เทคนิคการเจาะเลือดเพื่อรับบริจาคโลหิตแบบหัวหินโมเดล

ผู้แต่ง

  • ประกายพรรณ จินดา กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหัวหิน
  • รุ่งอรุณ มงคลศิริโรจน์ หน่วยงานไตเทียม โรงพยาบาลหัวหิน
  • สายทอง วงศ์คำ โรงพยาบาลหัวหิน
  • หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท
  • ผกาวรรณ จันทร์เพิ่ม สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เทคนิคการเจาะเลือด, การรับบริจาคโลหิต, หัวหินโมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาเทคนิคการเจาะเลือดเพื่อรับบริจาคโลหิตแบบหัวหินโมเดลและ 2)ประเมินผลเทคนิคการเจาะเลือดเพื่อรับบริจาคโลหิตแบบหัวหินโมเดลโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย การสร้างรูปแบบแนวทางที่ 1 การลดความปวดขณะเจาะเลือด – ระหว่างเลือดไหลลงถุง – ขณะถอดเข็ม และแนวทางที่ 2 การเจาะหาเส้นเลือดโดยการวัดหาระดับของเส้นเลือดก่อน เพื่อลดความ ปวดในการบริจาคโลหิตขณะเจาะเลือด – ระหว่างเลือดไหลลงถุง – ขณะดึงเข็มออก และทาให้สามารถเจาะ เลือดครั้งเดียวได้ตรงเส้นของผู้บริจาคโลหิตที่หาเส้นเลือดได้ยากแต่มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตการ ประเมินเทคนิคการเจาะเลือดภายใต้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพพยาบาล ตามกรอบแนวคิดผลสัมฤทธิ์ของการ แก้ไขปัญหา และSymptom Management Model appears as Humphreys, J., et. al., in Smith, M.J. and Liehr, P.R. (eds., 2008) ของ UCSF School of Nursing (School of Nursing University of California, San Francisco)มีกลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยคือ 1. กลุ่มผู้ให้บริการ ได้แก่พยาบาลวิชาชีพกลุ่มละ 2 – 6 คนจานวน 28 กลุ่ม2. กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้บริจาคโลหิตรายที่เคยบริจาคโลหิตมากกว่า 2 ครั้ง และ รายที่มีลักษณะอ้วนไม่สามารถหาเส้นเลือดได้โดยวิธีการใดๆ เป็นผู้ให้ข้อมูล จานวน 114 ราย การทดสอบ ความเชื่อถือได้ของนวัตกรรมในกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในหน่วยงานไตเทียมจานวน 22 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการ ใช้แถบบันทึกระดับของความปวด (Numerical Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ บรรยายได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมี 2 แนวทาง ดังนี้แนวทางที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 – 2 – 3 โดยการเฉียงปลาย เข็ม 45 องศากับผิวหนังตัวเข็มทามุม 5 – 15 องศากับระนาบแขน - ติดปลาสเตอร์กว้าง 1 นิ้วและยาว 2 นิ้วที่กระเปาะโคนเข็ม - ใช้มือจับที่สายถุงเลือดแล้วดึงเข็มช้าๆ ตามระนาบแขน แนวทางที่ 2 การวิจัยจะมี การต่อเนื่องกับวิธีการพัฒนาแนวทางที่ 1 แล้วหาจุดเริ่มเจาะที่เหมาะสมในแนวทางที่ 2 โดยให้ผู้รับบริการ นอนหงายโดยหันฝ่ามือเข้าหาลาตัวแนบกับสีข้างแล้วพับข้อศอกทาเครื่องหมายจุดปลายของเส้นข้อพับทั้งสองด้าน เจาะหาเส้นเลือด Median Cubital Vein โดยเริ่มเจาะที่จุดต่ากว่ากึ่งกลางของข้อพับ 1.5 เซนติเมตร / ลึกครึ่งนิ้วหรือไม่เกินครึ่งของความยาวเข็มการเจาะลึกไม่เกินครึ่งของความยาวเข็ม 2. คุณภาพของแนวทางการเจาะเลือด พบว่าแนวทางที่ 1) มีผลให้ความปวดขณะเจาะเลือด – ระหว่างเลือดไหลลงถุง – ขณะดึงเข็มออก อยู่ที่ระดับ 0.5 – 0 – 0แนวทางที่ 2) ปลายเข็มจะไม่กระทบต่อ เส้นประสาท เป็นแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยสามารถเจาะหาเส้นเลือดครั้งเดียวได้สาเร็จ92%การทดสอบ ความเชื่อถือได้ของนวัตกรรมในหน่วยไตเทียมมีผลสัมฤทธิ์ 90.9% ด้านประสิทธิภาพของเทคนิคการเจาะ เลือดแบบหัวหินโมเดลทาให้เพิ่มผลผลิตต่อองค์คิดต่ออัตรากาลัง 1 คน ในระยะเวลาเท่าเดิมสามารถรับ บริจาคเพิ่มขึ้นจาก 6.18 เป็น 10.33 ถุง ผลผลิตเพิ่มขึ้นคิดเป็น 67.15%

