Journal Information
Editor : นายแพทย์ธนพล ทรงธรรมวัฒน์
แพทย์หญิงกุลวดี แหวนดวงเด่น
เภสัชกรหญิงสุธารส ปริญญาปุณโณ
รายละเอียดสำหรับผู้เขียนในการส่งบทความ/รายงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ใน “วารสารหัวหินเวชสาร”
วารสารหัวหินเวชสาร เป็นวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการคุณภาพสูง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิจัย บุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขเปิดโอกาสให้มีการตีพิมพ์ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย หรือบทความปกิณกะที่บรรณาธิการเชิญ เนื้อหา ครอบคลุมความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งการศึกษา การวิจัย และการประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ วินิจฉัย รักษาโรค รวมถึงระบบบริการสุขภาพ
วารสารหัวหินเวชสาร ยินดีรับผลงานทางวิชาการที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน ไม่เป็นผลงานที่คัดลอกจากผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ผู้ประสงค์จะส่งต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ควรเตรียมต้นฉบับตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการลงพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง มีหลักเกณฑ์และข้อแนะนำ ดังนี้
การพิจารณาบทความ
ทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) อย่างน้อย 2 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแบบปกปิด 2 ทาง (double- blind) ก่อนลงพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร
ประเภทบทความ
วารสารหัวหินเวชสาร ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้
การเตรียมต้นฉบับ
4.1 บทความหน้าแรกต้องเป็น Abstract ภาษาอังกฤษ แล้วต่อด้วย บทคัดย่อ ภาษาไทย เนื้อเรื่องและปิดท้ายด้วย เอกสารอ้างอิง (References)
4.2 เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบVancouver
เรียงลำดับเนื้อหา ดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง ควรสั้นกะทัดรัด ได้ใจความที่ครอบคลุมและตรงวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ ระบุชื่อชื่อผู้นิพนธ์, สังกัดผู้นิพนธ์, วุฒิการศึกษา (ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และ e-mail address ของผู้นิพนธ์หลักและผู้นิพินธ์ร่วมทุกคน
ปรากฏก่อนเนื้อเรื่อง เป็นการย่อเนื้อหา เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลขทางสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อยแก้ว มีส่วนประกอบคือ วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา และวิจารณ์ หรือข้อเสนอแนะ (อย่างย่อ) ไม่ต้องมีเชิงอรรถอ้างอิง บทคัดย่อต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สำหรับทำดัชนีเรื่อง (Subject Index) 3-5 คำ ระบุคำทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
4.1 ภาษาที่ใช้ ให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง
4.2 บทความภาษาไทย ควรหลีกเลี่ยงภาษาอังกฤษให้มากที่สุด ยกเว้นในกรณีจำเป็นเท่านั้น ศัพท์แพทย์ ถ้ามีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือใช้ศัพท์ภาษาไทยแพร่หลายแล้วให้ใช้ภาษาไทย คำแปลศัพท์โปรดดูในพจนานุกรมศัพท์แพทย์ของราชบัณฑิตยสถาน ถ้าไม่มีคำแปลในพจนานุกรมให้ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษได้ หรือถ้าจะใช้ศัพท์ภาษาไทยที่ไม่มีพจนานุกรมหรือไม่แน่ใจว่าผู้อ่านทั่วไปจะเข้าใจให้ใช้วงเล็บภาษาอังกฤษในครั้งแรกที่ใช้
4.3 ศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ปนในเนื้อเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะซึ่งขั้นต้นด้วยอักษรใหญ่ ไม่ขึ้นต้นประโยคด้วยศัพท์ภาษาอังกฤษ และหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นกริยา
4.4 คำย่อ ให้เขียนคำเต็มไว้ในการใช้ครั้งแรกพร้อมทั้งใส่คำย่อไว้ในวงเล็บ แล้วครั้งต่อๆ ไปให้ใช้คำย่อนั้นได้ในเนื้อเรี่อง
4.5 การเรียงลำดับเนื้อเรื่อง
4.5.1 บทนำ (Introduction) คำอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ทำการวิจัยค้นคว้าของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.5.2 วัตถุประสงค์ (Objective) ของการวิจัยที่เฉพาะเจาะจง
4.5.3 วัสดุและวิธีการศึกษา (Methods) อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และการใช้เครื่องมือช่วยในการวิจัย ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลหรือใช้หลักสถิติมาประยุกต์ ระบุสถาบันที่รับรองจริยธรรมการวิจัย
4.5.4 ผลการศึกษา (Results) อธิบายสิ่งที่ได้พบจากการวิจัย โดยเสนอหลักฐานและข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ พร้อมทั้งแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์
4.5.5 อภิปรายผล (Discussion) ควรเขียนสรุปเกี่ยวกับผลการวิจัยว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด และควรอ้างอิงถึงทฤษฎีหรือการดำเนินงานของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
4.5.6 สรุป (Conclusion) ควรเขียนสรุปเกี่ยวกับผลการวิจัย ให้ตรงประเด็น และข้อเสนอแนะที่อาจนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือให้ข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับการวิจัยต่อไป
4.5.7 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เฉพาะการช่วยเหลือที่สำคัญโดยตรง เช่น ทุนวิจัย ผู้สนับสนุนข้อมูลวิชาการ (ถ้ามี)
4.5.8 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบของ Vancouver
หลักเกณฑ์พื้นฐานของการเขียนเอกสารอ้างอิง
1.1 ผู้เขียนชาวต่างประเทศ หรือ คนไทยที่เขียนเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้นามสกุลขึ้นต้น ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี)
1.2 ใส่ชื่อผู้เขียนได้ไม่เกิน 6 คน ระหว่างชื่อผู้เขียนแต่ละคนใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น และ เว้น1 ตัวอักษร กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใช้ผู้เขียน 6 คนแรก หลังชื่อผู้เขียนคนที่ 6 ต่อด้วยเครื่องหมาย จุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษรแล้วตามด้วย “และคนอื่นๆ” หรือตามด้วย “et al” สำหรับผู้เขียนภาษาต่างประเทศ
1.3 ผู้เขียนที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ หน่วยงาน องค์กร บริษัท สถาบัน มหาวิทยาลัย เป็นต้น ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ ตามด้วยหน่วยงานรอง ตามลำดับ ระหว่างชื่อหน่วยงานตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และเว้น 1 ตัวอักษร
2.1 กรณีชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรก นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะเช่น ชื่อคน ชื่อสารเคมี ชื่อประเทศ ชื่อเมือง เป็นต้น ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
2.2 กรณีที่มีชื่อเรื่องย่อ ให้ใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) ตามหลังชื่อเรื่องหลัก และเว้น 1 ตัวอักษร เช่น หลักการพยาบาล: แนวคิดและข้อปฏิบัติ. Ocular disease: mechanisms and management. Statin-induced myopathy: a review and update.
รูปแบบการอ้างอิงเอกสารประเภทต่างๆ (เครื่องหมาย P หมายถึง เว้น 1 ตัวอักษร)
1.1 สำหรับวารสารที่มีเลขหน้าต่อเนื่องกันทุกฉบับในปีที่ (volume) เดียวกัน
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อบทความ.Pชื่อย่อวารสารPปีพิมพ์;ปีที่:เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
1.2 สำหรับวารสารที่มีเลขหน้าไม่ต่อเนื่องกัน มีการขึ้นหน้าใหม่ทุกฉบับในปีที่ (volume) เดียวกัน ให้ใส่ฉบับที่ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (..) ตามหลังปีที่
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อบทความ.Pชื่อย่อวารสาร.Pปีพิมพ์;ปีที่(ฉบับที่):เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อบทความ.Pชื่อย่อวารสารP[อินเทอร์เน็ต].PปีP[เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี];Pปีที่:เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.Pเข้าถึงได้จาก:Phttp://
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อบทความ.Pชื่อย่อวารสารP[อินเทอร์เน็ต].PปีP[เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี];Pปีที่:เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.Pเข้าถึงได้จาก:Phttp://
หมายเหตุ หลัง URL http:// ไม่ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
รูปแบบ : ชื่อผู้เขีน.Pชื่อบทความ.Pชื่อย่อวารสารPปี;ปีที่:เลขหน้า(ที่มีe กำกับ). Pdoi:Pxxxxxxxxxxx.Pหมายเลขประจำเอกสารในฐานข้อมูล PubMed (PubMed PMID):Pxxxxxxxx.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อหนังสือ.Pเล่ม.Pครั้งที่พิมพ์.Pเมืองที่พิมพ์:Pสำนักพิมพ์;Pปีพิมพ์.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียนในบท(Author).Pชื่อบท(Title of a chapter).Pใน (In):Pชื่อบรรณาธิการ,Pบรรณาธิการ(editor(s)).Pชื่อหนังสือ(Title of book).Pครั้งที่พิมพ์(Edition).Pเมืองที่พิมพ์
(Place):Pสำนักพิมพ์(Publisher);Pปีพิมพ์ (Year).Pหน้า(p.)Pเลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อหนังสือ[อินเทอร์เน็ต].Pครั้งที่พิมพ์.Pเมืองที่พิมพ์:Pสำนักพิมพ์;Pปีพิมพ์P[เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี].Pเข้าถึงได้จาก:Phttp://
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียนในบท.Pชื่อบท.Pใน(In):Pชื่อบรรณาธิการ,Pบรรณาธิการ(editor(s)).Pชื่อหนังสือ[อินเทอร์เน็ต].Pครั้งที่พิมพ์.Pเมืองที่พิมพ์:Pสำนักพิมพ์;Pปีพิมพ์P[เข้าถึงเมื่อวัน เดือน ปี].Pเข้าถึงได้จาก:Phttp://
รูปแบบ : ชื่อผู้จัดทำ.Pชื่อเรื่องP[แผ่นพับ].Pเมืองที่พิมพ์:Pผู้จัดพิมพ์หรือหน่วยงาน;Pปีพิมพ์.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อวิทยานิพนธ์P[วิทยานิพนธ์].Pเมืองที่พิมพ์:Pชื่อมหาวิทยาลัย;Pปีพิมพ์.
รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน.Pชื่อเรื่อง.Pใน(In):Pชื่อบรรณาธิการ,Pบรรณาธิการ(editor(s)).Pชื่อการประชุม;Pวัน เดือน ปีที่ ประชุม;Pสถานที่จัดประชุม.Pเมืองที่พิมพ์:Pสำนักพิมพ์;Pปีพิมพ์.Pหน้าPเลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
รูปแบบ : ชื่อผู้จัดทำหรือชื่อหน่วยงาน.Pชื่อเรื่องP[อินเทอร์เน็ต].Pเมือง:Pชื่อหน่วยงาน;Pปีที่เผยแพร่P[เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี].Pเข้าถึงได้จาก:Phttp://
4.5.9 ตาราง ภาพ และแผนภูมิ
ตาราง เน้นการจัดระเบียบของคำพูด ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ บรรจุลงในคอลัมน์ เพื่อแสดงข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูล แนวทางการจัดทำตาราง มีดังนี้
- ไม่ควรเสนอตารางเป็นภาพถ่ายหรือไม่ควรเป็นไฟล์ประเภท .jpg .TIFF .pdf .gif
- ชื่อตารางให้เรียงเลขที่ตามลำดับเนื้อหาของบทความ มีคำอธิบายสั้นๆ แต่ได้สาระครบถ้วนของเนื้อหาตาราง
- หัวคอลัมน์ อธิบายข้อมูลในคอลัมน์สั้นๆ หรือย่อๆ และอธิบายรายละเอียดในเชิงอรรถ (footnote) ใต้ตาราง
- แถว (row) เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับคอลัมน์หัวแถว (row heading) ใช้ตัวเข้มจะทำให้เด่นขึ้น เพราะอาจสับสนกับเลขกำกับของเอกสารอ้างอิง ให้ใช้เครื่องหมายตามลำดับนี้
- บทความหนึ่งเรื่องควรมีตารางไม่เกิน 3 – 5 ตาราง ถ้าผู้นิพนธ์มีข้อมูลมาก ให้เลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญนำเสนอเป็นตารางในบทความ
ภาพและแผนภูมิ ต้องคมชัด เป็นภาพขาวดำ
3. เงื่อนไขการรับตีพิมพ์
1. บทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณา จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อน และต้องไม่อยู่ในช่วงเวลาของการรอพิจารณาจากวารสารอื่น
2. บทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณา จะต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยแล้วเท่านั้น
4. การอ่านประเมินต้นฉบับ
ทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) อย่างน้อย 2 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแบบปกปิด 2 ทาง (double- blind) ก่อนลงพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร
5. ลิขสิทธิ์
ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์เว้นว่าได้รับอนุญาตจากทางวารสารฯ
6. ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
7. การส่งบทความให้บรรณาธิการ
ส่งมาทางเว็บไซต์ หัวหินเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk
8. ค่าธรรมเนียมในการลงพิมพ์วารสาร
การลงตีพิมพ์บทความในวารสาร มีค่าธรรมเนียมการขอลงตีพิมพ์บทความ แบบปกติ อัตราค่าธรรมเนียม 3,000 บาท โดยกรณีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาไม่รับรองให้ตีพิมพ์ ไม่สามารถขอค่าธรรมเนียมคืนได้ ชาระเงินผ่าน ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี กองทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัย เลขบัญชี 722-0-61772-0 โดยโรงพยาบาลจะออกใบเสร็จในนาม เงินบริจาคเพื่อพัฒนางานวิจัยโรงพยาบาลหัวหิน
9. การพิจารณายกเลิกบทความ
กองบรรณาธิการจะพิจารณายกเลิกบทความ กรณีผู้นิพนธ์ไม่มีการดำเนินการแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิหรือบรรณาธิการแนะนำภายในระยะเวลา 30 วัน (นับจากวันที่บรรณาธิการแจ้ง)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยโรงพยาบาลหัวหิน 30/2 ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทรศัพท์ 032-523000 ต่อ 8908
E-mail: journalhhh64@gmail.com
Line: @762ndbgh
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.