2):21-40. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/269764
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; c2019. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 มี.ค. 2564]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=13

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; c2018. Influenza (Seasonal); 2018 [updated 2023 Oct 3; cited 2023 Nov 17]; [about 6 screens]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

นลินภัสร์ ธนาเจริญรัศม์, ลดาวัลย์ สันถวไมตรี, ชญานิศ เมฆอากาศ. องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2554.

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; 2020. WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020; 2020 [updated 2020 Mar 11; cited 2021 Mar 17]; [about 4 screens]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020

Chiu NC, Chi H, Tai YL, Peng CC, Tseng CY, Chen CC, et al. Impact of Wearing Masks, Hand Hygiene, and Social Distancing on Influenza, Enterovirus, and All-Cause Pneumonia During the Coronavirus Pandemic: Retrospective National Epidemiological Surveillance Study. J Med Internet Res. 2020 Aug 20;22(8):e21257.

Dhanasekaran V, Sullivan S, Edwards KM, Xie R, Khvorov A, Valkenburg SA, et al. Human seasonal influenza under COVID-19 and the potential consequences of influenza lineage elimination. Nat Commun. 2022 Mar 31;13(1):1721.

Lu Y, Wang Y, Shen C, Luo J, Yu W. Decreased Incidence of Influenza During the COVID-19 Pandemic. Int J Gen Med. 2022 Mar 14;15:2957-62.

Oxford Policy Management. Social Impact Assessment of covid-19 in Thailand [Internet]. Oxford: Oxford Policy Management; 2020 [cited 2022 Oct 25]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/media/5071/file/SocialImpactAssessmentofCOVID-19inThailand.pdf

เดอะสแตนดาร์ด [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: เดอะสแตนดาร์ด จำกัด; c2023. เปิดสถิติประชากรไทยสิ้นปี 2565 กทม. ครองแชมป์สูงสุดกว่า 5 ล้านคน; 2566 [ปรับปรุงเมื่อ 6 ม.ค. 2566; เข้าถึงเมื่อ 17 มี.ค. 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/thailand-demographics-2565/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; 2021. การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ. 2563; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 ก.ค. 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://elfhs.ssru.ac.th/phusit_ph/pluginfile.php/49/block_html/content/05%20report_Migration_63%20%28สำคัญมาก%29.pdf

Hu H, Nigmatulina K, Eckhoff P. The scaling of contact rates with population density for the infectious disease models. Math Biosci. 2013 Aug;244(2):125-34.

ภาสกร อัครเสวี, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, มาลินี จิตตกานต์พิชย์, ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์. ปัจจัยคาดการณ์ที่สัมพันธ์กับการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ในช่วงเวลาไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล พ.ศ. 2555-2557 ในประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2557;40(4):332-40.

Suntronwong N, Vichaiwattana P, Klinfueng S, Korkong S, Thongmee T, Vongpunsawad S, et al. Climate factors influence seasonal influenza activity in Bangkok, Thailand. PLoS One. 2020 Sep 29;15(9):e0239729.

Dalziel BD, Kissler S, Gog JR, Viboud C, Bjørnstad ON, Metcalf CJE, et al. Urbanization and humidity shape the intensity of influenza epidemics in U.S. cities. Science. 2018 Oct 5;362(6410):75-9.