การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ ในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • จิรชัย มงคลชัยภักดิ์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • จิรวัฒน์ รวมสุข อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • เอมอร ชัยประทีป อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, ความรู้, พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ, antibiotics, knowledge, behaviour of antibiotics usage

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงระดับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับ บริการในร้านยาชุมชน จังหวัดปทุมธานี และ (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและประสบการณ์ การใช้ยาปฏิชีวนะ กับระดับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชน จังหวัด ปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการในร้านยาชุมชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 384 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปรต่อความรู้และ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยใช้ค่า Chi-Square (x2) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (1) มีคะแนน ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง (2) มีพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับดีมาก (3) เพศ สถานภาพสมรส ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครอบครัวเฉลี่ย (ต่อเดือน) ผู้ใช้ยาปฏิชีวนะ โรค/สาเหตุที่ ใช้ยาปฏิชีวนะ การที่เคยได้รับคำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อไปใช้บริการสถานบริการสุขภาพ มีผลต่อระดับความรู้ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

The Study of Customer’s Knowledge and Behavior in Using Antibiotics at Community Drug Store in Pathum Thani Province

The purpose of this research is to (1) a study on the level of knowledge and behaviour of antibiotics usage on clients in community drug store in Pathum Thani Province and (2) to analyse the relationship between personal factor plus drug user and the level of knowledge and behaviour of antibiotics usage. The respondent group is 384 clients in community drug store in Pathum Thani while the tool of this research is a questionnaire. An analysis on data of descriptive statistics and analysis on the relationship of variable factors relating to knowledge and behaviour on antibiotics usage by using the term "Chi-Square". The research reveals that most respondents (1) have a medium score on the knowledge of antibiotics usage (2) have a high score on behaviour of antibiotics usage (3) Gender, marital status, religions, education level, occupations, income per household (monthly), drug user, diseases/causes of using antibiotics, and a past experience of suggestion on antibiotics usage (when the user has been served by health station) are affected on the level of knowledge and behaviour of antibiotics usage statistically.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย