Publication Ethics

มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของ วารสารหัวหินเวชสาร

หน้าที่ของผู้นิพนธ์     

  1. ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์กับวารสารอื่น
  2. ต้องไม่ส่งบทความที่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) มาตีพิมพ์
  3. ต้องแสดงหลักฐานการได้รับการรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
  4. ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ที่นำมาใช้ในผลงานของตัวเอง
  5. ต้องเขียนบทความวิจัย การอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง”
  6. ผู้ส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัย (Corresponding Author)
  7. ต้องระบุผู้สนับสนุนหรือแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)
  8. ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ                           

  1. รักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูล ของบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในระหว่างขั้นตอนการประเมินบทความ
  2. ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ หากพบว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
  1. ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมิน หากพบว่าไม่เชี่ยวชาญตรงกับเนื้อหาที่บรรณาธิการมอบหมาย
  2. ให้ข้อเสนอแนะหรือแนะนำผลงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องแต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง
  3. แจ้งบรรณาธิการ หากตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงาน (plagiarism)

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  1. มีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความให้ตรงกับขอบเขตของวารสาร
  2. คัดเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับบทความ
  3. รักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูล ของบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในระหว่างขั้นตอนการประเมินบทความ
  4. ตรวจสอบยืนยันการไม่ตีพิมพ์ซ้ำหรือคัดลอกผลงาน
  5. หยุดกระบวนการประเมินทันทีเมื่อพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น