ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา : กลุ่มครูโรงเรียนมัธยม ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Nannapat Tonginta
Sujimon Mungkalarungsi

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนั้มีวัติถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การเกิดเชื้อดื้อยา และแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา ของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือ
กลุ่มครูโรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
ประเมินความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา ทัศนคติต่อการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา และแบบประเมินพฤติกรรม
ป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) และสถิติวิเคราะห์
ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีคะแนนความ
รู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาอยู่ในระดับกลางคะแนนเฉลี่ยที่ 2.77 (SD=.75) จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนระดับ
ทัศนคติต่อการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาอยู่ระดับดี คะแนนเฉลี่ย 20.27 (SD=3.06) จากคะแนนเต็ม 25
และคะแนนระดับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา อยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 51.42 (SD=5.31) จาก
คะแนนเต็ม 60 โดยผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงแสดงให้เห็นว่ามีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
ป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา สูงกว่าเพศชาย ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ทัศนคติ
ต่อการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา (r= .370**, p=0.01) และระดับการศึกษา (r= .208*, p=0.01) มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา ทางด้านตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา รายได้
แผนการเรียนระดับมัธยม ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา ทัศนคติต่อการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา {Multiple
R= .428, F=3.141, p-value <0.001, df (7,98)} โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 18. (R2= .183)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (Beta) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 6 ตัวแปรพบว่าทัศนคติต่อการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาเป็นปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(Beta =.366 , t= 3.634 , p <.001)

Article Details

How to Cite
1.
Tonginta N, Mungkalarungsi S. ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา : กลุ่มครูโรงเรียนมัธยม ในกรุงเทพมหานคร. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];6(1):54-66. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/249421
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. New report calls for urgent action to avert antimicrobial resistance crisis [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.64] แหล่งข้อมูล https://www.who.int/news/item/29-04-2019-new-report-calls-for-urgent-action-to-avert-antimicrobial-resistance-crisis

Hfocus. เชื้อดื้อยาทำเสียชีวิต [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.64] แหล่งข้อมูล https://www.hfocus.org/content/2020/07/19750

Poppad. เชื้อดื้อยามหันตภัยเงียบ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค.63] แหล่งข้อมูล https://www.pobpad.com/ เชื้อดื้อยา –ภัยเงียบ

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณะสุข.เชื้อดื้อยา หรือ เชื้อแบคทีเรียดื้อยา คืออะไร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค.63] แหล่งข้อมูล http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=622

ไทยรัฐ. ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลกปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.64] แหล่งข้อมูล.https://www.thairath.co.th/news/local/1978000

ข้อมูลครู/บุคลากร โรงเรียนสตรีวิทยา [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค.64] แหล่งข้อมูล https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1010720040&Area_CODE=6501

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. 2557. วรสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2557;31:2.

จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุม, และ เอมอร ชัยประทีป. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. EAU Heritage Journal วรสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทรินเอเชีย. 2012;6:2 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 63] แหล่งข้อมูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/25729

วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู และลักษณะครูที่ดี [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 พ.ค. 2564] แหล่งข้อมูล http://edu.pbru.ac.th/e-media/10.pdf

พระปิฏกโกศล. หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในพระไตรปิฎกสำหรับครู. Journal of MCU Nakhondhat. 2019;6:9.

นางสาวพัชร์สณธิ์ อ่วมเกิด. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานี. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2563] แหล่งข้อมูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/184929/130121/

ดวงพร สุขสมัย, สุขุมกภรณ์ ศรีวิศิษฐ, กมลรัตน์ นุ่นคง. ความรู้ ทัศนคติ และกำรปฏิบัติตัวในกำรใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยำบำลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง.กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรม วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค.64] แหล่งข้อมูล http://research.scphtrang.ac.th/sites/research.scphtrang.ac.th/files/8%20Kamonrat_KAP%20antibiotic_0.pdf