References

กระดานข่าวผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลางรุ่นที่ 20, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์. spsnc.net:บทความจาก
วารสารเภสัชทุง; 2552.

กฤตศธร องค์ติลานนท์. เอกสารประกอบการสอนเรื่องการรับบริจาคโลหิต; 2554.

สุปาณี เสนาดิสัย, วรรณภา ประไพพานิช, การพยาบาลพื้นฐานแนวคิดและการปฏิบัติ.กรุงเทพฯ:บริษัทจุดทองจากัด; 2547. หน้า 406.

“ Numerical rating Scale”www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21621130สืบค้นเมื่อ 22 ธค.2554.

“ผลสัมฤทธิ์ของการแก้ไขปัญหา และ Symptom Management Model appears as Humphreys, J., et. al., in Smith, M.J. and
Liehr, P.R. (eds., 2008) ของ UCSF School of Nursing (School of Nursing University of California, San
Francisco)”https://nursing.ucsf.edu/researchcenter-symptom-management

โครงการสวัสดิการวิชาการ. สถาบันพระบรมราชชนก,กายวิภาคศาสตร์. กรุงเทพฯ:บริษัทประชุมช่าง จากัด;2545.หน้า 306.

“แรงเสียดทาน”www.seafco.co.th. สืบค้นเมื่อ 22 ธค.2554

ช่วง ชมทิตชงค์และคณะ,หนังสือเรียนสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ฟิสิกส์ เล่ม 1.ฟิสิกส์ ม. 4 – 5 - 6 บริษัทไฮแอทพับลิชชิ่ง จากัด;2544.

เสริมพันธ์ เอี่ยมจะบก, “การสมดุลของแรง” 2547. www.loeitech.ac.thสืบค้นเมื่อ 22 ธค.2554

ชนัตถ์ รัตนสุมาวงศ์,“สมการสมดุลสถิต ” 2554. http: / / www. sorakamkmutnb.com/subject/chapter2.pdfสืบค้นเมื่อ 22 ธค.2554

แอนด์ อีเดอร์ และคณะ, งานบริจาคโลหิต. กรุงวอชิงตัน: สหรัฐอเมริกา.2549. https://www.oknation.net/blog.eduzones.co
m/azakikung/17183สืบค้นเมื่อ 10 ตค.2554

ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์ และชาคริต เย็นที่, การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกาลังสูญเสียในการส่งกาลังด้วยเฟืองตรง: การประเมินกาลังสูญเสียจากแบบจาลองและการจัดสร้างชุดทดลอง, การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24, อุบลราชธานี (ตุลาคม 2010)

เซอร์ไอแซกนิวตัน, “แรงเสียดทานและ การสมดุล” 1726. https://th.wikipedia.org/wiki/ไอแซก_นิวตัน สืบค้นเมื่อ 10 ตค.2554

ผกาวรรณ จันทร์เพิ่ม. การพัฒนางาน ประจาสู่การวิจัย เอกสารประกอบการสอนในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ ; 7 -8 ธันวาคม 2556; โรงพยาบาลหัวหิน; 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-28