ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติตน (Practice) ของแรงงานข้ามชาติ ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภูเก็ต ปี 2565

Main Article Content

Thachcharit Jaiphook
Tuenjai Nuchtean
Suthat Chottanapund
Sanwit Iabchoon

บทคัดย่อ

 ปัญหาสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นหนึ่งในปัญหาของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านโรคติดต่อ อาทิเช่น
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านความรู้ ทัศนคติ
และการปฏิบัติตนของแรงงานข้ามชาติต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจร่วมกับการสังเกต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ (Volunteer Sampling) จำนวน 555 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 555 คน เพศหญิง 291 คน (52.4%) และเพศชาย 261 คน (47%) ไม่ระบุเพศ 3 คน (0.5%) อายุเฉลี่ย 34.46 ปี เมื่อสอบถามด้านความรู้ (Knowledge) พบว่ามีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด
ในเรื่องการแยกผู้ติดเชื้อ COVID-19 เป็นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพที่มีผลต่อการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ตอบถูกมากที่สุดร้อยละ 86.5 ด้านทัศนคติ (Attitude) พบว่า มีทัศนคติมากที่สุดในเรื่องที่ว่าทุกคนต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาทีหลังจากอยู่ในที่สาธารณะ ตอบถูกมากที่สุดถึงร้อยละ 90  ส่วนด้านการปฏิบัติ (Practice) พบว่า การสวมหน้ากากอนามัย
เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตอบถูกมากที่สุดถึงร้อยละ 92.1 นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 43.8 ที่ตอบว่า
เคยกักตัว (แยกตัวหรือกักตัว) เนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 


 จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปที่สำคัญคือ แรงงานข้ามชาติมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนต่อโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี และสามารถนำข้อมูลจากการศึกษามาปรับใช้เพื่อสนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติสามารถดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

Article Details

How to Cite
1.
Jaiphook T, Nuchtean T, Chottanapund S, Iabchoon S. ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติตน (Practice) ของแรงงานข้ามชาติ ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภูเก็ต ปี 2565. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 21 กุมภาพันธ์ 2023 [อ้างถึง 14 เมษายน 2025];7(2):92-106. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/259275
บท
บทความวิจัย

References

McAuliffe M, Khadria B, editors. World migration report 2020. Geneva: International Organization for Migration; 2019.

United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand [Internet]. Harkins B, editor. Bangkok: Ainergy Studio Company Limited; 2019 [cited 2022 Sep 1]. Avaiable from: https://thailand.un.org/sites/default/ files/2020-06/Thailand-Migration-Report-2019.pdf

Huguet JW, Chamratrithirong A, editors. Thailand Migration Report 2011. Bangkok: International Organization for Migration Thailand office; 2011.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2656 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=analysis-province

ศูนย์ข่าวภูเก็ต. ผู้จัดการออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/south/detail/9640000083164

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2020 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/92b4db8c387f4b3360691e24f11ae4c9.pdf

สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงาน; c2015. [เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

ชลนภา อนุกูล, ศยามล เจริญรัตน์, จิตติพร ฉายแสงมงคล, ศิววงศ์ สุขทวี, อดิศร เกิดมงคล. JusNet เสนอนโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติเพื่อตอบรับวิกฤตโรคระบาด: กรณีศึกษาไวรัสโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเครือข่ายเพื่อสังคมเป็นธรรม (JuSNet); 2563- [เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/1GsAz